บทนำ
ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเปลี่ยนชื่อหนังสือเล่มนี้เป็น ไตรภูมิพระร่วง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระร่วงจ้าแห่งกรุงสุโขทัยให้คู่กับหนังสือสุภาษิตพระร่วง
หอพระสมุดวชิรญาณได้ต้นฉบับไตรภูมิพระร่วงมาจากจังหวัดเพชรบุรี เป็นใบลาน ๑๐ ผูก จารด้วยอักษรขอมในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระมหาช่วย วัดปากน้ำ (วัดกลาง จังหวัดสมุทรปราการ ในปัจจุบัน) เป็นผู้จาร หอพระสมุดวชิรญาณ ได้ถอดความออกเป็นอักษรไทย โดยมิได้แก้ไขถ้อยคำไปจากต้นฉบับเดิม
ผู้แต่ง
หนังสือไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีทางศาสนาที่สำคัญเล่มหนึ่ง ในสมัยสุโขทัย ซึ่งมีอิทธิพลต่อคนไทยมาก พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท) ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นหลังจากที่ทรงผนวชแล้ว และขึ้นครองราชย์ได้ ๖ ปี ประมาณ พ.ศ. ๑๘๙๖
พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท) เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งกรุงสุโขทัย ขึ้นครองราชย์ต่อจากพญางัวนำถม จากหลักฐานในศิลาจารึกวัดมหาธาตุ พ.ศ. ๑๙๓๕ หลักที่ ๘ ข. ค้นพบเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ เมื่อพญาเลอไทสวรรคต ใน พ.ศ. ๑๘๘๔ พญางัวนำถมได้ขึ้นครองราชย์ ต่อมาพญาลิไทยกทัพมาแย่งชิงราชสมบัติ และขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. ๑๘๙๐ ทรงพระนามว่า พระเจ้าศรีสุริยพงสรามมหาธรรมราชาธิราช ในศิลาจารึกมักเรียกพระนามเดิมว่า พญาลิไท หรือเรียกย่อว่า พระมหาธรรมราชาที่ ๑ เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๑๙๑๑
พญาลิไท ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ทรงอาราธนาพระเถระชาวลังกาเข้ามาเป็นสังฆราชในกรุงสุโขทัย ได้สละราชสมบัติออกทรงผนวชที่วัดป่ามะม่วง นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก พญาลิไททรงมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก ทรงสนพระทัยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก และทรงพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญหลายประการ เช่น สร้างถนนพระร่วง ตั้งแต่เมืองศรีสัชนาลัยผ่านกรุงสุโขทัยไปถึงเมืองนครชุม (กำแพงเพชร) บูรณะเมืองนครชุม สร้างเมืองสองแคว (พิษณุโลก) เป็นเมืองลูกหลวง และสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ที่ฝีมือการช่างงดงามเป็นเยี่ยม
งานพระราชนิพนธ์ของพญาลิไท ได้แก่ ไตรภูมิพระร่วงหรือเตภูมิกถาศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงและศิลาจากรึกวัดศรีชุม เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ กล่าวถึงเหตุการณ์และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆการสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ การผนวชที่วัดป่ามะม่วง เป็นต้น
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
มี ๒ ประการ เพื่อเทศนาโปรดพระมารดา เป็นการเจริญธรรมกตัญญูประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง เพื่อใช้สั่งสอนประชาชนให้มีคุณธรรม เข้าใจพุทธศาสนา และช่วยกันดำรง
พุทธศานาไว้ให้มั่นคง
ลักษณะคำประพันธ์
ร้อยแก้ว ประเภทความเรียงสำนวนพรรณนา
เนื้อหา
หนังสือไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีพุทธศาสนา ที่พญาลิไททรงรวบรวมเนื้อหาสาระจากคัมภีร็ต่าง ๆ ในพุทธศาสนา ทั้งพระไตรปิฎก อรรถกถา และอื่น ๆ ไม่น้อยกว่า ๓๐ คัมภีร์ จึงจัดได้ว่าเป็นพระราชนิพนธ์ประเภทค้นคว้ารวบรวมที่ดีเล่มหนึ่ง เนื้อเรื่องเริ่มต้นด้วยคาถานมัสการเป็นภาษาบาลี มีบานแพนกบอกชื่อผู้แต่ง วันเดือนปีที่แต่ง ชื่อคัมภีร์ต่าง ๆ บอกจุดมุ่งหมายในการแต่ง แล้วจึงกล่าวถึงภูมิทั้ง ๓ คำว่า เตภูมิ หรือ ไตรภูมิ แปลว่า สามแดน คือ กามภูมิ รูปภูมิอรูปภูมิ ทั้ง ๓ ภูมิ แบ่งออกเป็น ๘ กัณฑ์ (กัณฑ์ = เรื่อง,หมวด,ตอน)แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ความไม่แน่นอนทั้งมนุษย์และสัตว์รวมทั้งสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ภูเขา แม่น้ำ แผ่นดิน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ความเปลี่ยนแปลงนี้กวีไทยเรียกว่า “ อนิจจลักษณะ ”ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า ไตรภูมิกถา / เตภูมิกถา หมายถึงเรื่องราวของโลกทั้ง ๓ ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ
กามภูมิ คือ โลกของผู้ที่ยังติดอยู่ในกามกิเลส แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ได้แก่ ๑.สุคติภูมิ ๒. อบายภูมิ
๑.สุคติภูมิ ได้แก่
๑.๑ มนุสสภูมิ ( โลกมนุษย์ )
๑.๒ สวรรคภูมิ (ฉกามาพจรภูมิ)
๑.๒.๑ จาตุมหาราชิกา
๑.๒.๒ ดาวดึงส์
๑.๒.๓ ยามา
๑.๒.๔ ดุสิต
๑.๒.๕ นิมมานรดี
๑.๒.๖ ปรนิมมิตวสวัตดี
๒. อบายภูมิ ได้แก่
๒.๑ นรกภูมิ ( มี ๘ ขุม )
๒.๒ ดิรัจฉานภูมิ
๒.๓ เปรตภูมิ
๒.๔ อสูรกายภูมิ
รูปภูมิ เป็นดินแดนของพรหมที่มีรูป มี ๑๖ ชั้น (โสฬสพรหม )
อรูปภูมิ เป็นดินแดนของพรหมที่ไม่มีรูป มีแต่จิตหรือวิญญาณ
ทวีปที่มนุษย์อาศัยอยู่มี ๔ ทวีป ได้แก่
๑. อุตรกุรุทวีป อยู่ทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้าเป็นรูป ๔ เหลี่ยม รักษาศีล ๕ เป็นนิจ มีอายุ ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี เป็นหนุ่มสาวอยู่เสมอ อาศัยอยู่ตามโพรงไม้ ไม่ต้องทำงานใด ๆ แต่งตัวสวยงาม มีกับข้าวและที่นอนเกิดขึ้นตามใจปรารถนา
๒. บูรพวิเทหทวีป อยู่ทางทิศตะวันออก ของภูเขาพระสุเมรุ มีใบหน้าตอนบนโค้งตัดลงมาเหมือนบาตร มีอายุ ประมาณ ๗๐๐ ปี
๓. อมรโคยานทวีป อยู่ทางทิศตะวันตก ของภูเขาพระสุเมรุ มีใบหน้าวงกลม คล้ายวงพระจันทร์ มีอายุ ประมาณ ๕๐๐ ปี
๔. ชมพูทวีป อยู่ทางทิศใต้ ของภูเขาพระสุเมรุ คือ มนุษย์โลกนี้เอง อายุขัยไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับการทำบุญหรือทำกรรม แต่ทวีปนี้ก็พิเศษกว่า ๓ ทวีปคือ เป็นที่เกิดของพระพุทธเจ้า พระจักรพรรดิราช และพระอรหันต์
การเกิดเป็นพรหมชั้นต่าง ๆ
๑. ปฐมฌานภูมิ ๓
๑.๑ ผู้เจริญปฐมฌานได้เพียงขั้นเล็กน้อย (ปริตฺตํ) จะเกิดเป็น พรหม ปาริสัชชา พรหมบริวาร
๑.๒ ผู้เจริญปฐมฌานได้ปานกลาง (มชฺฌิมํ) จะเกิดเป็นพรหมชั้นปุโรหิต
๑.๓ ผู้เจริญปฐมฌานได้ขั้นประณีต (ปณีตํ) จะเกิดเป็นพรหมชั้น ท้าวมหาพรหม หรือ มหาพรหมา
๒. ทุติยฌานภูมิ ๓
๒.๑ ผู้เจริญทุติยฌานได้เล็กน้อย จะเกิดเป็นพรหมชั้นปริตตาภา แปลว่า ผู้มีรัศมีน้อย
๒.๒ ผู้เจริญทุติยฌานได้ปานกลาง จะเกิดเป็นพรหมชั้น อัปปมาณาภา แปลว่า ผู้มีรัศมีมีประมาณไม่ได้
๒.๓ ผู้เจริญทุติยฌานได้ขั้นประณีต จะเกิดเป็นพรหมชั้น อาภัสสรา แปลว่า ผู้มี รัศมีเปล่งซ่านไป
๓. ตติยฌานภูมิ
๓.๑ ผู้เจริญตติยฌานภูมิได้เล็กน้อย จะเกิดเป็นพรหมชั้น ปริตตสุภา แปลว่า ผู้มีรัศมีความงามน้อย
๓.๒ ผู้เจริญตติยฌานได้ปานกลาง จะเกิดเป็นพรหม ชั้น อัปปมาณสุภา แปลว่า ผู้มีรัศมีความงามหาประมาณมิได้
๓.๓ ผู้เจริญตติยฌานได้ขั้นประณีต จะเกิดเป็นพรหมชั้น สุภกิณหา แปลว่า ผู้มีรัศมีงามกระจ่าง
การแบ่งฌานเป็นขั้นเล็กน้อย ปานกลางและประณีตนั้น อาศัยขั้นตอนการบรรลุถ้าบรรลุด้วยอิทธิบาทน้อยก็เป็นฌานเล็กน้อย ใช้ความเพียรขั้นกลางก็เป็นมัชฌิมฌาน ใช้ความเพียรขั้นอุกฤษฏ์ก็เป็นปณีตฌาน
๔. จตุตถฌานภูมิ ๓ อย่างย่อ และ ๗ อย่างพิสดาร ดังนี้
๔.๑ เวหัปผลา ผู้มีผลอันไพบูลย์
๔.๒ อสัญญีสัตว์ ผู้ไม่มีสัญญา
๔.๓ สุทธาวาส ๕ ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ คือ พระอนาคามี
๑. อวิหา ผู้ไม่เสื่อมฐานะของตน โดยกาลเล็กน้อย อยู่นาน (เจริญสัทธินทรีย์)
๒. อตัปปา ผู้ไม่เดือดร้อน (เจริญวิริยินทรีย์)
๓. สุทัสสา ผู้งดงามน่าทัศนา (เจริญสตินทรีย์ )
๔. สุทัสสี ผู้น่าทัศนาเพราะบริสุทธิ์ (สมาธินทรีย์)
๕. อกนิฏฐา ผู้ไม่เล็กน้อยด้อยกว่าใคร (ปัญญินทรีย์)
ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ
การเกิดมนุษย์
ปฏิสนธิ ; กัลละ (ขนาด เศษ 1 ส่วน256 ของเส้นผม)
7 วัน ; อัมพุทะ (น้ำล้างเนื้อ)
14 วัน ; เปสิ (ชิ้นเนื้อ)
21 วัน ; ฆนะ (ก้อนเนื้อ, แท่งเนื้อ ขนาดเท่าไข่ไก่)
28 วัน ; เบญจสาขาหูด (มีหัว แขน2 ขา2) ครบ 1 เดือน
35 วัน ; มีฝ่ามือ นิ้วมือ ลายนิ้วมือ
42 วัน ; มีขน เล็บมือ เล็บเท้า (เป็นมนุษย์ครบสมบูรณ์)
50 วัน ; ท่อนล่างสมบูรณ์
84 วัน ; ท่อนบนสมบูรณ์
184 วัน ; เป็นเด็กสมบูรณ์ นั่งกลางท้องแม่ (6เดือน)
การคลอด
ท้อง 6 เดือนคลอด ;ไม่รอด (บ่ห่อนได้สักคาบ)
ท้อง 7 เดือนคลอด ;ไม่แข็งแรง (บ่มิได้กล้าแข็ง)
การเกิด
มาจากสวรรค์ ; ตัวเย็น ออกมาแล้วหัวเราะ
มาจากนรก ; ตัวร้อน ออกมาแล้วร้องไห้
กาลทั้ง 3 ได้แก่
กาล 1 ; แรกเกิดในท้องแม่
กาล 2 ; อยู่ในท้องแม่
กาล 3 ; ออกจากในท้องแม่
* คนธรรมดา ; ไม่รู้ตัว จำไม่ได้ทั้ง 3 กาล
* พระปัจเจกโพธิเจ้า/ พระอรหันตาขีณาสพเจ้า / พระอัครสาวกเจ้า ; 2 กาลแรกรู้ตัว จำได้ แต่ลืมกาลที่ 3
ลักษณะเด่น
หนังสือไตรภูมิพระร่วง ถึงแม้ว่าเป็นวรรณคดีโบราณที่ใช้ภาษาไทยแบบเก่า และมีศัพท์ทางพระพุทธศาสนาปะปนอยู่มาก ทำให้ยากแก่การอ่านสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางพุทธศาสนามาก่อนก็ตาม แต่สำนวนพรรณนาที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้มีความแจ่มแจ้ง ไพเราะ ช่วยให้เกิดจินตภาพหลายตอน และทำให้เกิดความรู้สึกคล้อยตามไปด้วยเช่น ตอนพรรณนาถึงความน่ากลัวในนรกภูมิ และความสุขสบายในสวรรค์ เป็นต้น ทุก ๆ ตอนที่กล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผู้ทรงพระราชนิพนธ์ได้ทรงอธิบายตอนนั้นอย่างละเอียด กระบวนพรรณนาที่แจ่มแจ้งแลเห็นจริงจังอันควรยกมาเป็นตัวอย่าง เช่น ตอนพรรณนาลักษณะของเปรต ได้กล่าวเอาไว้ชัดเจน ดังนี้
" เปรตลางจำพวก ตัวเขาใหญ่ ปากเขาน้อยเท่ารูเข็มนั้นก็มี เปรตลางจำพวกผอมหนักหนา เพื่ออาหารจะกินบมิได้ แม้ว่าจะขอดเอาเนื้อน้อย ๑ ก็ดี เลือดหยด ๑ ก็ดี บมิได้เลย เท่าว่ามีแต่กระดูกและหนังพอกกระดูกภายนอกอยู่ไส้ หนังท้องนั้นเหี่ยวติดกระดูกสันหลังแล ตานั้นลึกและกลวงดังแสร้งควักเสีย ผมเขานั้นยุ่งรุ่ยร่ายลงมาปกปากเขา มาตรว่าผ้าร้ายน้อยหนึ่งก็ดี และจะมีปกกายเขานั้นก็หามิได้เลย เทียรย่อมเปลือยอยู่ ชั่วตนเขานั้นเหม็นสาบพึงเกลียดนักหนาแลเขานั้นเทียรย่อมเดือดเนื้อร้อนใจเขาแล เขาร้องไห้ร้องครางอยู่ทุกเมื่อแล เพราะว่าเขาอยากอาหารนักหนาแล "
คุณค่าของหนังสือ
๑. ด้านภาษาและสำนวนโวหาร
เป็นวรรณคดีเล่มแรกที่เรียบเรียงในลักษณะการค้นคว้าจากคัมภีร์ต่าง ๆ ถึง ๓๐คัมภีร์ จึงมีศัพท์ทางศาสนาและภาษาไทยโบราณอยู่มาก สามารถนำมาศึกษาการใช้ภาษาในสมัยกรุงสุโขทัย ตลอดจนสำนวนโวหารต่าง ๆ ไตรภูมิพระร่วงมีสำนวนหนักไปในทางศาสนาโวหารและพรรณนาโวหาร ผูกประโยคยาว และใช้ถ้อยคำพรรณนาดีเด่น สละสลวยไพเราะ ก่อให้เกิดความรู้สึกด้านอารมณ์สะเทือนใจและให้จินตภาพหรือภาพในใจอย่างเด่นชัด เช่น " บ้างเต้นบ้างรำบ้างฟ้อน ระบำบันลือเพลงดุริยดนตรี บ้างดีดบ้างสีบ้างตีบ้างเป่า บ้างขับศัพท์สำเนียง หมู่นักคุณจุณกันไปเดียรดาษพื้น ฆ้องกลองแตรสังข์ระฆังกังสดาลมโหระทึกกึกก้องทำนุกดี ที่มีดอกไม้อันตระการ่ต่าง ๆ สิ่ง มีจวงจันทน์กฤษณาคันธาทำนอง ลบองดังเทพยดาในเมืองฟ้า สนุกนี้ทุกเมื่อบำเรอกันบมิวาย "
๒. ด้านความรู้
๒.๑ ด้านวรรณคดี ทำให้คนชั้นหลังได้รับความรู้ทางวรรณคดี อันเป็นความคิดของคนโบราณ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของวรรณคดีไทย เช่น พระอินทร์ แท่นบัณพุกัมพล ช้างเอราวัณ เขาพระสุเมรุ ป่าหิมพานต์ต้นปาริชาติ ต้นนารีผล นรก สวรรค์ เป็นต้น
๒.๒ ด้านภูมิศาสตร์ เป็นความรู้ทางภูมิศาสตร์ของคนโบราณ
โดยเชื่อว่าโลกมีอยู่ ๔ ทวีป ได้แก่ ชมพูทวีป บุรพวิเทหทวีป อุตตรกุรุทวีป และอมรโคยานทวีป โดยมีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง
๓. ด้านสังคมและวัฒนธรรม
๓.๑ คำสอนทางศาสนา ไตรภูมิพระร่วงสอนให้คนทำบุญละบาป เช่น การทำบุญรักษาศีลเจรฐสมาธิภาวนาจะได้ขึ้นสวรรค์การทำบาปจะตกนรก แนวความคิดนี้มีอิทะพลเหนือนจิตใจของคนไทยมาช้านาน เป็นเสมือนแนวการสอนศีลธรรมของสังคม ให้คนปฏิบัติชอบซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม
๓.๒ ค่านิยมเชิงสังคม อิทธิพลของหนังสือเล่มนี้ให้ค่านิยมเชิงสังคมต่อคนไทย ให้ตั้งมั่นและยึดมั่นในการเป็นคนใจบุญ มีเมตตากรุณา รักษศีล บำเพ็ญทาน รู้จักเสียสละ เชื่อมั่นในผล แห่งกรรม
๓.๓ ศิลปกรรม จิตรกรนิยมนำเรื่องราวและความคิดในไตรภูมิพระร่วงไปเขียนภาพสีไว้ในโบสถ์วิหาร โดยจะเขียนภาพนรกกไว้ที่ผนังด้านล่างหรือหลังองค์พระประธาน และเขียนภาพสวรรค์ไว้ที่ผนังเบื้องบนรอบโบสถ์วิหาร
๔. ด้านอิทธิพลต่อวรรณคดีอื่น
มีหนังสืออ้างอิงทำนองไตรภูมิพระร่วง ที่มีผู้แต่งเลียนแบบอีกหลายเล่ม เช่น จักรวาลทีปนี ของ พระสิริมังคลาจารย์แห่งเชียงใหม่ไตรภูมิโลกวินิจฉัย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเล่าเรื่องไตรภูมิ เป็นต้น
ไตรภูมิพระร่วงมีอิทธิพลสำคัญต่อแนวคิดของกวีรุ่นหลัง โดยนำความคิดในไตรภูมิพระร่วงสอดแทรกในวรรณคดีต่าง ๆ เช่น ลิลิตโองการแช่งน้ำ มหาเวสสันดรชาดก รามเกียรติ์ กากีคำกลอนขุนช้างขุนแผน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ลิลิตโองการแช่งน้ำ กล่าวถึงไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลก
" นานาอเนกน้าวเดิมกัลป์ จักร่ำจักรพาฬหเมื่อไหม้
กล่าวถึงตะวันเจ็ดอันพลุ่ง น้ำแล้งไข้ขอดหาย "
รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑ กล่าวถึงทวีปทั้ง ๔ ว่า
" สำแดงแผลงฤทธิ์ฮีกฮัก ขุนยักษ์ไล่ม้วนแผ่นดิน
ชมพูอุดรกาโร อมรโคยานีก็ได้สิ้น "
รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ กล่าวถึงปลาอานนท์
" เขาสุเมรุเอนเอียงอ่อนละมุน อานนท์หนุนดินดานสะท้านสะเทือน "
กากีคำกลอน กล่าวถึงแม่น้ำสีทันดร
" ....................................... ในสาครลึกกว้างกลางวิถี
แม้จะขว้างหางแววมยุรี ก็จมลงถึงที่แผ่นดินดาน
อันน้ำนั้นสุขุมละเอียดอ่อน จึงชื่อสีทันดรอันใสสาร
ประกอบด้วยมัจฉากุมภาพาล คชสารเงือกน้ำและนาคิน "
ขุนช้างขุนแผน กล่าวถึงป่าหิมพานต์
" ม่านนี้ฝีมือวันทองทำ จำได้ไม่ผิดนัยน์ตาพี่
เส้นไหมแม้นเขียนแนบเนียนดี สิ้นฝีมือแล้วแต่นางเดียว
เจ้าปักเป็นป่าพนาเวศ ขอบเขตเขาคลุ้มชอุ่มเขียว
รุกขชาติดาดใบระบัดเรียว พริ้งเพรียวดอกดกระดะดวง
ปักเป็นมยุราลงรำร่อน ฟ่ายฟ้อนอยู่บนยอดภูเขาหลวง
แผ่หางกางปีกเป็นพุ่มพวง ชะนีหน่วงเหนี่ยวไม้ชะม้อยตา
ปักเป็นหิมพานต์ตระหง่านงาม อร่ามรูปพระสุเมรุภูผา
วินันตกอัสกรรณเป็นหลั่นมา การวิกอิสินธรยุคุนธร "
คุณค่า
๑. คุณค่าด้านวรรณคดี เป็นความเรียงที่มีสัมผัสคล้องจอง มีความเปรียบเทียบที่ให้อารมณ์และเกิดจินตภาพชัดเจน เป็นภาพพจน์เชิงอุปมาและภาษาจินภาพ เห็นความงดงามของภาษา
๒. คุณค่าด้านศาสนา เป็นปรัชญาทางพระพุทธศาสนา ชี้ให้เห็นแก่นแท้ของชีวิตอาจนำมนุษยชาติให้หลุดพ้นจากวัฏสงสาร
๓. คุณค่าด้านจริยธรรม ไตรภูมิพระร่วงกำหนดกรอบแห่งความประพฤติเพื่อให้สังคมมีความสงบสุขผู้ปกครองแผ่นดินต้องมีคุณธรรม
๔. คุณค่าด้านประเพณีและวัฒนธรรม ความเชื่อที่ปรากฏในเรื่องไตรภูมิพระร่วงยังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ประเพณีงานศพ ภาพนรกและสวรรค์ก่อให้เกิดผลงานด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และ
สถาปัตยกรรมจนถึงปัจจุบัน
๕. ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ ทำให้เห็นได้ว่าแนวคิดของวรรณกรรมเล่มนี้เป็นไปตามหลักทางด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการ
เกิดเป็นมนุษย์ได้นั้นไส้เพราะว่บาปกรรมของคนผู้มาเกิดนั้น แลให้บังเกิดเป็นลมในท้องผู้หญิงนั้นแลลมนั้นหากพัดต้องครรภ์นั้นก็แท้งก็ตายฯ ลางคาบมีตืดมีเอือนในท้องนั้น แลติฃืดแลเดือนนั้นหากไปกินครรภ์นั้นก็ตาย ทว่าผู้หญิงอันหาลูกบมิได้เพื่อดังนั้น ผู้หญิงอันมีครรภ์ด้วยชลามพชโยนิ เมื่อแรกก่อเป็นนั้นน้อยนักหนาเรียกชื่อว่ากัลละหัวปีมีเท่านี้ เอาผมคนในแผ่นดินเราอยู่นี้มาผ่าออกเป็น ๘ คาบ เอาแต่คาบเดียวมาเปรียบเท่าผมคนในแผ่นดินอันชื่อว่าอุตตรกุรุนั้น แลเอาเส้นผมของชาวอุตตรกุรุนั้นแต่เส้นหนึ่งขุบน้ำมันงาอันใสงามนั้นเอามาสลัดได้ ๗ คาบแล้วจึงถืออยู่ น้ำมันนั้นย้อยลงมาปลายผมนั้นท่านว่ายังใหญ่กว่ากัลละนั้นเลยฯ ทรายอันชื่อชาติอุนนาโลมอันอยู่ในตีนเขาพระหิมพานต์ แลเส้นขนนั้นยังน้อยกว่าเส้นผมชาวอุตตรกุรุทวีปนั้นเล่า ให้เอาชนทรายอันชื่อชาติอุนนาโลมเส้นหนึ่งชุบน้ำมันงาอันใสงามเอาออกมาสะลัดเสียได้ ๗ คาบ แล้วจึงถืออยู่ น้ำมันนั้นย้อยลงมาในปลายขนทรายนั้น จึงเท่ากัลลละนั้นไส้ กัลลละนั้นไสงามนักหนาดังน้ำมันงาอันพึ่งตักใหม่ งามดังเปรียงประโคอันแรกออกใหม่ แต่นั้นจึงก่อเป็นลม ๕ สิ่งอันถือตีนคนนี้ให้แร่งก็มาอยู่กลนั้น ลมทั้งหลาย ๕ สิ่งนั้นมาพร้อมกันทีเดียวแล เมื่อแรกจะก่อเป็นกัลลละนั้น มีรูป ๘ อันแล รูป ๘ อันนั้นคือรูปอันหนึ่งชื่อว่าปถวีรูป อันหนึ่งนั้นเป็นน้ำชื่อว่าอาโปรูป อันหนึ่งเป็นตัวชื่อกายรูป อันหนึ่งให้เป็นผู้หญ้งผู้ชายชื่อภาวรูป รูปอันเป็นไปชื่อหทัยรูป รูปอันหนึ่งให้ตั้งรูปทั้งหลายชื่อชีวิตรูป ในรูปฝูงนั้นมีผิชีวิตอันให้เป็น ๓ ก้อนอันเกิดด้วยชีวิตอันให้เป็น ๓ อันนั้นเกิดรูปคืออันใดเล่าชีวิตอันเกิดในกายรูป ชีวิตอันหนึ่งเกิดในหทัยรูปมีรูป ๓ อีนนั้นมีองค์แล ๙ แล ๙ เป็นบริวารโสด อันใดสิ้นคือปถวี อาโป เตโช วาโย วัณโณ คันโธ รโส โอชา องค์ฝูงนี้ผสมเข้าด้วยกาย เอากายใส่อีกเป็นคำรบ ๙ ผิเลเข้าในภาวเอาภาวอีกเป็นคำรบ ๙ ผิเข้าในหทัยเอาหทัยเป็นคำรบ ๙ เพื่อดังนั้นจึงว่ามีแล ๙ แล ๘ เป็นองค์แก่ชีวิต เพื่อดังนั้นได้ ๓ เกิดด้วยเมื่อเอาปฏิสนธิแต่อาทิพร้อมกันทีเดียวแลฯ ฝูงสัตว์อันเกิดในท้องแม่ เมื่ออาทิมีรูปเท่าดังกล่าวแล้วนั้นแลฯ อันว่าจักษุรูปแลโสตรูป ฆานรูป ชิวหารูป รูป ๕ อันนี้จึงเกิดโดยอันดับกันชอบกาล แลรูปอันเกิดแต่กรรมชรูปไส้อาศัยแก่สันตติจึงเกิดฯ ถัดนั้นรูปอันเกิดแต่อาหารชรูปนั้น อาศัยแก่อาหารอันแม่กินจึงบังเกิดรูป รูปฝูงนี้เกิดเมื่อภายหลังเป็นโดยอันดับกันถ้วน ๒ โดยดังกล่าวมานี้แลฯ เมื่อรูปอันเกิดแต่ใหม่อันใสแก่ท์วิติยจึงเกิดนั้น รูปได้ ๘ อันรูปนั้นชื่อจิตรสมุฏฐานกลาปแลฯ เมื่อรูปอันเกิดแต่รูปนั้นอาศัยแก่สันตติจึงเกิดรูปนั้น เกิดรูปได้ ๘ อันโสด รูปอันนั้นชื่ออุตุสมุฏฐานกลาปแลฯ เมื่อรูปอันเกิดแต่อาหารนั้น อาศัยแก่โอชารสอันแม่ตนเกิดข้าวน้ำนั้นเกิดรูปได้ ๘ อันโสด รูปชื่ออาหารสมุฏฐานกลาปแลฯ ผิรูปอันจะเกิดเป็นชายก็ดีเป็นหญิงก็ดีเกิดมีอาทิต่เกิดเป็นกัลลละนั้น โดยใหญ่แต่วันละวันแลน้อย ครั้งเถิง ๗ วันตั้งแต่น้ำล้างเนื้อนั้นเรียกว่าอัมพุทธ ๆ นั้นโดยใหญ่ไปทุกวารไส้ ครั้นได้เถิง ๗ วารข้นเป็นดังตะกั่วอันเชื่อมอยู่ในหม้อตยกชื่อว่าเป็นเปสิ ๆ นั้นค่อยใหญ่ไปทุกวัน ครั้งเถิง ๗ วันแข็งเป็นก้อนดังไข่ไก่เรียกว่า ฆณะ ๆ นั้นค่อยใหญ่ไปทุกวัน ครั้นเถิง ๗ วันเป็นต่มออกได้ ๕ แห่งดังหูดนั้นเรียกว่าเบญจสาขาหูด ๆ นั้นเป็นมือ ๒ อันเป็นตีน ๒ อัน หูดเป็นหัวนั้นอันหนึ่ง แลแต่นั้นค่อยไปเบื้องหน้าทุกวัน ครั้ง ๗ วันเป็นฝ่ามือเป็นนิ้วมือ แต่ไป ๓๒ จึงเป็นขนเป็ฯเล็บตีนเล็บมือเป็นเครื่องสำหรับเป็นมนุษย์ถ้วนทุกอันแลฯ แต่รูปอันมีกลางตนไส้ ๕๐ แต่รูปอันมีหัวได้ ๘๔ แต่รูปอันมีเบื้องต่ำได้ ๕๐ ผสมรูปทั้งหลายอันเกิดเป็นสัตว์อันอยู่ในท้องแม่ได้ ๑๘๔ แลกุมารนั้นนั่งกลางท้องแม่แลเอาหลังมาต่อหนังท้องแม่ อาหารอันแม่กินเข้าไปแต่ก่อนนั้นอยู่ใต้กุมารนั้น อาหารอันแม่กินเข้าไปใหม่นั้นอยู่เหนือกุมารนั้น เมื่อกุมารอยู่ในท้องแม่นั้นลำบากนักหนา พึงเกลียดพึงหน่ายพ้นประมาณนัก ก็ชื้นแลเหม็นกลิ่นตืดแลเอือนอันได้ ๘๐ ครอกซึ่งอยู่ในท้องแม่เป็นที่เหม็น แลที่ออกลูกออกเต้าที่เฒ่าที่ตายที่เร้ว ฝูงตืดแลเอือนทั้งหลายนั้นคนกันอยู่ในท้องแม่ ตืดแลเอือนฝูงนั้นเริ่มตัวกุมารนั้นไส้ ดุจดังหนอนอันอยู่ในปลาเน่าแลหนอนอันอยู่ในลามกอาจมนั้นแลฯ อันว่าสายไส้ดือแห่งกุมารนั้นกลวงดังสายก้านบัวอันมีชื่อว่าอุบล จะงอยไส้ดือนั้นกลวงขึ้นไปเบื้องบนติดหลังท้องแม่แลข้าวน้ำอาหารอันใดแม่กินไส้แลโอชารสนั้นก็เป็นน้ำชุ่มเข้าไปในไส้ดือนั้นแลเข้าไปในท้องกุมารนั้นและน้อย ๆ แลน้อยนั้น ก็ได้กินค่ำเช้าทุกวัน แม่จะพึงกินเข้าไปอยู่เหนือกระหม่อมทับหัวกุมารนั้นอยู่ แลลำบากนักหนาแต่อาหารอันแม่กินก่อนไส้แลกุมารนั้นอยู่เหนืออาหารนั้นเบื้องหลังกุมารนั้นต่อหลังท้องแม่แลนั่งยองอยู่ในท้องแม่แลกำมือทั้งสอง คู้ตัวต่อหัวเข้าทั้งสองเอาหัวไว้เหนือหัวเข่า เมื่อนั่งอยู่ดังนั้นเลือดแลน้ำเหลืองย้อยลงเต็มตนหยดทุกเมื่อแลทุกเมื่อ ดฃแลดุจดังลิงเมื่อฝนตกแลนั่งกำมือเซาเจ่าอยู่ในโพรงไม้นั้นแล ในท้องแม่นั้นร้อนหนักหนาดุจดังเราเอาใบตองเข้าจะต้มแลต้นในหม้อนั้นไส้ สิ่งอาหารอันแม่กินเข้าไปในท้องนั้นไหม้แลย่อยลงด้วยอำนาจแห่งไฟธาตุอันร้อนนั้น ส่วนตัวกุมารนั้นบมิไหม้เพราะว่าเป็นธรรมดาด้วยบุญกุมารนั้นจะเป็นคนแลยมิไหม้ตายเพื่อดังนั้นแล แต่กุมารนั้นอยู่ในท้องแม่บห่อนได้หายใจเข้าออกเลย บห่อนได้เหยียดตีนเหยียดมือออก ดังเราท่านทั้งหลายนี้สักคาบหนึ่งเลย แลกุมารนั้นเจ็บเนื้อเจ็บตนดังคน อันท่านขันไว้ในไหอันคับแคบนักหนา แค้นเนื้อแค้นใจแลเดือดเนื้อร้อนใจนักหนา เหยียดตีนมือบมิได้ดับงท่านเอาใส่ไว้ในที่คับฯ ผิแลว่าเมื่อแม่เดินไปก็ดีนอนก็ฟื้นตนก็ดี กุมารอยู่ในท้องแม่นั้นให้เจ็บเพียงจะตายแลดุจดังลูกทรายอันพึ่งออกแลอยู่ธรห้อย ผิบมีดุจดังคนอันเมาเล่า ผีบมีดุจดังลูกงูอันหมองูเอาไปเล่นนั้นแลฯ อันอยู่ลำบากยากใจ ดุจดังนั้นบมิได้ลำบากแต่สองวารสามวารแลจะพ้นได้เลย อยู่ยากแลเจ็ดเดือน ลางคาบ ๘ เดือน ลางคาบ ๙ เดือน ลางคาบ ๑๐ เดือน ลางคน ๑๑ เดือน ลางคนคำรบปีหนึ่งจึงคลอดก็มีแลฯ คนผู้ใดอยู่ในท้องแม่ ๖ เดือน แลคลอดนั้นบห่อนจะได้สักคาบฯ คนผู้ใดอยู่ในท้องแม่เจ็ดเดือนแล คลอดนั้นแม่เลี้ยงเป็นคนก็บมิได้กล้าแข็งบมิทนแดดทนฝนได้แลฯ คนผู้ใดจากแต่นรกมาเกิดนั้น เมื่อคลอดออกตนกุมารนั้นร้อน เมื่อมันอยู่ในท้องแม่นั้นย่อมเดือดเนื้อร้อนใจและตระหนกกระหาย อีกเนื้อแม่นั้นก็พลอยร้อนด้วยโสดฯ คนผู้จากแต่สวรรค์ลงมาเกิดนั้น เมื่อจะคลอดออกตนกุมารนั้นเย็น ๆ เนื้อเย็นใจ เมื่อยังอยู่ในท้องแม่ก็ดีแม่นั้นอยู่เย็นเป็นสุขสำราญบานใจแลผู้อยู่ในท้องแม่ก็ดี เมื่อเถิงจักคลอดนั้นก็ด้วยกรรมนั้น กลายเป็นลมในท้องแม่สิ่งหนึ่ง พัดให้ตัวกุมารนั้นขึ้นหนบน ให้หัวลงมาสู่ที่จะออกนั้นดจดังฝูงนรกอันยมบาลกุมตีนแลหย่อนหัวลงในขุมนรกนั้นอันลึกได้แลร้อยวานั้น เมื่อกุมารนั้นคลอดออกจากท้องแม่ออกแลไปบมีพ้นตน ๆ เย็นนั้นแลเจ็บเนื้อเจ็บตนนักหนา ดังช้างสารอันท่านชักท่านเข็นออกจากประตูลักษอันน้อยนั้น แลคับตัวออกยากลำบากนั้น ผิบมิดังนั้นดังคนผู้อยู่ในนรกแลฯ ภูเขาอันชื่อคังเคยยปัพตหีบแลแห่งแลบดนฃบี้นั้นแลฯ ครั้นออกจากท้องแม่ไส้ ลมอันมีในท้องผู้น้อยค่อยพัดออกก่อน ลมอันมีภายนอกนั้นจึงพัดเข้านั้นนักหนา พัดเข้าเถิงตนลิ้นผู้น้อยนั้นจึงอย่า ครั้นออกจากท้องแม่แตี่นั้นไปเมื่อหน้ากุมารนั้นจึงรู้หายใจเข้าออกแลฯ ผิแลคนอันมาแต่นรกก็ดีมาแต่เปรตก็ดี มีนคำนึงเถิงความอันลำบากนั้น ครั้นว่าออกมาก็ร้อยไห้แลฯ ผิแลคนมาแต่สวรรค์แลคำนึงเถิงความาขแต่ก่อนนั้น ครั้นว่าออกมาไส้ก็ย่อมหัวร่อก่อนแลฯ แต่คนผู้มาอยู่ในแผ่นดินนี้ทั่วทั้งจัวาลอันใดอันอื่นก็ดี เมื่อแรกมาเกิดในท้องแม่ก็ดี เมื่อออกจากท้องแม่ก็ดี ในกาลทั้ง ๓ นั้นย่อมหลงบมิได้คำนึงรู้อันใดสักสิ่ง ฯ ฝูงที่อันมาเกิดเป็นพระปัจเจกโพธิเจ้าก็ดี แลเป็นพระอรหันตาชีณาสพเจ้าก็ดี แลมาเป็นพระองค์อรรคสาวกเจั้าก็ดี เมื่อธแรกมาเอาปฏิสนธินั้นก็ดี เมื่อธอยู่ในท้องแม่นั้นก็ดีแล สองสิ่งนี้ เมื่ออยู่ในท้องแม่นั้นบห่อนจะรู้หลงแลยังคำนึงรู้อยู่ทุกวัน เมื่อจะออกจากท้องแม่วันนั้นไส้เ จึงลมกรรมชวาตก็พัดให้หัวผู้น้อนนั้นลงมาสู่ที่จะออกแล คับแคบแอ่นนัยนักหนาเจ็บเนื้อเจ็บตนลำบากนักหนา เจ็บเนื้อเจ็บตนลำบากนักดังกล่าวมาแต่ก่อน แลพลิกหัวลงบมิได้รู้สึกสักอันบเริ่มดังท่านผู้จะออกมาเป็นพระปัจเจกโพธิเจ้าก็โ ผู้จะมาเกิดเป็นลูกพระพุทธเจ้าก็ดี คำนึงรู้สึคกตนแลบมิหลงแต่สองสิ่งนี้ คือเมื่อจะเอาปฏิสนธิแลอยู่ในท้องแม่นั้นได้แลฯ เมื่อจะออกจากท้องแม่นั้นย่อมหลงดุจคนทั้งหลายนี้แลฯ ส่วนว่าคนทั้งหลายนี้ไส้ย่อมหล่งทั้ง ๓ เมื่อควรอิ่มสงสารแลฯ พระโพธิสัตว์เจ้าเมื่อชาติลงมาตรัสแก่สัพพัญญุตญาณ เมื่อแรกเอาปฏิสนธิก็ดี เมื่ออยู่ในคตรรภ์ก็ดี แลเสด็จจากครรภ์ก็ดี พระมารดาก็ดี บห่อนจะรู้หลงสักทีย่อมคำนึงรู้ทุกประการแลฯ เมื่อพระโพธิสัตว์อยู่ในครรภ์พระมารดานั้นบมิเหมือนดุจคนทั้งหลายเบื้องหลัง พระโพธิสัตว์ผูกหลังท้องแม่แลนั่งพแนงเชิงอยู่ดังนักปราชญ์ผู้งามนั้นนั่งเทศนาในธรรมาสนนั้น ตัวแห่งพระโพธิสัตว์เจ้านั้นเรืองงามดังทอง เห็นออกมารอง ๆ ดังจะออกมาภายนอกท้อง มารดาโพธิสัตว์ก็ดีแลผู้อื่นก็ดี ก็เห็นรุ่งเรืองงามดังท่านเอาไหมอันแดงนั้นมาร้อยแก้วขาวนั้นแบฯ เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จออกจากท้องแม่ ลมอันเป็นบุญนั้นบมิได้พัดให้หัวลงมาเบื้องต่ำแลให้ตีนขึ้นเบื้องบนดังสัตว์ทั้งหลายนั้นหาบมิได้ฯ เมื่อพระโพธิสัตว์จะออกจากครรภ์มารดานั้ นธเหยียดตีนแลเมื่อธออกแล้วธลุกยืนขึ้นแล้วธจึงออกจากท้องแม่ธแลฯ แต่เมื่อธยังเป็นฯ แต่มนุษย์ทั้งหลายอันมาเกิดในท้องแม่มนั้น และจะมีประดุจเป็นโพธิสัตว์เมื่ปัจฉิมชาติจักได้ตรัสเป็นพระนี้บห่อนมีเลย แต่ก่อน ๆ โพ้นไส้ย่อมเป็นโดยปรกติคจนทั้งหลายนี้แลฯ เมื่อพระโพธิสัตว์เนสด็จลงมาเอาปฏิสนธิเมื่อธสมภพก็ดี แผ่นดินไหวได้แลหมื่นจักรวาลทั้งน้ำอันชูแผ่นดินก็ไหว ทั้งน้ำสมุทรก็ฟูมฟอง เขาพระสุเมรุราชก็ทรงอยู่บมิได้ ก็หวั่นไหวด้วยบุญสมภารพระโพธิสัตว์เจ้าผู้มาตรัสเป็นพระพุทธเจ้านั้นแลฯ อันว่าปรกติคนทั้งหลายในโลกย์นี้ก็โ องค์พระโพธิสัตว์เจ้าก็ดี ติรัจฉานทั้งหลายก็ดี ครั้นว่าออกมาจากท้องแม่แลไส้ อันว่าเลือดซึ่งมีอยู่ในอกแม่นั้นเหตุว่าแม่ตจนมีใจรักนัก จึงเลือดที่ในอกของแม่นั้น ก็กลายเป็นน้ำมันไหลออกมาของแม่ให้ลูกนั้นได้ดูดกิน อันนี้เป็นวิสัยแห่งโลกย์ทั้งหลายแลฯ อันว่ามนุษย์ทั้งหลายนี้ ครั้นว่าผู้น้อยนั้นใหญ่ก็มาอาศัยแก่พ่อแม่นั้นเจรจาภาษาอันใด ๆ ก็ดี ครั้นแลว่าลูกนั้นได้ยินพ่อแม่เจรจาโดยภาษาอันนี้นั้น ๆ ตามภาษาพ่อแม่เจรจานั้นแลฯ ผิว่าผู้น้อยนั้นเกิดมาแล้วใหญ่มากล้าแข็งแล้วไส้ ถ้าแลว่าบมิได้ภาษาอันใด ๆ เลยไส้ กุมารนั้นก็เจรจาโดยสัจจบาลีแล โดยกำหนดท่านว่าไว้ต่อได้ ๑๖ ปี จึงหย่านมแลฯ ฝูงกุมารมนุษย์ทั้งหลายอันเกิดมานี้มี ๓ สิ่ง ๆ หนึ่งชื่อว่าอภิชาติบุตร สิ่งหนึ่งชื่ออนุชาติบุตร สิ่งหนึ่งชื่ออวชาติบุตรฯ อันว่าอภิชาติบุตรนั้นไส้ ลูกนั้นเฉลียวฉลาดช่างเชาว์เหล่าเกลี้ยงดียิ่งกว่าพ่อกว่าแม่ แลรู้หลักนักปราชญ์ยิ่งกว่าพ่อกว่าแม่ ทั้งรูปนั้นก็งามกว่าพ่อกว่าแม่ มั่งมีเป็นดีมียษฐาศักดิ์มีกำลังยิ่งกว่าพ่อกว่าแม่ ลูกอันดีกว่าพ่อแม่ดังนี้ไส้ชื่อว่าอภิชาติบุตรแลฯ ลูกอันเกิดมาแลรู้หลักเรี่ยวแรงแลรูปโฉมแต่พอเพียงพ่อเพียงแม่ทุกประการดังนั้นชื่อว่าอนุชาติบุตรแลฯ ลูกอันเกิดมานั้นแลถ่อยกว่าพ่อกว่าแม่ทุกประการ ดังนั้นไส้ชื่อว่าอวชาติลบุตรแลฯ อันว่ามนุษย์ทั้งหลายนี้ ๔ จำพวก ๆ หนึ่งชื่อว่าคนนรก อันหนึ่งชื่อคนเปรต จำพวกหนึ่งชื่อคนติรัจฉาน อันหนึ่งชื่อคนมนุษย์ ฝูงคนอันที่ฆ่าสิงสัตว์อันรู้กระทำการอันเป็นบาปนั้นมาเถิงตน แลทื่านได้ตัดตีนสินมือแลทุกข์โศกเวทนานักหนาดังเรียกชื่อว่าคนนรกแลฯ จำพวกหนึ่งคนอันหาบุญอันจะกระทำบมิได้ แลแต่เมื่อก่อนแลเกิดมาเป็นคนเข็ญใจนักหนาแลจะมีผ้าแลเสื้อรอบตนนั้นหาบมิได้ อยู่หาอันจะกินบมิได้ อยากเผ็ดเร็ดไร้นักหนาแลมีรูปโแมโนมพรรณนั้นก็บมิงาม คนหมู่นี้ชื่อว่าเปรตมนุษย์แลฯ คนอันที่มีรู้ว่าบุญแลบาปย่อมเจรจาที่อันหาความเมตตากรุณามิได้ ใจกล้าหาญแข็งบมิรู้ยำเกรงท่านผู้เฒ่าผู้แก่ บมิรู้ปฏิบัติพ่อแม่แลครูบาธยายลมิรู้รักพี่รักน้อง ย่อมกระทำบาปทุกเมื่อ คนผู้นี้ชื่อว่าติรัจฉานมนุษย์แลฯ คนอันที่รู้จักผิดแลชอบ แลรู้จักที่อันเป็นบาปแลบุญ แลรู้จักประโยชน์ในชั่วนี้ชั่วหน้า แลรู้กลัวแก่บาปแลละอายแก่บาป รู้จักว่ายากว่าง่าย แลรู้รักพี่รักน้องแลรู้เอ็นดูกรุณาคนผู้เข็ยใจ แลรู้ยำเกรงพ่อแม่ผู้เฒ่าผู้แก่สมณพราหมณาจารย์อันอยู่ในสิกขาบทของพระพุทธเจ้าทุกเมื่อ แลรู้จักคุณแก้ว ๓ ประการไส้ แลคนฝูงนี้แลชื่อว่ามนุษยธรรมแลฯ คนทั้งหลายอันชื่อว่ามนุษย์นี้มี ๔ จำพวก จำพวกหนึ่งเกิดแลอยู่ในชมพูทวีปนี้แลฯ คนจำพวกหนึ่งเกิดแลอยู่ในแผ่นดินบุรพวิเทหเบื้องตระวันออกเรา คนจำพวกหนึ่งเกิดแลอยู่ในแผ่นดินอุตรกุรุทวีปอยู่ฝ่ายเหนือเรานี้ คนจำพวกหนึ่งเกิดแลอยู่ในแผ่นดินอมรโคยานทวีปเบื้องตระวันตกเรานี้ ฯ คนอันอยู่ในแผ่นดินชมพูทวีปอันเราอยู่นี้ หน้าเขาดังดุมเกวียน ฝูงคนอันอยู่ในบุรพวิเทหะหน้าเขาดังเดือนเพ็งแลกลมดังหน้าแว่นฯ ฝูงคนอันอยู่ในอุตรกุรุนั้นแลหน้าเขาเป็น ๔ มุมดุจดังท่านแกล้งถากให้เป็น ๔ เหลี่ยมกว้างแลรีนั้นเท่ากันแลฯ ฝูงคนอันอยู่ในแผ่นดินอมรโคยานทวีปนั้น หน้าเขาดังเดือนแรม ๘ ค่ำนั้นแลฯ อายุคนทั้งหลายอันอยู่ในชมพูทวีปนี้บห่อนจะรู้ขึ้นรู้ลง เพราะเหตุว่าดังนี้ลางคาบคนทั้งหลายมีศีลมีธรรม ลางคาบคนทั้งหลายหาศีลหาธรรมบมิได้ฯ ผิแลว่าเมื่อคนทั้งหลายนั้นมีศีลอยู่ไส้ ย่อมกระทำบุญแลธรรมแลยำเยงผู้เฒ่าผู้แก่พ่อแม่ แลสมณพราหมณาจารย์ดังนั้นแลอายุคนทั้งหลายนั้นก็เร่งจำเริญขึ้นไป ๆ เนือง ๆ แลฯ ผิแลว่าคนทั้งหลายมิได้จำศีลแลมิได้ทำบุญ แลมิได้ยำเกรงผู้เฒ่าผู้แก่พ่อแม่แลสมณพราหมณาจารย์ครูบาธยายแล้วดังนั้นไส้ อันว่าอายุคนทั้งหลายนั้นก็เร่งถอยลงมา ๆ เนือง ๆ แลฯ แลอายุคนในแผ่นดินชมพูทวีปเรานี้ว่าหากำหนดมิได้เพราะเหตุดังนั้นแลฯ อันว่าฝูงคนอันอยู่ในบุรพวิเทหะนั้นแลอายุเขายืนได้ ๑๐๐ ปี เขาจึงตายฯ อันว่าฝูงคนทั้งหลายอันอยู่ในอมรโคยานทวีปนั้นอายุเขายืนได้ ๔๐๐ ปีจึงตายแลฯ อันว่าฝูงคนอันอยู่ในอุตรกุรุทวีปนั้น อายุเขายืนได้ ๑๐๐๐ ปีจึงตายแลฯ แลอายุคนทั้ง ๓ ทวีปนั้นบห่อนจะรู้ขึ้นรู้ลงเลยสักสาบ เพราะว่าเขานั้นอยู่ในปัญจศีลทุกเมื่อบมิได้ขาด เขาบห่อนจะรู้ฆ่าสัตว์ตัวเป็นให้จำตายเขาบห่อนจะรู้ลักเอาทรัพย์สินท่านมากก็ดีน้อยก็ดีอันเจ้าของมิได้ให้ เขาบห่อนจะรู้ฉกลักเอา อนึ่งเขาบห่อนจะรู้ทำชู้ด้วยเมียท่านผู้อื่น ส่วนว่าผู้หญิงเล่าเขาก็บห่อนจะรู้ทำชู้ด้วยผัวท่านแล ผู้อื่นแลเขาบห่อนจะรู้ทำชู้จากผัวของตน อนึ่งเขาบห่อนจะรู้เจราจามุสาวาทแลเขาบห่อนจะรู้เสพย์สุรายาเมา แลเขารู้ยำรู้เกรงผู้เม่าผู้แก่พ่อแลแม่ของเขา ๆ รู้รักพี่รู้รักน้องของเขา ๆ ก็ใจอ่อนใจอดเขารู้เอ็นดูกรุณาแก่กัน เข่บห่อนจะรู้ริษยากัน เขาบห่อนจะรู้เสียดรู้ส่อรู้ด่ารู้ทอรู้พ้อรู้ตัดกันแล เขาบห่อนจะรู้เฉลาะเบาะแว้งถุ้งเถียงกัน เขาบห่อนจะรู้ชิงช่วงหวงแหนแดนแลที่บ้านรู้ร้าวของกันแล เขาบห่อนจะรู้ทำข่มเหงเอาเงินเอาทองของแก้วลูกแลเมียแลข้าวไร่โคนาหัวป่า ค่าที่ห้อยละหานธารน้ำเชิงเรือนเรือกสวนเผือกมันหัวหลักหัวต่อหัวล้อหัวเกวียน เขามิรู้เบียดเบียนเรือชานาวาโคมหิงษาช้างม้าข้าไทย สรรพทรัพย์สิ่งสินอันใดก็ดี เขาบห่อนรู้ว่าของตนท่านดูเสมอกันสิ้นทุกแห่งแล เขานั้นบห่อนทำไร่ไถนาค้าขายหลายสิ่งเลยฯ เบื้องตระวันนตกเขา พระสุเมรุใหญ่ อันชื่อว่า อมรโคยาน ทวีปนั้นโดยกว้างได้ ๙๐๐๐ โยชน์ แลมีแผ่นดินล้อมรอบเป็นบริวาร ฝูงคนอันอยู่ที่ในแผ่นดินนั้นหน้าเขาดังเดือนแรม ๘ ค่ำ แลมีแม่น้ำใหญ่แลแม่น้ำเล็บแลเมืองใหญ่แลเมืองน้อย มีนครใหญ่กว้าง ๆ น้ำนั้นเบื้องตระวันออกเขาพระสุเมรุนั้น มีแผ่นดินใหญ่อันหนึ่งชื่อว่าบุพพวิเทหทวีป ๆ นั้นโดยกว้างได้ ๗๐๐๐ โยชน์ ด้วยปริมณฑลรอบไส้ได้ ๒๑,๐๐๐ โยชน์ แลมีแผ่นดินเล็กได้ ๔๐๐ แผ่นดินล้อมรอยเป็นบริวาร ฝูงคนอยู่ที่นั้นหน้าเขากลมดังเดือนเพ็ง แลมีแม่น้ำใหญ่แม่น้ำเล็กมีเขามีเมืองใหญ่เมืองน้อย ฝูงคนอันอยู่ที่นั้นมากมายหลายนักแลมีท้าวพระญาแลมีนายบ้านนายเมืองฯ แผ่นดินเบื้องตีนนอนพระสิเนรุนั้นชื่อว่าอุตตรกุรุทวีปโดยกว้างได้ ๘,๐๐๐ โยชน์ แผ่นดินเล็กได้ ๕๐๐ แผ่นดินนั้นล้อมรอบเป็นบริวาร ฝูงคนอยู่ในที่นั้นหน้าเขาเป็น ๔ มุมแลมีภูเขาทองล้อมรอบ ฝูงคนทั้งหลายอยู่ที่นั้นมากหลายนัก เทียรย่อมดีกว่าคนทุกแห่งเพื่อว่าเพราะบุญเขาแลเขารักษาศีล แลแผ่นดินเขานั้นราบเคียงเรียงเสมอกันดูงามนักหนา แลว่าหาที่ราบที่ลุบขุบที่เทงมิได้ แลมีต้นไม้ทุกสิ่งทุกพรรณแลมีกิ่งตาสาขางามดีมีค่าคลบมั่งคั่งดังแกล้งทำไว้ ไม้ฝูงนั้นเป็นเย่าเป็ฯเรือนเลือนกันเข้ามอง งามดังปราสาทเป็นที่อยู่ที่นอน ฝูงคนในแผ่นดินชาวอุตรกุรุทวีป แลไม้นั้นหาด้วงหาแลงมิได้แลไม่มีที่คดที่โกง หาพุกหาโพรงหากลวงมิได้ ซื่อตรงกลมงามนักหนาแลมีดอกเทียรย่อมมีดอก แลลูกอยู่ทุกเมื่อบมิได้ขาดเลยฯ อนึ่งที่ใดแลมีบึงมีหนองมีตระพังทั้งนั้น เทียรย่อมมีดอกบัวแดงบัวขาวบัวเขียวบัวหลวง แลกระมุทอุบลจลกรณีแลนิลุบลบัวเผื่อนบัวขม ครั้งลมพัดต้องมีกลิ่นอันหอมขจรอยู่มิรู้วายสักคาบฯ คนฝูงนั้นบมิต่ำ บมิสูง บมิพี บมิผอม ดูงามสมควรนัก คนฝูงนั้นเรี่ยวแรงอยู่ชั่วตนแต่หนุ่มเถิงเฒ่าบมิรู้ถอยกำลังเลย แลคนชาวอุตรกุรุนั้นหาความกลัวบมิได้ด้วยจะทำไร่ไถนาค้าขายวายล่องทำมาหากินดังนั้นเลยสักคาบอนึ่งชาวอุตรกุรุนั้นเขาบห่อนจะรู้ร้อนรู้หนาวเลย แลมิมีใญ่ข่าวแลริ้นร่านหานยุง แลงูเงี้ยงเปียวของทั้งหลายเลแลสารพสัตว์อันมีพิษ บห่อนจะรู้ทำร้ายแก่เขาเลยทั้งลมแลฝนก็บห่อนจะทำร้ายแก่เขา ทั้งแดดก็บห่อนจะรู้ร้อนตัวเขาเลย เขาอยู่แห่งนั้นมีเดือนวันคืนบห่อน จะรู้หลากสักคาบหนึ่งเลย แลชาวอุดรกุรุนั้นบห่อนจะรู้ร้อนเนื้อเดือดใจ ด้วยถ้อยความสิ่งอันใดบห่อนจะมีสักคาบ แลชาวอุตรกุรุนั้นมีช้าวสารสิ่งหนึ่ง ขชีเตนสาลีบมิพัดทำนาแลข้าวสาลีนั้นหากเป็น้ต้นเป็นรวงเอง เป็นข้าวสารแต่รวงนั้นมาเองแล ข้าวนั้นข้าวแล หอมปราศจากแกลบแลรำบมิพักตำ แลฝัดแลหากเป็นข้าวสารอยู่แล เขาชวนกันกินทุกเมื่อแล ในแผ่นดินอุตรกุรุนั้นยังมีศิลาสิ่งหนึ่งชื่อโชติปราสาท คนทั้งหลายฝูงนั้นเอาข้าวสารนั้นมาใส่ในหม้อทองอันเรืองงามดังแสงไฟ จึงยกไปตั้งลฝงเหนือศิลาอันชื่อว่าโชติปราสาท บัดใจหนึ่งก็ลุกขึ้นแต่ก้อนศิลา อันชื่อว่าโชติปราสาทนั้น ครั้นว่าข้าวนั้นสุกแล้วไฟนั้นก็ดับไปเองแลฯ เขาแลดูไฟนั้น ครั้นเขาเห็นไฟนั้นดับแล้วเขาก็รู้ว่าข้าวนั้นสุกแล้ว เขาจึงเอาถาดแลตระไลทองนั้นใสงามนั้นมา คดเอาข้าวใส่ในถาดแลตระไลทองนั้นแลฯ อันว่าเครื่องอันจะกินกับข้าวนั้นฉแม่นว่าเขาพอใจจักใคร่กินสิ่งใด ๆ เขามิพักหาสิ่งนั้น หากบังเกิดขึ้นมาอยู่แทบใกล้เขานั้นเองแลฯ คนผู้กินข้าวนั้นแลจะรู้เป็ฯหิดแลเรื้อนเกลื้อนแลกากหูแลเปา เป็นต่อมเป็นเตาเป็นง่อยเป็ฯเพลียตาฟูหูหนวกเป็นกระจอกงอกเงือยเปือยเนื้อเมื่อยตน ท้องขึ้นท้องพองเจ็บท้องต้องไส้ปวดหัวมัวตา ไข้เจ็บเหน็บเหนื่อยวิการดังนี้ไสบห่อนจะบังเกิดมีแก่ชาวอุตรกุรุนั้นแต่สักคาบหนึ่งเลยฯ ผิว่าเขากินข้าวอยู่แลมีคนไปมาหาเมื่อเขากินข้าวอยู่นั้น เขาก็เอาข้าวนั้นให้แก่ผู้ไปเถิงเขานั้นกินด้วยใจอันยินดีบห่อนจะรู้คิดสักเมื่อเลนยฯ แลในแผ่นดินอุตรกุรุทวีปนั้น มีต้นกัลปพฤกษ์ต้นหนึ่งโดยสูงได้ ๑๐๐ โยชน์ โดยกว้างได้ ๑๐๐ โยชน์ โดยรอบบริเวณมณฑลได้ ๓๐๐ โยชน์ และต้นกัลปพฤกษ์นั้นผู้ใดจะปราถนาหาทุนทรัพย์สรรพเหตุอันใด ๆ ก็ดี ย่อมได้สำเร็จในต้นไม้นั้นทุแประการแลฯ ถ้าแลคนผู้ใดปราถนาจะใคร่ได้เงินแลทององแก้วแลเครื่องประดับนิ์ทั้งหลาย เป็นต้นว่าเสื้อสร้อยสนิมพิมพาภรณ์ก็ดี แลผ้าผ่อนท่อนแพรพรรณสิ่งใด ๆ ก็ดี แลข้าวน้ำโภชนาหารของกินสิ่งใดก็ดี ก็ย่อมบังเกิดปรากฎขึ้นแต่ค่าคบต้นกัลปพฤกษ์นั้น ก็ให้สำเร็จความปรารถนาแก่ชนทั้งหลายนั้นแลฯ แลมีฝูงผู้หญิงอันอยู่ในแผ่นดินนั้นงามทุกคนรูปทรงเขานั้นบมิต่ำบมิสูงบมิพีบมิผอมบมิขาวบมิดำ สีสมบูรณ์งามดังทองอันสุกเหลืองเรืองเป็นที่พึงใจฝูงชายทุกคนแลฯ นิ้วตีนนิ้วมือเขานั้นกลมงามนะแน่ง เล็บตีนเล็บมือเขานั้นแดงงามดังน้ำครั่งอันท่านแต่งแล้วแลแต้มไว้ แลสองแก้มเขานั้นไสงามเป็นนวลดังแกล้งเอาแป้งผัด หน้าเขานั้นหมดเกลี้ยงปราศจากมลทินหาผ้าหาไผบมิได้ แลเห็นดวงหน้าเขาใสดุจดวงพระจันทร์อันเพ็งบูรณ์นั้น เขานั้นมีตาอันดำดังตาแห่งลูกทรายพึ่งออกได้ ๓ วันที่บูรณ์ขาวก็ขาวงามดังสังข์อันท่านพึ่งฝนใหม่แลมีฝีปากนั้นแดงดังลูกฝักข้าวอันสุกนั้น แลมีลำแข้งลำขานั้นงามดังลำกล้วยทองฝาแฝดนั้นแล แลมีท้องเขานั้นงามราบเพียงลำตัวเขานั้นอ้อนแอ้นเกลี้ยงกลมงาม แลเส้นขนนั้นละเอียดอ่อนนัก ๘ เส้นผมเขาจึงเท่าผมเรานี้เส้นหนึ่ง แลผมเขานั้นดำงามดังปีกแมลงภู่เมื่อประลงมาเถิงริมบ่าเบื้องต่ำ แลมีปลายผมเขานั้นงอนเบื้องบนทุกเส้น แลเมื่อเขานั่งอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี ดังจักแย้มหัวทุกเมื่อ แลขนคิ้วเขานั้นดำแลงามดังแกล้งก่อ เมื่อเขาเจรจาแลน้ำเสียงเขานั้นแจ่มใส่ปราศจากเสมหเขฬทั้งปวงแล ในตัวเขานั้นเทียรย่อมประดับนิ์ด้วยเครื่องถนิมอาภรณ์บวรยุคันฐี แลมีรูปโฉมโนมพรรณอันงามดังสาวอันได้ ๑๖ เข้า แลรูปเขานั้นบห่อนรู้เฒ่ารู้แก่แลหนุ่มอยู่ดังนั้นชั่วตนทุก ๆ แลฯ อันว่าฝูงผู้ชายอันอยู่ในแผ่นดินอุตรกุรุนั้นโสด รูปโฉมโนมพรรณเขานั้นงามดังบ่าวหนุ่มน้อยได้ ๒๐ ปี มิรู้แก่บมิรู้เฒ่าหนุ่มอยู่ดังนั้นชั่วตนทุก ๆ เลย แลเขานั้นไส้เทียรย่อมกินข้าวแลน้ำสรรพหารอันดีอันโอชารสนั้น แลแต่งแต่เขาทากระแจะแลจวงจันทน์น้ำมันอันดี แลมีดอกไม้หอมต่าง ๆ กัน เอามาทัดมาทรงเล่นแล้วก็เที่ยวไปเล่นตามสบาย บ้างเต้นบ้างรำบ้างฟ้อนระบะบรรลือเพลงดุริยดนตรี บ้างดีดบ้างสี บ้างตีบ้างเป่า บ้างขับสรรพสำเนียงเสียงหมู่นักคุนจุนกันไปเดียรดาษ พื้นฆ้องกลองแตรสังข์ระฆังกังสดาลมโหรทึกกึกก้องทำนุกดี ที่มีดอกไม้อันตระการต่าง ๆ สิ่งมีจวงจันทน์กฤษณาคันฦธาทำนองลบองดังเทพยดาในเมืองฟ้าสนุกนิ์ทุกเมื่อบำเรอกันบมิวายสักคาบหนึ่งเลย ลางหมู่ชวนเพื่อนกันไปเล่นแห่งที่ตระการสนุกนิ์นั้นก็มี ลางหมู่ไปเล่นในสวนที่สนุกนิ์ที่มีดอกไม้อันตระการต่าง ๆ สิ่งมีจวงจันทน์กฤษณาคนธาปาริกชาตนาคพฤกษ์ รำดวนจำปาโยทกามาลุตีมณีชาติบุตรทั้งหลาย อันมีดอกอันบานงามตระการแลหอมกลิ่นฟุ้งขจรไปบมิรู้วายฯ ลางหมู่ก็ชวนกันไปเล่นในสวนอันมีสรรพลูกไม้อันตระการแลมีลูกอันสุกแลหวาน คือว่าขนุนนั้นไส้ลางลูกนั้นใหญ๋เท่าไหหาม ลางลูกเท่ากลออมหอมก็หอมหวานก็หวาน เขาชวนกันกินเล่นสำราญบานใจในสวนนั้นฯ ลบางหมู่ชวนกันไปเล่นน้ำใหญ่อันมีท่าอันราบอันปราศจากเปือกแลตม เขาเขาชวนกันว่ายล่องท่องเล่นเต้นเด็ดเอาดอกไม้อันมีในแม่น้ำนั้นด้วยกันแล้ว แลลงอาบฉาบตัวเก็บเอาดอกไม้มราทัดตรงไว้เหนือหูแลหัว บ้างก็ชวนกันเล่นเหนือกองหาดทรายอันงาม เมื่อจะพากันลงอาบน้ำนั้น เขาก็ถอดเอาเครื่องประดับนิ์นั้นออกวางไว้เหนือหาดทราบแลฝั่งน้ำนั้นด้วยกันแล้ว ๆ ก็ลงอาบเล่นวายเล่นในน้ำนั้น ถ้าแลผู้ใดขึ้นมาก่อนไส้ ผ้าใครก็ดี เครื่องประดับนิ์ใครก็ดี เอานุ่งเอาห่มเอามาประดับนิ์ตนก่อนแลฯ ส่วนว่าผู้ขึ้นมาภายหลังเล่าไส้ เครื่องประดับนิ์ใครก็ดี ผ้าใครก็ดี เอามานุ่งมาห่ม แลเขาบมิได้ว่าของตนของท่าน เขาบห่อนยินร้ายแก่กันด้วยความดังนี้เลย เขาบห่อนด่าบห่อนเถียงกันเลย ผิว่ามีรูไม้อยู่ที่ใดแลเขาเข้าอยู่อาศัย ในที่นั้นก็พูนเกิดขึ้นมาเป็นเสื้อสาดอาสนะ แลเป็นฟูกนอนหมอนอิงเป็นม่าน แลเพดานกางกั้นแลสนุกนิ์ถูกเถิงพึงใจเขาทุกเมื่อแลฯ ผิว่าเมื่อเขาพึงใหญ่ขึ้นก็ดี เมื่อเขายังหนุ่มอยู่นั้นก็โ เมื่อเขาแรกจะรักใคร่กันก็ดี เมื่อเขาแรกได้กันเป็นผัวเป็นเมียก็ดี แลเขาอยู่ด้วยกันแลเสพเมถุนไส้แต่ ๗ วันนั้นแลฯ พ้นกว่านั้นไปเขามิได้เสพด้วยเมถุนเลยฯ เขาอยู่เย็นเป็นสุขนักหนา แลตราบเท่าสิ้นชนมายุเขาพันปีนั้นบมิได้มีอาวรสิ่งใด ๆ ดังอรหันตาขีณาสพเจ้าอันขาดกิเลสแล้วนั้นแลฯ ฝูงผู้หญิงอันอยู่ในแผ่นดินนั้น เมื่อเขามีครรภภ์และจะคลอดลูกไส้ในที่อยู่นั้นบห่อนจะรู้เจ็บท้องเจ็บพุง ครั้นว่าท้องนั้นสนใจรู้ว่าจะคลอดลูกแลแม่อยู่แห่งใดก็ดี เทียรย่อมเป็นแท่นเป็นที่อยู่ที่นอนเกิดขึ้นมาเองดังกล่าวมาแต่ก่อนนั้นฯ เขาจึงคลอดลูกในที่นั้น เขาบห่อนจะรู้เจ็บท้องเจ็บไส้บห่อนรู้แค้นเนื้อแค้นใจด้วยคลอดลูกนั้นสักอันเลยฯ ครั้นว่าเขาออกลูก ๆ เขานั้นหมดใสปราศจากเลือดฝาดแลเปลือกคาวทั้งปวงแลหามุลทินบมิได้เลย งามแลงามดังแท่งทองดอันสุกใสอันปราศจากราคี เขาบมิได้ล้างได้สีได้ลูบได้คลำ เขาบมิให้ลูกกินน้ำกินนมเลยฯ เขาเอาลูกเขานั้นไปนอนหงายไว้ในริวหนทืางที่คนทั้งหลายเดินไปมากล้ำกลายนั้นแลฯ แลที่นั้นมีหญ้าอันอ่อนดังสำลี แลแม่นั้นมิได้อยู่ด้วยลูกอ่อนนั้นเลย แม่นั้นก็คืนไปยังที่อยู่สู่ที่กินของเขานั้นแลฯ จึงผู้คนผู้หญิงก็ดีผู้ชายก็ดี คนทั้งหลายนั้นเดินไปมากล้ำกลายครั้นว่าแลเห็นลูกอ่อนนอนหงายอยู่ดังนั้น เทียรย่อมเอานิ้วมือเขาป้อนข้าวไปในปากลูกอ่อนนั้น ด้วยบุญของลูกอ่อนนั้นก็บังเกิดเป็นน้ำนมไหลออกมาแต่ปลายนิ้วมือเขาก็ไหลเข้าไปในคอลูกอ่อนนั้น หากเป็นข้าวกล้วยอ้อยของกินบำเรอลูกอ่อนนั้นทุกวันฯ ครั้นว่าหลายเดือนแล้วลูกอ่อนนั้นใหญ่ รู้เดินไปมาได้แล้วไส้ ถ้าว่าลูกอ่อนนั้นเป็นผู้หญิงก็ไปอยู่ด้วยเพื่อนเด็กผู้หญิงทั้งหลายหนึ่งกันนั้นแลฯ ถ้าว่าเด็กลูกอ่อนนั้นเป็นผู้ชายไส้ก็ไปอยู่ด้วยฝูงเด็กผู้ชายทั้งหลายนั้นแลฯ ลูกเต้าเขานั้นหากใหญ๋กลางบ้านลูกก็มิรู้จักแม่ ๆ ก็มิรู้จักลูก ถ้อยทีถ้อยมิได้รู้จักกัน เพราะว่าคนฝูงนั้นงามดังกันทุกคนแลฯ อนึ่งเมื่อเขาแรกรักกันและจะอยู่ด้วยกันแรกเป็นผัวเป็นเมียกันวันนั้น แม่แลลูกก็ดีพ่อแลลูกก็ดี เขาบห่อนได้กันเป็นผัวเป็นเมีย เพราะว่าเขาฝูงนั้นเป็นคนนักบุญแลเทพยดาหากตกแต่งเขาให้เป็นธรรมดาาเขาแลฯ ผิแลว่าเมื่อเขาแลตายจากกัน เขาบมิได้เป็นทุกข์เป็นโศก แลมิได้ร้องไห้รักกันเลย เขาจึงเอาศพนั้นมาอาบน้ำแลแต่งแง่ทากระแจะแลจวงนจันทน์น้ำมันอันหอมแลนุ่งผ้าห่มผ้าให้แล้วพระดับนิ์ด้วยเครื่องถนิมอาภรณ์แลทั้งปวงให้แล้ว ๆ จึงเอาศพนั้นไปวางไว้ในที่แจ้งยังมีนกสิ่ง ๑ เทียรย่อมบินเที่ยวไปทั่วแผ่นดินอุตรกุรุทวีปนั้น นกนั้นครั้นว่าแลเห็นซากศพไส้ นกนั้นก็คาบเอาซากศพนั้นไปเป็นกำนันบ้านนกนั้น เพราะว่าบมิให้เป็นอุกกรุกในแผ่นดิน เขานั้นได้ลางคาบ ๆ ไปเสียในแผ่นดินอันอื่นก็ว่า บางคาบ ๆ ไปเสียในฝั่งทะเลว่าชมพูทวีปอันเราอยู่นี้ก็ว่า เหตุให้พ้นอันตรายในแผ่นดินอุตรกุรุทวีปนั้นแลฯ อันว่านกนั้นไส้ ลางอาจารย์ว่านกหัสดีลึงค์ ลางอาจารยว่านกอินทรี ลางอาจารย์ว่านกกด อันมาคาบเอาศพไปเสียนั้น ลางอาจารย์ว่าเอาตีนคีบไปเสียฯ ฝูงคนอยู่ในอุตรกุรุทวีปนั้น เมื่อเขาตายเขาบห่อนได้ไปเกิดในจตุราบางทั้ง ๔ คือว่านรกแลเปรตแลติรัจฉานอสูรกายนั้นนั้นเลยฯ เขาไส้เทียรย่อมไปเกิดในที่ดีคือสวรรค์ชั้นฟ้าแล เพราะว่าเขานั้นย่อมตั้งอยู่ในปัญจศีลนั้นทุกเมื่อแลบมิได้ขาดฯ เครื่องเป็นดีคนฝูงนั้นบมิรู้สิ้นสุดเลย ยังคงบริบูรณ์อยู่ต่อเท่ากาลบัดนี้แลฯ ในพระคัมภีร์อัน ๑ ว่าดังนี้ แผ่นดินในอุตรกุรุทวีปนั้นราบคาบเสมอกันงามนักหนา มิได้เป็นขุมรูบมิได้ลุ่มบมิได้เทงอันว่าคนทั้งหลายอันที่อยู่นั้ บห่อนจะรู้มีความทุกข์ความโศกเลยฯ อันว่าสิงสีตว์ทั้งหลายหลายมีอาทิ คือ หมูแลหมีหมาแลงูเงี้ยวเกี่ยวข้อง แลสรรพสัตว์อันร้ายอันคะนองแลจะได้เบียดเบียนคนทั้งหลายอันอยู่ในที่นั้นหาบมิได้เลยฯ แลว่ายังมีหญ้าสิ่ง ๑ ชื่อว่าฉพิการทัตรเป็นขึ้นในแผ่นดินนั้น แลเห็นเขียวงามต่ำงามนักดังแววนกยูงแลบละเอียดอ่อนดังฟูกดังสำลีแลสูงขึ้นพ้นดิน ๔ นิ้ว แลน้ำนั้นไสเย็นสะอาดกินหวานเซาะ ท่าน้ำนั้นดูงามเทียรย่อมเงินทองแลแก้วสัตตพิธรัตนะไหลเรียงเพียงเสมอฝั่งกากินบมิพักก้ม คนแห่งนั้นลางคนสูงค่าคนในบุรพวิเทหทวีป แลคนในอุตรากุรุทวีปนั้นเขานุ่งผ้าขาว อันเขานึกเอาแต่ต้นกัลปพฤกษ์นั้น แลต้นกัลปพฤกษ์นั้นโดยสูงได้ ๑๐ วา ๒ ศอก โดยกว้างได้ ๑๐ วา คนแห่งนั้นเขาบห่อนรู้ฆ่าสิงสัตว์อันรู้ติงแลเขาบห่อนรู้กินเนื้อฯ ผิว่าคนแห่งนั้นเขาตายไส้เขาบมิพักเอาศพนั้นไปเสียเลย แลยังมีนกสิ่งหนึ่งชื่อว่านกอินทรี ๆ นั้นหากมาคาบเอาไปเสียกลางป่าแลฯ ฝูงคนทั้งหลายคือว่าผู้หญิงผู้ชายในแผ่นดินนั้น เมื่อเขาจะรักกันเป็นผัวเมียนั้นเขาบมิพักเสียสิ่งอันใดอันหนึ่งเลย ใจเขารักใคร่กันเขาก็อยู่ด้วยกันเองแล ครั้นว่เขาเห็นกันเมื่อใดใจเขาผู้กพันกันเข้า หากโสดตาแลหากันเข้าก็รักกันแลฯ อันนี้ฎีกาแต่อยู่หั้นต่อเท่าเถิงไฟไหม้กัลป ๔ อันในนี้รูปกระต่ายอันอยู่ในพระจันทร์แลโยคาทิโพธิสัตว์เป็นนกขุ้มอยู่ในรัง ไฟบมิไหม้ได้ต่อเท่าสิ้นกัลป ๑ ฯ อันว่าคำในที่นี้เรื่องโฑธิสัตว์เมื่อท่านมลวงคาไปมุงสลิงเจ้าไท แลฝนบมิได้รั่วไหลในเรือนอันลางคาออกนั้น ฝนบมิได้รั่วเลยตราบเท่าสิ้นกัลป ๑ แลฯ ไม้อ้ออันอยู่รอบริมสระพังเมื่อโพธิสัตว์เป็นพระญาแก่วานรแลมีบริวารได้ ๘ หมื่น แลท่านอธิษฐานว่าให้ไม้อ้อนั้นกลวงรอดอยู่ต่อเท่าสิ้นกัลป ๑ แลฯ คนแห่งนั้นแต่บ่าวแต่สาวตราบเท่าเถิงแก่ เถิงเฒ่าเขาเสพเมถุนก้วยกัน ๔ คาบไส้ ลางคาบเล่าคนนั้นแต่หนุ่มเถิงเฒ่าบมิได้เสพเมถุนเลยสักคาบ ฯ คนผู้นั้นเขากินข้าวเขาบห่อนรู้ทำนา เขาเทียรย่อมเอาข้าวสารอันเป็นเองนั้นมากิน แลข้าวสารนั้นหากขาวอยู่ บมิพักตากพักตำ พักฝัด พักซ้อมเลย หากเป็นข้าวสารมาเองแลฯ ยังมีลูกไม้สิ่ง ๑ ชื่อว่า คุทิ เครื่องลูกไม้นั้นเกิดมาเป็นหม้อข้าวของเขา เขาเอาน้ำใส่ในข้าวแล้วเขาตั้งขึ้นเหนือศิลา อันชื่อว่าโชติปราสาท ๆ นั้นก็เป็นไฟลุกขึ้นเองแล ๆ ครั้งว่าเข้านั้นสำเร็จดีแล้วไฟนั้นก็ดับไปเองแลฯ เขาก็คดเอาข้าวนั้นมากิน ข้าวนั้นก็หวานนักแลฯ อันว่าชาวอุตตรกุรุทวีปนั้นเขาบห่อนรู้ทำเรือนอยู่เลย ยังมีไม้สิ่ง ๑ เทียรย่อมเป็นทองชื่อว่าแมลชุสเป็นดังเรือน แลไม้นั้นเป็นเหย้าเป็นเรือนของเขาทั้งหลายอันอยู่ในอุตตรกุรุทวีปนั้นแลฯ สมเด็จพระเจ้าบัณฑูรเทศนาดังนี้ว่า พระพุทธเจ้าก็ดีแลพระปัจเจกโพธิเจ้าก็ดี แลพระอรรคสาวกเจ้าก็ดี แลพระอรหันตาขีณาสพเจ้าก็ดี แลโพธิสัตว์อันจะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าก็ดีแล พระญาจักรพรรดิราชก็ดีอันว่าผู้มีบุญทั้งหลายดังกล่าวมานี้ไส้ ท่านบห่อนรู้ไปเกิดในแผ่นดิน ๓ อันนั้นเลย ท่านย่อมมาเกิดในแผ่นดินชมพูทวีปอันเราอยู่นี้แลฯ คนอันเกิดในแผ่นดินชมพูทวีปนี้เขาบป่อนไปเกิดในแผ่นดิน ๓ อันนั้นเลยฯ ฝูงคนอันอยู่ในแผ่นดินใหญ่ใหญ่ ๓ อันนั้นก็ดี และคนอันอยู่ในแผ่นดินเล็กเล็กทั้ง ๒ พันนั้นก็ดีผิแลว่าเมื่อใดมีพระญาจักรพรรดิราชไส้ คนทั้งหลายฝูงนัน้นย่อมมาเฝ้ามาแหนท่านนั้นดังคนทั้งหลายอันอยู่ในแผ่นดินเรานี้แลฯ เทียรย่อมไหว้นบคำรพยำเยงพระญาจักรพรรดิราชเจ้านั้นแลฯ ท่านผู้เป็นพระญาจักรพรรดิราชนั้นท่านมีศักดิ์มียศดังนี้แลจะกล่าวแลลน้อยฯ แต่พอให้รู้ไส้คนผ้ใดที่ได้กระทำบุญแต่ก่อนคือว่าได้ปฏิบัติบูชาแก่พระศรีรัตนตรัยแลรู้จักคุณพระพุทธเจ้าพระธรรมเจ้าพระสงฆ์เจ้าแลให้ทานรักษาศีลเมตตาภาวตา ครั้นตายก็เอาตนไปเกิดในสวรรค์ ลางคาบเล่าได้ไปเกิดเป็นท้าวเป็ฯพระญาผู้ใหญ่ แลมีศักดิ์มียศบริวารเป็นอเนกอนันต์ไส้ ได้ปราบทั่วทั้งจักรวาลแลฯ แม้ท่านว่ากล่าวถ้อยคำสิ่งใดก็ดีแล บังคับบัญชาสิงใดก็ดีเทียรย่อมชอบด้วยทรงธรรมทุกประการแลฯ ท่านนั้นเป็นพระญาทรงพระนามชื่อว่าพระญาจักรพรรดิราชแลฯ พระญามีบุญดังนั้นใจฉมักใคร่ฟังธรรมเทศนานัก ย่อมฟังธรรมเทศนาแต่สำนักนิ์สมษพราหมณาจารย์ แลนักปราชผู้รู้ธรรมฯ แลพระญานั้นธทรงปัญจศีลทุกวารบมิได้ขาดในวันอุโบสถศีลไส้ย่อมทรงอัฏฐศีลทุกวันอุโบสถมิขาดฯ ในวันเพ็งบูรณไส้ ครั้นเมื่อเช้าธย่อมให้แต่ธนทรัพย์สรรพเหตุอันอเนกนั้นแล้ว ธให้ขนเอามากองไว้ที่หน้าพระลานไชย แลธแจกให้เป็นทานแก่คนอันเที่ยวมาขอ ครั้นว่าธแจกทานสิ้นแล้วธจึงชำระสระพระเกษแลสรงน้ำด้วยกัลออมทองคำอันอบไปด้วยเครื่องหอม ได้ละพันกัลออมแล้ว ธจึงทรงผ้าขาวอันเนื้อละเอียดนั้นแล้ว ธจึงเสวยโภชนาหารอันมีรสอันดีดุจมีในสวรรค์นั้นฯ แล้วธจึงเอาผ้าขาวอันเนื้อละเอียดอันชื่อว่าผ้าสุกุลพัตร์มาห่มแลพาดเหนือจะงอยบ่าแล้วจึงสมาทานเอาศีล ๘ อัน แล้วธจึงเสด็จลงไปนั่งกลางแผ่นดินทองอันประดับนิ์ด้วยแก้วแลรุ่งเรืองงามดังแสงพระอาทิตย์แล กอประด้วยฟูกเมาะเบาะแพรแลหมอนทอง สำหรับย่อมประดับนิ์ด้วยแก้วสั้ตตพิธรัตนะแท่นทองนั้นอยู่ในปราสาทแก้วอันรุ่งเรืองงามนักหนา แลพระญานั้นธรำพึงเถิงทานอันธให้นั้นแลรำพึงเถิงศีลอันธรักษาอยู่นั้น แลธรำพึงเถิงธรรมอันทรงไว้นั้นธก็เมตตาภาวนาแล ด้วยอำนาจบุญสมภารนั้นธจึงได้ปราบทั่วทั้งจักรวาลดังนั้นแล ฯ
เมื่อครั้งนั้นพระญามหาจักรพรรดิราชเทศนาธรรมอันชื่อว่าไชยวาศ สั่งสอนท้าวพระญาทั้งหลายอันมีฝ่ายตระวันออกในแผ่นดินอันชื่อว่าบุพพวิเทหะนั้นแล้วจึง ธจึงเลี้ยงลาอามสายท้าวพระญาทั้งหลาย อีกลูกเจ้าเหง้าขุนทมุนนายไพร่ฟ้าทั้งหลาย ด้วยช้าวแลน้ำโภชนาหารทั้งปวงอันมีโอชารสอันมีสำเร็จฯ จึงกงจักรแก้วนั้นก็เหาะขึ้นไปบนอากาศแล้วก็นำพระญาจักรพรรดิราชแลรี้พลทั้งหลายไปโดยอากาศไปสู่ทิศตระวันออก แล้วจึงบ่ายหน้าไปยังกำแพงจักรวาลฝ่ายบุพทิศแล้วจึงลุเถิงฝั่งมหาสมุทรอันมีฝ่ายบุพทิศ จึงกงจักรแก้วนั้นลงสู่น้ำมหาสมุทร ๆ อันเร่งตีฟองนองระลอกนั้นนัก แลน้ำมหาสมุทรนั้นกลัวกงจักรแก้ว แลมิอาจตีหองนองระลอกขึ้นมาได้เลยฯ ผิจะอุประมาดุจพระญานาคราชอันเลิกพังพานอยู่แล้วแลถูกไอยาแลกลัวไอยานั้นแลก้มหัวซบลงเร้นอยู่นั้นแลมีดังฤๅคือมหาสมุทรกลัวบุญแห่งกงจักรแก้ว นั้นแลบมิอาจตีฟองนองระลอกขึ้นได้เลนฯ เมื่อกงจักรแก้วนั้นไปสู่สมุทรอันนั้น แลน้ำมหาสมุทรนั้น้อยหลีกแยกแตกเป็นคลอดไปโดยกว้างได้โยชน์ ๑ ผิจะนับโดวาได้ ๘๐๐๐ วาแล แลเห็นน้ำสองข้างนั้นงามดังกำแพงแก้วไพรฑูริย์ฯ จึงกงจักรแก้วนั้นลงไปเถิงพื้นพระสมุทร แลน้ำนั้นก็หลีกกงจักรแก้วแปลงพื้นสมุทรด้วยวาไส้ได้ ๘๐๐๐ วาแล อันว่าแก้วสัตตพิธรัตนะ ๗ ประการอันมีในพื้นพระสมุทรนั้นแล แก้วสัตตพิธรัตนะอันประเสริฐดีต่าง ๆ ก็มาเองแล อยู่ซึ่งทางที่พระญาจักรพรรดิราชเสด็จไปด้วยแลรี้พลทั้งหลายนั้น ด้วยเดชอำนาจแห่งกงจักรแก้วนั้นแล โดยหนทางแต่ฝั่งมหาสมุทรข้างนี้ไปบนเถิงฝั่งข้างโพ้นแลตรลอดไปเถิงพื้นกำแพงจักรวาลนั้นแลฯ กล่าวเถิงเมืองนั้นฝูงคนทั้งหลายนั้นไปโดยเสด็จวันนั้น ต่างคนต่างแลเห็นแก้วแหวนเงินทองอันดี ต่างคนต่างก็เลือกเอาอันดีอันพึงใจตน ลางคนกวาดเอาใส่พกใส่ห่อผ้า แลคนทั้งหลายนั้นย่อมชื่นชมยินดีทั่วทุกคน ร้องชมว่าแต่ก่อนเรามาเราบห่อนได้พบได้เห็น แลบัดนี้เรามาได้พบได้เห็นดังนี้เพราะบุญสมภารเจ้านายเราแลฯ จึงกงจักรแก้วนั้นก็นำไปเถิงสมุทร ฝั่งสมุทรข้างโพ้นจรดตีนเขากำแพงจักรวาลฝ่ายบุรพทิศ พระญาจักรพรรดิราชนั้นจึงจับเอาสุวรรณภิงคาร อันเต็มไปด้วยน้ำอันหอมนั้นมาแล้วธจึงหลั่งน้ำลงแล้วธก็ว่าดังนี้ แดนนี้เป็นแดนเมืองแห่งกู แลเป็นอาณาราฐแห่งกูฝ่ายหนตระวันออกแกฯ ครั้นธว่าเท่านั้นแล้วพระญามหาจักรพรรดิราชเจ้านั้นก็กลับคืนมาโดยหนทางเก่านั้นเล่าแลฯ จึงลูกเจ้าเหง้าขุนแลไพร่ฟ้าข้าไทยทั้งหลายบางคนมาก่อนบางคนมาหลัง พระญามหาจักรพรรดิราชนั้นแลฯ ส่วนว่ากงจัพรแก้วนั้นจึงค่อยมาภายหลังคนทั้งหลาย เพราะว่ามิให้น้ำในสมุทรนั้นกลัดหนทางคนทั้งหลายเสียฯ ส่วนว่าน้ำพระสมุทรนั้นมีใจรักกงจักรแก้วนักหนามิใคร่จะให้ไปจากเลย ผิจะอุปมาดุจนางผู้หนึ่งแลมีรูปงามแลได้ผัวอันพึงใจ แลผัวนั้นไปจากตนช้านานแล้วแลคืนมาหาตนเล่าแล้วสิว่าผัวนั้นจะไปจากตนอีกเล่า แลว่าใจตนรักผัวตนมิใคร่ให้ไปจากเลย แลกล่าวถ้อยคำเล้าโลม ผัวตนเพราะมิให้ใคร่ไปจากตนนั้นแลมีดังฤๅ คือว่าน้ำมหาสมุทรมิใคร่ให้กงจักรแก้วนั้นไปจากตนแลมีอุปมาดุจนั้นแล แลน้ำพระมหาสมุทรมีใจรักนักอดทนมิได้จึงตามมาส่งกงจักรแก้วนั้ น้ำนั้นคอยกลบหนทางตามมา แต่ว่าน้ำนั้นมิได้ถูกต้องริมกงจักรแก้วนั้นฯ แก้วแหวนเงินทองทั้งหลายก็มีใจรักกงจักรแก้วนั้นนักหนา จึงชวนกันมาส่งกงจักรแก้วเถิงฝั่งสมุทรข้าง ๑ แลฯ ครั้นว่ากงจักรแก้วขึ้นจากพระมหาสมุทร ๆ นั้นก็เต็มมาดังเก่าแลฯ เมื่อนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชบพิตร ธปราบแผ่นดิเมืองเบื้องตระวันออกอันชื่อว่าบุรพวิเทหะ แลเอาน้ำสมุทรแลตีนเขากำแพงจักรวาลเป็นแดนเมืองฝ่ายข้างตระวันออกแลฯ แลจะใคร่มาปราบแผ่นดินชมพูทวีปอันเราอยู่นี้แลมีพระสมุทรหากเป็นแดนนั้น ธก็เสด็จมาโดยทางอากาศเวหาเล่าแลฯ เมื่อนั้นจึงกงจักรแก้วนั้นหากชักชวนพระองค์เสด็จไปโดยอัมพรากาศ โดยนิยมดังกล่าวมาแต่ก่อนนั้นดุจเดียวแล แล้วจึงมาในแผ่นดินอันเราอยู่นี้แลฯ อันว่าท้าวพระญาทั้งหลายซึ่งอยู่ในแผ่นดินชมพูทวีปนี้ ต่างองค์ก็ต่างมาถวายเครื่องบรรณาการแลไหว้นำคำรพยำเยงแต่บรมมหาจักรพรรดิราช แลมหาจักรพรรดิราชนั้นตรัสสั่งสอนด้วยบุญแลธรรม อันชื่อว่าไชยวาทาสาสน์แล้ว ธก็เสด็จไปยังพระสมุทร แลน้ำในพระสมุทรก็หลีกออกสองข้างให้เป็นทางดังกล่าวมาแล้วแต่ก่อนนั้นฯ อันว่ารี้พลทั้งหลายก็เก็บเอาแก้วแหวนในท้องสมุทรตามใจ เขาปรารถนาเก็บเอาเต็มหอบเต็มพกแล้ว จึงนำไปเถิงกำแพงจักรวาลเองทักษิณแลฯ จึงพระญามหาจักรพรรดิราชจึงเอาน้ำในสุวรรณภิงคารหลั่งลงแล้วดังนี้ แต่นี้เป็นแดนเมืองเป็นอาณาราฐแห่งกูเบื้องทักษิณแล ครั้นว่าแล้วจึงคืนมาโดยหนทางเก่าอันเดินในสมุทรนั้น ครั้นคืนมาน้ำสมุทรก็กลบรอบเต็มงามดังเก่าเล่าแลฯ เมื่อนั้นพระญามหาจักรพรรดิราชนัน้น ธ ปราบแผ่นดินเบื้องตระวันออกแล้ว ๆ มาปราบแผ่นดินอันเราอยู่นี้ กว้างได้ ๑๐๐๐๐ โยชน์ อันชื่อว่าชมพูทวีปแล้วฯ แล้วธ จักใคร่ไปปราบแผ่นดินเบื้องข้างตระวันตก อันกว้างได้ ๑๐๐๐ โยชน์ ชื่อว่าอมรโคยานี อันมีน้ำสมุทรเป็นแดน จึงจากน้ำสมุทรไปหนปัจฉิมทิศ ธ จึงปราบแผ่นดินนั้น แล้ว ธ ก็สั่งสอนท้าวพระญาทั้งหลายนั้นโดยดังกล่าวก่อนนั้นแล้ว ๆ ก็ข้ามสมุทรไปเถิงตีนเขากำแพงจักรวาลฝ่ายข้างปัจฉิมทิศ แล้ว ธ จึงเอาน้ำในคนที่ทองหลั่งลงแล้วฯ ว่าแต่นี้เป็นแดนเมืองกู เป็นอาณาราฐกูดแล แล้ว ธ จึงคืนมาแลฯ แล้ว ธ จะใคร่ไปปราบแผ่นดินเมืองอุตตรกุรุทวีปอันกว้างได้ ๘๐๐๐ โยชน์ อันชื่อว่าอุตตรกุรุทวีปนั้นแล ท้าวพระญามาไหว้นบ ธ แล้ว ธ จึงสั่งสอนท้าวพระญาทั้งหลายเสร็แล้ว ๆ ข้ามน้ำสมุทรไป ๆ เถิงตีนเขากำแพงจักรวาลเบื้องอุตรทิศนั้นแล้ว จึงเอาน้ำในคนทีทองมาหลั่งลงแล ว่าแต่นี้เป็นแดนเมืองกูนี้เป็นอาณาราฐแห่งกูแลฯ แล้วจึงคืนมาโดยทางในกลางสมุทรดังเก่า ครั้น ธ มาแล้วน้ำสมุทรคอยกลบตามมาเต็มงามดังเก่าแลฯ ฝูงท้าวพระญาทั้งหลายอันมีในแผ่นดินเล็กน้อย ๒ พันนั้นเล่า เขาหากมาเองออกหาเอง แลมิพักไปปราบเขาเลยฯ แลกล่าวเถิงแผ่นดิน ๒๐๐๐ นั้นเพราะว่าแผ่นดิน ๒๐๐๐ นั้นเป็นบริวาร แผ่นดินใหญ่ ๔ อันนั้นแลฯ แผ่นดินใหญ่อันหนึ่งแลมีบริวารได้ ๕๐๐ แผ่นดินแล แลสัพพทรัพย์อันมีในแผ่นดินทั้งหลายอันมีในสัพพจักรวาลแล มีอยู่ในน้ำสมุทรทั้ง ๔ อันฯ สมุทรแต่ล้วน ๆ รัศมีพระอาทิตย์ พระจันทร์จะมารส่อนไปย่อมเป็นสมบัติแห่งจักรพรรดิราชแล เมื่อดูมหิมาเพียงดังกงจักรเทียมพระอินทร์ผู้เป็นเจ้าไตรตรึงษาสวรรค์นั้นแลฯ เมื่อพระญาจักรพรรดิราช ธ ปราบทวีปจักรวาล แล้ว ธ ก็คำนึงในพระหทัยแลมีพระทัยจะใคร่แลดูสทบัต้อันมหิมาของพระองค์ทั้งมวลฯ ครั้งว่า ธ คำนึงดังนั้น อัน่ากงจักรแก้วนั้นดุจดังว่ารู้พระทัยท่าน จึงกงจักรแก้วนั้นก็ผันเหาะพุ่งขึ้นไปเบื้องบนอากาศ แลมีรัศมีดังพระจันทร์พุ่งขึ้นแวดเขาพระสิเนรุราชนั้น ดุจดังพระอาทิตย์สองอันเป็นใต้แผ่นดินขึ้นทั้งมวลนี้เงพุ่งขึ้นไปบนแล ฝูงคนทั้งหลายเห็นเลื่อมใสดูรุ่งเรืองงาม ชนทั้งปวงมุงว่าพระอาทิตย์เป็นสองดวงแลฯ เมื่อพระมหาจักรพรรดิราชเจ้า แลรี้พลทั้งหลายอันมาด้วยพระองค์ดังกล่าวมานั้น ก็ขึ้นไปเถิงบนอากาศด้วยอำนาจแห่งกงจักรแก้วนั้น เขาก็แลเห็นทั่วทุกแห่งทุกตำบลแลเห็นเขาพระสิเนรุราชนั้นอยู่ท่ามกลางแลเขาเห็นแผ่นดินอันใหญ่ แลกว้างอยู่รอบเขาพระสุเมรุทั้ง ๔ ทิศแล้วก็แลเห็นแผ่นดินน้อย ๒๐๐๐ ซึ่งเป็นบริวารแห่งแผ่นดินใหญ่ ๔ ทิศนั้นแล ก็แลเห็นน้ำพระมหาสมุทรทั้ง ๔ อันอยู่ขั้นทุกแดน เห็นแม่น้ำใหญ่แลแม่น้ำน้อยทั้งหลายเห็นยอดภูเขาใหญ่ทุกอัน เห็นป่าใหญ่ทั้ง ๔ แผ่นดินนั้นแล้ว แลเห็นเมืองน้อยแลเมืองใหญ่เมืองรามแลถิ่นถามคามชนบทอันมิรู้จักชื่อนามนั้นจะนับบมิถ้วนได้เลยฯ อนึ่งเล่าเขาเห็นห้วยหนองคลองน้ำบึคงใหญ่บางน้อยท่อธารละหานสระอันมีประทุมกุสุมทุกสิ่งทุกพรรณ มีดอกแลเหง้าขึ้นแลดูตระการนักหนาแลฯ แลกงจักรแล้วนั้นให้พระญามหาจักรพรรดิราชเจ้าทอดพระเนตรแลดูถ้วนทุกสิ่งทุกพรรณแล้วไป แลกงจักรแก้วนั้นจึงนำลงสู่แผ่นดินอันเราอยู่นี้แลฯ ลงมาสู่เมืองที่พระมหาจักรพรรดิราช ธ เสด็จอยู่นั้นแลฯ เมื่อกงจักรแก้วนั้นมาเถิงประตูเรือนหลวงแห่งพระญามหาจักรพรรดิราชนั้น ก็อยู่เหนือกลางอากาศนั้นบมิต่ำบมิสูงแต่พอประมาณสมควรดีนั้น ที่ฝูงคนทั้งหลายเอาข้าวตอดแลดอกไม้มาไหว้นบคำรพบูชา เมื่อพระญามหาจักรพรรดิราช ธ มาเถิงเรือนหลวงแล้ว ธ จึงตรัสสั่งให้ปลูกมณฑปฝาแก้วอันหนึ่งที่ดีแล้ว แลมีแก้ว ๘ ประการเป็นเครื่องประดับนิ์มณฑปฝาแก้วนั้น แลมีประตูคูหานั้นแล้วด้วยแก้วแลทองรุ่งเรืองงามนักหนา แล้วให้กงจักรแก้วนั้นอยู่ที่นั้น แลให้คนทั้งหลายเอาข้าวตอดดอกไม้มาไหว้นบคำรพบูชากงจักรแก้วนั้นจึงมาอยู่ในมณฑปฝแก้วนั้นฯ อันว่าในปรางค์ปราสาทที่พระญามหาจักรพรรดิราชเาอยู่นั้ ธ มิพักตามประทีปแลชวาลาลาเลย หากสว่างอยู่ด้วยรัศมีแห่งกงจักรแก้วนั้นส่องไปให้รุ่งเรืองทั่วทุกแห่ง แม้นว่ากลางคืนก็ดีเหมือนดังกลางวันแล ผู้ใดแลมีใจจะใคร่ให้มืดไส้ก็มืดไปโดยใจเขาผู้นั้นแลฯ กล่าวเถิงกงจักรแก้วแล้วเท่านี้แลฯ
เมื่อนั้นฝูงลูกเจ้าเหง้าขุนทมุนทนาย จึงให้ปลูกโรงช้างอัน ๑ งามนักหนา หลังคาแลเสานั้นเทียรย่อมแลทองกับด้วยแก้ว ๗ ประการ แล้วจึงทากระแจะจวงจันทน์อันหอมไวั้ในกลางโรงช้างนั้น จึงปูผ้าหลายชั้นเหมือนแท่นทองอันมีในโรงช้างนั้น เบื้องบนดาดด้วยผ้าพิดานมีแก้ว ๕ เป็นคาบดูเรืองทุกแห่ง แล้วจึงใส่บนชัพพนิการย่อมแก้วแกว้งไปแกว่งมางามนักหนาด้วยแก้ว ๗ ประการไส้ แก้วเขาฤๅดูงามดังดาวในเมืองฟ้าเหนือผ้าแลเสื้อนั้น หอมอบแลรมด้วยกระแจะจวงจันทน์ท่านเอาข้าวตอดดอกไม้อันหอมทุกสิ่งมาลาดลงเหนือ ๆ นั้ ท่านกรองเป็นสร้อยผูกย้อยเป็นพู่พวงทั่วกลางโรงช้าง ท่านแสร้งแต่งล้วนแต่ด้วยแก้ว ๗ ประการ แลมีรัศมีเขีวขชาวแดงเหลืองดูรุ่งดูเลื่อมใสในโรงช้างนั้น ท่านใส่ผ้าเขียวผ้าขาวผ้าดำผ้าแดงผ้าเหลืองเรืองด้วยแก้ว ๗ ประการ ยิ่งดูยิ่งเรืองดังวิมานเทวดาในเมืองฟ้าฯ ครั้นเขาแต่งโรงช้างนั้นแล้วเขาจึงทูลบอกแด่พระญามหาจักรพรรดิราชว่า ตูข้าท่านแต่งโรงช้างต้นผู้เป็นเจ้าท่านแล้วสัพพอังเชิญผู้เป็นเจ้าท่านเถิด คราทีนั้นสมเด็จพระญามหาจักรพรรดิราชนั้น ธ จึงอวยทานรักษาศีลสิ้น ๗ วัน แลคำนึงเถิงบูญ อันกระทำคำนึง เถิงธรรมอัน ธ รู้ดังกล่าวมาแต่ก่อนนั้น แล้ว ธ จึงคำนึงเถิงช้างแก้วอันตัวดีฯ ด้วยเดชบุญพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นแล ฯ อันว่าฝูงช้างแก้วทั้งหลายนั้นอันชื่อฉัททันต์ก็ดี แลฝูงช้างแก้วทั้งหลายอันชื่ออุโบสถตระกูลก็ดี เทียมย่อมตัวใหญ่ตัวสารอันงามขาวดังเดือนเมื่อวันเพ็งบูรณ์นั้น แลมีตีนแดงงามดังตระวันแรกออกแล มีลักษณะเท้า ๙ แห่งดูงามดังแสร้งปั้น มีวงวแดงงามดังดอกบัวแดงอาจไปได้โดยอากาศดังอรหันต์ผู้มีอำนาจแลไปโดยอากาศเร็วนักช้างนั้นสูงงามดังเขาเงิน แลพิษณูกรรมเอาชาติหิงคลาให้งามอันมาก อันดีอันมีลักษณะดังนั้นด้วยบุญพระญามหาจักรพรรดิราช ช้างนั้นหากมาเองโดยอากาศดังราชหงส์ทอง อันชื่อธรรมราช แลบินมายังเมืองพระญามหาจักรพรรดิราชนั้น ช้าวแก้วนั้นจึงมาเถิงเมืองพระญามหาจักรพรรดิราชนั้น จึงเข้าไปในโรงทองอันทองอันท่านแต่งไว้ถ้าแลงามนันกหนา จึงมาอยู่เหนือฟูกผ้าอันท่านลาดปูไว้แล้ว ก็ยยืนอยู่เหนือแท่นทองนั้นแล ช้างนั้นรู้เชื่องแลชำนิดีนักหนา ดังช้างเก่าอันสำเรียกเสียกสาร ช้าหึงนานแล้ว แลช้างนี้ดีนักหนาผิมาแต่ฉัททันตตระกูลก็ดี ผิมาแก่อุโบสถตระกูลก็ดี เทียรย่อมตัวดียิ่งกว่าช้างทั้งหลายจึงมรแลฯ คราทีนั้นเขาจึงขึ้นไปไหว้ทูลบอกแต่พระญาจักรพรรดิราชเจ้าแลว่าช้างเผือกผู้ตัวงามมาอยู่ในโรงแล้ว ขออังเชิญท่านผู้เป็นเจ้าเสด็จไปชมช้างเผือกผู้เถิดฯ คราทีนั้นจึงพระมหาจักรพรรดิราช ท่านนั้นจึงเสด็จไปยัโรงแลทอดพระเนตรดูช้าง ๆ นั้นงามนักหนา ฯ พระญา ธ มีใจรักแลยินดีนักหนา ฯ พระองค์จึงยื่นพระหัตถ์ไปลูกคลำช้างแก้ว ๆ นั้นจึงค่อยชะม้อยหัวแล้วก้อมลงเอางาเท้าดินไว้สำคัญว่า ไหว้พระมหาจักรพรรดิราชเจ้า ๆ นั้ ธมีใจจะใคร่ขี่ช้างนั้แลฝูงขุนนางทั้งหลายรู้พระทัยพระญามหาจักรพรรดิราชนั้น เขาจึงตบแต่งเครื่องประดับนิ์ช้างนั้นให้ทั่วสารพางค์ด้วยสิ่งทั้งหลาย เป็นต้นว่าเงินแลทองแก้วแหวนทั้งหลายแลผ้าอันมีค่าอันควร ผิจะคณนาเงินทืองของแก้วทั้งนั้นบมิได้เลย ดูรุ่งเรืองงามดังดาวในเมืองฟ้าฯ พระญามหาจักรพรรดิราชนั้น ธจึงขึ้นขี่ช้างและธมีพระทัยจะใคร่ไปโดยอากาศ ช้างนั้นจึงเหาะขึ้นไปบนอากาศดังราชหงส์ทองอันเป็นพระญาแก่หงส์ทั้งหลายพระญาหงส์นั้นชื่อพยะญาธรรมราชแลฯ จึงฝูงรี้พลทั้งหลายไปในอากาศด้วยเมื่อไปด้วยกงจักรแก้วนั้นแลฯ องค์พระญาจักรพรรดิราชนั้นงามนัก ดังสมเด็จพระอินทราเมื่อธทรงช้างไอยราวรรณนั้น แลมีหมู่เทพยดาทั้งหลายล้อมเป็นบริวารฯ อันว่าพระญาจักรพรรดิราชเจ้ากดีแลฝูงรี้พลทั้งหลายก็ดี ก็ไปเวียนเขาพระสุเมรุราชแล้วจึงไปเลียบกำแพงจักรวาล แล้วจึงเสด็จกลับคืนมาสู่พระนครที่พระองค์เสด็จอยู่เร็ว แต่เช้าก่อนงายไปแล้วกลับมากินข้าวยังมิทันสายเลยแล หัตถีรัตนวัณณนานิฏ์ฐิตา ฯ
ตโต ถัดนั้น จึงลูกเจ้าเหง้าขุนทมุนทนายเสวกทั้งหลายจึงแต่งโรงม้าอันงามหนักหนา แลประดับนิ์สัพพทกประการดังโรงช้างแก้วอันกล่าวแต่ก่อนนั้นแลฯ ครั้นว่าเขาแห่งสัพพแล้ว เขาจึงไปไหว้ทูลบอกแต่พระญามหาจักรพรรดิราชเจ้าว่า ตูข้าเราทั้งหลายแต่งโรงม้าต้นสำเร็จแล้ว บัดนี้ขอเชิญพระองค์เจ้าเสด็จคำนึงเถิงม้าแก้วอันจะมาด้วยบุญของพระองค์เถิดฯ กาลนั้นจึงพระญาจักรพรรดิราชนั้นธจึงอวยทานแล้วรักษาศีล ๘ ประการแล้วธจึงคำนึงเถิงบุญแลกรรมอันกระทำแลรู้แล้ว จึงคำนึงเถิงม้าแก้วทั้งหลายอันตัวดีตัวประเสริฐกว่าม้าทั้งหลายฯ ครั้นว่าพระองค์ธคำนึงเถิงดังนั้นไส้บัดใจจึงม้าแก้วตัวประเสริฐตัวดีตัวเร็วอันชื่อว่าม้าพลาหกอัสวราชตัวดีกว่าม้าทุกตัว อันเกิดในตระกูลสินธพชาติอันงามดีดังสีเมฆแลหมอกขาว แลมีรุ่งเรืองเขียวดังสายฟ้าแมลบรอบไส้แกมีกีบเท้าทั้ง ๔ แลหน้าผากแดงดังน้ำครั่ง ดูตัวนั้นพิลึกกำยำดังนายช่างหากแสร้งปั้น ดูสันหลังนั้นขาวงามเกลี้ยงเรืองงามดังเดือนแลดูขนหัวนั้นดำเหลื้อมงามดังดำกา เรืองงามดังแก้วอินทนิล แลดูเสฐดำอ่อนชื่นบานดังหญ้าปล้องแลท่านแสร้งเอามาเรียงไว้ดูงามนักหนาฯ แลม้านั้นอาจไปโดยอากาศดุจดังฝูงฤๅษีสิทธิ์ผู้มีศักดิ์แลไปโดยอากาศนั้นแลฯ ด้วยบุญญานุภาพพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นหากให้ชักนำม้าแก้วนั้น มาโดยอากาศแลเห็นเรืองดังหมอกเมฆขาวแลรุ้งเขียวนั้นมาอยู่ในโรงทองที่ท่านกระทำด้วยแก้ว ๗ ประการนั้นเองแลฯ จึงลูกเจ้าเหง้าขุนทั้งหลายเขาจึงมาไหว้ทูลบอกแต่พระญามหาจักรพรรดิราชเจ้าให้ธรู้ ครั้นว่าธรู้แล้วธจึงสั่งให้ประดับประดาม้าแก้วตัวประเสริฐนั้นด้วยเครื่องประดับทั้งหลาย มีอาทิคือใส่กระดึง แลพรวนทองเครื่องสนิมอาภรณ์ช้องหางผ่านหน้าสำหรับประดับอานแก้วแววสะอาดพาดเหนือหลังพระญาพาชีเท้าทั้ง ๔ มีด้วยพรวนทองสอดหูไส้ใส่ปลอกแก้ว แลจึงใส่สร้อยทองในคอเรืองงามดังแสงไฟฟ้าเบื้องหน้าเฉลิมตาบทองคำ แลว่าท่านทำเครื่องประดับทั้ง ๔ กีบนั้น แลเครื่องในตัวม้านั้น เทียรย่อมแต่ล้วนทองแลแก้ว ๗ ประการ ดูเรืองงามยิ่งกว่าเดือนเมื่อเพ็งบูรณ์นั้นแลฯ ครั้นว่าเขาประดับนิ์ม้าต้นนั้นแล้วจึงเอาไปถวาย แก่พระญามหาจักรพรรดิราช ๆ ธจึงึ้นขี่ม้สนั้น ๆ จึงพาพระองค์เหาะไปโดยอากาศกับด้วยรี้พลทั้งหลายฯ ธก็เสด็จไปเลียบกำแพงจักรวาลดุจช้างแก้วแลกงจักรแก้วนั้นแลฯ ครั้นว่าธเลียบแล้วธจึงกลับคืนมาเถิงที่อยู่ธนั้น พอทันกินข้าวงายบมิทันสายเลยแลฯ อัสวรัตนวัณณนานิฎ์ฐิตาฯ
ดัพนั้นจึงลูกเจ้าเหง้าขุนแลโหราจารย์ทั้งหลาย เขาจึงกราบทูลแด่พระญามหาจักรพรรดิราชว่าฉันนี้ ว่าเครื่องสำหรับบุญของพระองค์เจ้าไป่มีถ้วนตก่อน แลขอเชิญพระองค์เจ้าคำนึงเถิงแก้วอันเกิดสำหรับบุญของพระองค์เจ้าก่อนเถิดฯ เมื่อแลเขากราบทูลแก่พระองค์ดังนั้นกาลนั้นจึงพระญามหาจักรพรรดิราชนั้น ธจึงอวยทานแลรักษาศีล ๘ ประการ ธจึงรำพึงเถิงบุญอันกระทำแลธรรมอันรู้ แลคำนึงเถิงแก้วอันเป็นของแห่งพระญามหาจักรพรรดิราชเจ้าแต่ก่อนนั้นแลฯ จะกล่าวเถิงแก้วดวง ๑ โดยยาวได้ ๔ ศอกโดยใหญ่เท่าดุมเกวียนใหญ่ สองหัวแก้วนั้นมีดอกบัวทองสอดดอกออกแห่ง มีสายมุกดามากหลายติดในกลางมุกดาแลดอกบัวทองนั้นโสดดูขาวใสงามตั้งอยู่ในกลีบดอกบัวทองนั้นแลฯ แก้วอันเป็นพระญาแก่แก้วทั้งหลายได้ ๘๔,๐๐๐ จำพวกแลแก้วทั้งหลายฝูงนั้น ลางจำพวกเท่าลูกฟัก ลางจำพวกเท่าลูกตาล ลางจำพวกเท่าลูกมะตูม ลางจำพวกเท่าลูกมะนาว ลางจำพวกเท่าลูกมะม่วง ลางจำพวกเท่าลูกมะขามป้อม ลางจำพวกเท่าลูกมะกล่ำ ลางจำพวกยาว ลางจำพวกกลม ลางจำพวกเป็น ๔ เหลี่ยมดูงามนักหนาฯ ลางอันมีพรรณอันแดง ลางอันสีขาวลางอันเขียว ลางอันทราม ลางอันแดงกล่ำ ลางอันหม่น ลางอันก่าน ลางอันเหลืองดูรุ่งเรืองนักหนา เทียรย่อมเข้ามาเฝ้าพระญาแก้วดวงนั้น(ดุจดัง) พระญาหงส์ตัวหนึ่งชื่อพยะญามัททราชแลมีหมู่หงสฺ์ทั้งหลายได้ ๘๔,๐๐๐ มาล้อมรอบเป็นบริวารนั้นแล เมื่อนั้นแก้วอันมีศักดิ์นักหนาแล มีแก้วทั้งหลายเป็นบริวารแก้วนั้นอยู่ในยอดภูเขาอันชื่อพิปุลบรรพตโพ้นไส้ฯ ด้วยบุญแห่งพระญามหาจักรพรรดิราชนั้น หากไปชั้กไปชวนเอาแก้วดวงนั้นมาแลแก้วนั้นบมิอาจอยู่ในที่อยู่แห่งตนนั้นได้เลยฯ แก้วนั้นจึงเหาะมาโดยอากาศแลมีหมู่แก้วบริวรได้ ๘๔,๐๐๐ ตามกันมาวันนั้น ดูรุ่งเรืองเต็มทั้งอากาศแลฯ อันว่าแก้วจำพวกนี้ต่อว่าเมื่อใดแลมีพระญามหาจักรพรรดิราชไส้ แก้วนั้นจึงมาแข่งด้วยรัศมีแห่งพระจันทร์นั้นทุกเมื่อแลฯ ผิแลว่าเมื่อใดพระญามหาจักรพรรดิราชนั้น แลสวรรคาไลยแล้วแก้วนั้นจึงคืนไปอยู่ในยอดเขาอันชื่อวิบูลบรรพตนั้นช้าหึงนานนักแลฯ มิได้เปล่งรัศมีออกแข่งด้วยรัศมีแห่งพระจันทร์นั้นเลยฯ เพราะว่าอยู่ถ้าท่านผู้มีบุญที่ท่านจะมาเป็นพระญาจักรพรรดิราชภายหน้าโพ้นแลฯ แลแก้วนั้นจึงมิได้เปล่งรัศมีออกแข่งด้วยพระจันทร์เพื่อดังนั้นแลฯ เมื่อใดมีพระญามหาจักรพรรดิราช ๆ นั้นคำนึงเถิงแก้วนั้น ๆ จึงมาหาพระญามหาจักรพรรดิราชแลเปล่งรัศมีออกแข่งด้วยรัศมีพระจันทร์ แลรัศมีแห่งแก้วนั้น แลเห็นดูรุ่งเรืองงามดังรัศมีพระจันทร์เมื่อวันเพ็งบูรณ์นั้นแลฯ แลมีแก้วทั้งหลายเป็นบริวารล้อมมาทั้ง ๔ ด้าน คือหน้าแลหลังซ้ายขวาตามกันมาโดยอากาศแล้ว ๆ ก็เข้าไปในปราสาทแห่งพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นแลฝูงแก้วบริวารตามล้อมมารุ่งเรืองงามนักหนาเหมือนดาวดารากรอันล้อมพระจันทร์ในเมื่อเพ็งบูรณ์นั้นแลฯ แลพระญาแก้วนั้นก็มาเฝ้าพระญาจัพรกรรดิราชอยู่ดังนั้น จึงพระญามหาจักรพรรดิราชพระองค์นั้นมีพระทัยจะใคร่ลองตะบะของพระญาแก้ว อันชื่อว่ามณีรัตนะนั้น ธจึงให้ทำไม้ลำหนึ่งยาว ๑๖ ศอก แลพอกทอมถามแล้ว ๆ จึงให้ตีตระเคียีวทองใส่พระญาแก้วนั้นแล้วจึงเอาสายทองคำผูกแขวนไว้กับปลายไม้แล้ว ๆ ยกไม้นั้นให้คนถือไปก่อน แล้วจึคงดูเห็นรุ่งเรืองสว่างส่องให้เห็นหนทางทุกแห่ง แม้นมืดทั้ง ๔ ประการก็ดี มืดประการ ๑ คือว่าเดือนดับมืด มืดกลางคืนก็ดี มืดประการ ๑ คือว่าป่าชัด มืดประการ ๑ คือว่ามืดฟ้ามืดฝน มือประการ ๑ คือมืดเที่ยงคืน แม้นว่ามืดทั้ง ๔ ประการดังนี้ก็ดีบมิอาจมืดอยู่ได้เลย ด้วยอำนาจรัศมีพระญาแก้วนั้นก็สว่างให้เห็นทางทั่วทุกแห่งดังลกางวันนั้นแลฯ แลพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นก็เสด็จไปด้วยรี้พลทั้งหลายแลเห็นหนทางรุ่งเรืองใสสว่างดังกลางวัน ฝูงคนที่ทำไร่ไถนาเขาก็ไปทำดังกลางวันนั้นแลฯ คนทั้งหลายที่ซื้อขายก็ไปซื้อชายดังกลางวันนั้นแลฯ คนทั้งหลายที่ช่างถากไม้แลฟันไม้เขาก็ไปถากไม้ฟันไม้เมื่อกลางคืน ได้สัพพการทั้งปวงเหมือนกลางวันแลฯ ฝูงคนกระทำสิ่งใดเขาที่กระทำสิ่งนั้นทุกประการ แม้นกลาคืนก็ดี เหมือนดังกลางวันสิ้นแลฯ แลคนทั้งหลายพึงรู้จักศักดิ์ฤทธิ์ตะบะแห่งพระญาแก้วนั้น เพราะด้วยบุญสมภารแห่งพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นแลฯ ท่านผู้มีบุญดังนี้ได้เสวยราชสมบัติเย็นเนื้อใจนักหนา ฝูงอาณาราษฎรทั้งหลายได้ความสุขสำราญปูนปานดังเทพยดาในสวรรค์นั้นแลฯ มณีรัตนวัณณนาทิฏฐิตา กล่าวเถิงพระญาแก้วอันชื่อว่ามณีรัตนโดยสังเขปแล้วเท่านี้แลฯ
ด้วยเดชบุญท่านผู้ได้เป็นพระญามหาจักรพรรดิราชนั้น แลว่ายังมีนางแก้วผู้หนึ่งไส้ ลางคาบมีผู้หญิงผู้มีบุญอันได้กระทำมาแต่ก่อน แลนางนั้นมาเกิดในแผ่นดินเราอยู่นี้ ย่อมมาเกิดในเมืองอันชื่อมัททราฐเกิดในตระกูลกษัตริย์ดังทั้งหลายจึงได้กล่าวมาเป็นเมียของพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นแลฯ ผิแลว่าหาผู้หญิงอันมีบุญบมิได้ในแผ่นดินเราอยู่นี้ไส้ อันเพื่อบุญของพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นไปชักนำมา นางแก้วอันมีอยู่ในแผ่นดินอันชื่อว่อุตรนั้นมากับทั้งเครื่องสำหรับสัพพาภรณ์ อันแล้วด้วยแก้วสัตตพิธรัตน แลรุ่งเรืองงามนักหนาแลมาโดยอากาศดุจดังนางฟ้าแลลงมาไหว้มานบพระญามหาจักรพรรดิราชเจ้านั้นแลฯ อันว่านางแก้วนั้นโสดบมิต่ำบมิสูงพองามพอดี สมควรถูกเนื้อจำเริยใจฝูงคนทั้งหลาย แลมีฉวีวรรณเกลาเกลยงหมดใสงามหนักหนา มาตรว่าละอองธุลีผงน้อยหนึ่งจะติดแปดกายนั้นก็บมีเลยดุจดังดอกบัวแลถูกน้ำนั้นแลฯ ในกายแห่งนางแก้วนั้นมีลักษณะอันอุดมถ้วนทุกแห่ง งามเพิงใจคนทั้งหลายทุกคนในเมืองมนุษย์เรานี้แลฯ แต่เท่าว่ามิเท่านางฟ้าเมืองไตรตรึงษาสวรรค์นั้น เพราะเหตุหารัศมีบมิได้แลฯ อันว่านางฟ้าทั้งหลายในสำนักนิ์พระอินทร์มีรัศมีออกจากตัวเขาไกลนัก เมื่อนั้นบุญนางแก้วนั้นมีรัศมีไหลออกจากตัวนางแก้วนั้นได้แล ๑๐ ศอก ทั้งหลายรอบตัวนางนั้ นแม้นว่ามืดเท่าใดก็ดีบมิพักหาเทียนแลชวาลาเลย แลนางแก้วมีพระพักตร์เกลาเกลี้ยงหมดใสงามนักหนา แลเนื้อแลหนังนั้นอ่อนดังสำลีอันพานสพัดได้ละร้อยคาบแลชุบเปรียงประโคจามรีอันใสงามนักหนาฯ เมื่อตัวพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นเย็นแลหนาวไส้ตัวนางแก้วนั้นอุ่น เมื่อใดมหาจักรพรรดิราชนั้นร้อนไส้ตัวนางแก้วนั้นเย็น ตัวนางแก้วนั้นหอมดังแก่นจันทน์กฤษณษอันบดแล้วแลปรุงลงด้วยคันธรสอันหอมทั้ง ๔ ประการแลห้องฟุ้งอยู่นักหนาทุกเมื่อแลฯ เมื่อแลนางแก้วเจรจาก็ดี หัวร่อก็ดี กลิ่นปากนางแก้ว นั้นหอมฟุ้งออกดังกลิ่นดอกบัวอันชื่อว่า นิลุบบล แลจงกลนี เมื่อบานอยู่นั้น อันว่ากลิ่นปากแห่งนางแก้วนี้หอมอยู่ดังนั้นทุกเมื่อแลฯ เมื่อใดแลพระญามาหามาสู่นางแก้ว ๆ นั้นมิได้นั่งอยู่ในที่อยู่ตนนั้นย่อมลุกไปต้อนรับพระญาแล้ว ๆ เอาหมอนทองมานั่งเฝ้าอยู่พัดพระญานั้น ๆ แล้ว ๆ นางจึงนวดฟั้นคั้นบาทาแลกรของพระญานั้นแล้วจึงนั่งอยู่เบื้องต่ำ นางแก้วนั้นบห่อน จะขึ้นนอน เหนือแท่นแก้ว ก่อนพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นเลยสักคาบ นางแก้วนั้นบห่อนลงจากแท่นแก้วนั้นภายหลังพระญาเลยสักคาบฯ แม้นว่านางแก้วนั้นจะกระทำการงานอันใด ๆ ก็ดีย่อมไหว้ทูลแต่พระญานั้นให้ธรู้ก่อน เมื่อใดพระญาสั่งให้นางทำจึงทำ นางนั้นบห่อนละเมิดท่านผู้ป็นผัวเลยสักคาบ กระทำอันใด ๆ ก็ดีย่อมชอบใจผัวทุกประการ ว่ากล่าวอันใด ๆ ก็ดีย่อมพึงพอใจผัวทุกประการแล เท่าแต่พระญาจักรพรรดิราชผู้เดียว แลหากได้เป็นผัวนางไส้ส่วนอันว่าชายผู้อื่นไส้จะได้เป็นผัวนางแก้วนั้นหาบมิได้ฯ อันว่านางแก้วนั้นจักได้เอาใจออกหากพระญานั้นน้อยหนึ่งก็บมีแก่นางเลยฯ อิตถีรัตนวัณณนานิฏฐิตาฯ กล่าวเถิงนางแก้วแล้วเท่านี้ โดยสังเขปแลฯ
กาลนั้นเมื่อฝูงโหราพฤฒาจารย์ทั้งหลาย จึงกราบทูลแต่พระญามหาจักรพรรดิราชว่าดังนี้ อันว่าพระองค์เจ้าได้เป็นมหาจักรพรรดิราชดังนี้ อันว่เครื่องสำหรับบุญแห่งพระองค์ไส้ไปบมิถ้วนสิ่งก่อนเลยฯ จึงพระญามหาจักรพรรดิราชัน้น ธก็ให้ทานรักษาศีลแลรำพึงเถิงขุนคลังผู้จะมาเป็นขุนคลังแห่งพระองค์นั้นฯ เมื่อนั้นยังมีมหาเศรษฐีผู้หนึ่งอันเป็นวงศ์แห่งมหาเศรษฐีผู้ประเสริฐแต่โบราณฯ แลขุนคลังผู้นั้นอาจสามารถจะทำการย์ให้พอใจพระญามหาจักรพรรดิราชทุกประการ ผิว่าพระญาจักรพรรดิราช คำนึงทรัพย์สิ่งสินอันใดแลจะใคร่เอาไส้ แลขุนคลังผู้นั้นอาจสามารถนำมาถวายแด่พระญานั้นได้ทุกประการแลฯ ขุนคลังผู้นั้นจึงเอามาตั้งให้เป็นขุนพระคลังแก้วสำหรับพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นฯ ด้วยอำนาจบุญธรรมของพระองค์นั้นแล จึงขุนพระคลังผู้นั้น ดุจมีตาทิพย์หูทิพย์ ดังเทพยดาในสวรรค์นั้นแลฯ ส่วนอันว่าแก้วแหวนเงินทองทั้งหลาย อันมีในแผ่นดินนี้ก็ดี แม้นว่าอยู่ในสใต้แผ่นดินแลลึกลงไปได้ ๑๖ โยชน์ก็ดี แม้นว่าอยู่ในท้องมหาสมุทรก็ดี แลขุนพระคลังนั้นอาจสามารถแลเห็นทั่วทุกแห่งแลฯ ผิว่าเมื่อใดขุนพระคลังนั้นคำนึงจะใคร่เอาเงินทองแก้วแหวนสิ่งใดก็ดี อันว่าเงินทองแก้วแหวนนั้น หากขึ้นมาสู่ขุนพระคลังนั้นเองแลได้โดยใจขุนพระคลัง ผิว่าขุนพระคลังนั้นจะใคร่ให้เป็นเครื่องสนิมพิมพาภรณ์สิ่งใด ๆ ก็ดี เงินทองแก้วแหวนฝูงนั้นหากเป็นเองโดยใจ ขุนพระคลังนั้นอันคำนึงทุกดประการ แลขุนพระคลังนั้นขึ้นไปทูลแด่พระญาจักรพรรดิราชว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าเป็นนายแลพระองค์เจ้าเสวยสมบัติจงเป็นสุขเย็นใจอย่ามีกังวลในพระทัยของพระองค์เจ้าสักอันเลยฯ ถ้าว่าพระองค์เจ้าจะปรารถาเอาทรัพย์สมบัติเท่าใด ก็ดี เชิญพระองค์เจ้าเรียกเอาแก่ข้าผู้เดียว แลข้าพระพุทธเจ้าผู้เดียวหากจะประกอบมาถวายแด่พระองค์จงทุกประการแลฯ ผิว่าพระองค์เจ้ามีพระทัยจะใคร่ให้รางวัลแก่ข้าไทยของพระองค์ก็ดี ข้าพระพุทธเาจะประกอบมาถวายแด่พระองค์เจ้า ๆ จงประสาทให้ตามพระหฤทัยพระองค์เจ้า ๆ อย่าได้คิดสงสัยเลยฯ ผิพระองค์เจ้าจะใคร่ให้มากน้อยเท่าใด ๆ ก็ดีโดยพระทัยพระองค์เจ้าอย่าคิดเลย เมื่อนั้นขุนพระคลังแก้วแลดูรำพึงนึกในใจว่าจะใคร่เอาสิ่งใด สิ่งนั้นก็พูนเกิดขึ้นมา แลเทียรย่อมเต็มด้วยแก้ว ๗ ประการแลมาเดียรดาษอยู่เต็มทั้งท้องพระคลังหลวงแลฯ จึงขุนพระคลังแก้วนั้นก็กราบทูลแด่พระญามหาจักรพรรดิราชดังนี้ฯ บพิตรข้าแต่พระองค์เจ้าแต่นี้ไปเบื้องหน้าอันว่า แก้วสัตตพิธรัตนอันอุดมดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้าจะประกอบถวายแด่พระองค์เจ้าทุกเมื่อแลฯ อังเชิญพระองค์เจ้าเร่งให้ทาน แก่ฝูงไพร่ฟ้าข้าไทยทั้งหลายอย่าได้คิดเสียดายเลย พระองค์เร่งให้ทานตามพระอัชฌาสัยพระองค์เจ้าบัดนี้เถิดฯ เมื่อนั้นพระญามหาจักรพรรดิราชพระองค์ใคร่จะลองเดชตะบะแลศักดานุภาพของขุนพระคลังแก้วอันนั้นไส้ พระองค์ให้แต่งเรือทั้งหลายอันประดับนิ์ด้วยแก้วทั้ง ๗ ประการแล ให้มีปราสาทเงินแลปราสาททองอันประดับนิ์ด้วยแก้ว ๗ ประการทั้งหลาย พระญามหาจักรพรรดิราชจึงเสด็จขึ้นเรือแล้วเสด็จนั่งอยู่ในปราสาทอันมีที่ในเรนือนั้น พระองค์จึงเสด็จออกไปเถิงกลางพระมหาสมุทรนั้น แลมีสำเภาทั้งหลายอันตามเสด็จไปเป็นบริวารวันนั้นได้ ๘๓,๐๐๐ ลำ แลมีเรือเนเรือทองแลสำเภาเภตรา เล่นด้วยนาคราชทั้งหลายในกลางน้ำนั้นฯ กาลวันนั้นพระญามหาจักรพรรดิราช ธจึงตรัสสั่งแก่ขุนพระคลังแก้วนั้นว่าฉันนี้ ดูกรขุนพระคลังแก้วบัดนี้กูมีพระทัยจะใคร่เอาแก้ว ๗ ประการ ขงขุนพระคลังแก้วเร่งหามาให้แก่กูทันใจกูบัดในท่ามกลางพระสมุทรเร็วบัดนี้ เมื่อนั้นจึงขุนพระคลังแก้วก็รับพระโองการว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะประกอบถวายแด่พระองค์ดุจมีพระโองการบัดนี้ ขุนพระคลังแก้วนั้นจึงเล็งลงไปในน้ำพระมหาสมุทรนั้น บัดเดี๋ยวก็พูนเกิดเป็นตุ่มแลไหทั้งหลายนั้นขึ้นมาย่อมเต็มด้วยแก้วแลแหวนเงินทองทั้งหลาผุดขึ้นมาเต็มทั้งแม่น้ำมหาสมุทรนั้นฯ จึงขุนพระคลังก้วนั้นก็เอามาถวายแด่พระญามหาจักรพรรดิราชเจ้า ๆ นั้น ก็ประสาทพรให้เป็นรางวัลแก่ฝูงไพร่ฟ้าข้าไทยทั้งหลายวันนั้นบมิรู้สิ้นเลย อันว่าขุนพระคลังแก้วแห่งพระญามหาจักรพรรดิราชนี้มีเดชะตะบะศักดานุภาพดังกล่าวมานี้แลฯ คหปติรัตนวัณณนานิฏฐิตา ฯ
อันว่าพระญาผู้เป็นมหาจักรพรรดิราชนั้นย่อมมีลูกชายพันพระองค์ แลมีรูปโฉมอันงามแลย่อมรู้หลักนักปราชญืแกล้วหาญทุกคน ส่วนลูกชายผู้เป็นพี่เอื้อยทั้งหลายนั้นแลรู้หลักยิ่งกว่าทั้งหลาย แลประเสริฐกว่ายิ่งกว่าน้องชายทั้งหลายนั้นแล ด้วยบุญของพระญามหาจักรพรรดิราชนั้น อันธได้ทำมาแต่ก่อนไส้ แลลูกแก้วของพระองค์นั้นอาจสามารถรู้เนื้อรู้ใจคนทั้งหลายคือว่าผู้นี้ดีก็รู้ผู้นี้ร้ายก็รู้ แม้นว่าอยู่ไกลได้ ๑๒ โยชน์ก็ดีอาจสามารถล่วงรู้เนื้อรู้ใจคนทั้งหลายนั้นสิ้นแล อันว่าลูกแก้วแห่งพระองค์นั้นธ จึงกราบทู่ลแพระญามหาจักรพรรดิราชผู้บิดาว่าดังนี้ว่า ข้าแต่สมเด็จพระราชบิดาเจ้าแต่นี้ไปเบื้องหน้า อันว่าความบ้านความเมือง แลราชกิจอันใด ๆ ก็ดี ขออย่าได้เคืองพระราชหฤทัยพระองค์เจ้าเลย จงพระองค์เจ้าอยู่เสวยสุขทุกประการเถิด ส่วนอันว่าความบ้าน ความเมืองกิจการใด ๆ ก็ดี ไว้หนักงานตูข้าทั้ง ๒ หากรู้ว่ารู้แต่งให้จบชอบธรรมทุกอันแลฯ แต่วันนั้นไปพระญามหาจักรพรรดิราช ธหาความกังวลความบ้านความเมืองแลกิจการใด ๆ ก็ดีธมิได้อาวรณ์สักสิ่งเลย พระญามหาจักรพรรดิราชนั้นธมีลูกแก้วอาจต่างเนื้อต่างใดธดังนั้นถ้วน ๗ ประการ โดยสำหรับเครื่องอันเป็นพระญามหาจักรพรรดิราชแลฯ พระญาจักรพรรดิราชนั้น ธ เป็นเจ้าเป็นนายแก่คนทั้งหลายอันมีใจแผ่นดินใหญ่ ๔ แผ่น แลแผ่นดิน้อยทั้งหลาย ๒๐๐๐ อันมีในขอบจักรวาลนี้แลฯ แลท่านนั้นย่อมอยู่ในทศพิธราชธรรมทุกเมื่อแล คนทั้งหลายอันตั้งอยู่ในโอวาทานุสาสน์คำสั่งสอนของพระองค์ไส้ ครั้นว่าตายวายชีพไปก็ได้เกิดในเมืองฟ้าแลฯ ที่ผู้ใดอันใจบาปร้ายนั้น พระญาจักรพรรดิราชเจ้านั้นธบห่อนเจรจาด้วยเลย ตราบใดพระญากรพรรดิราชยังอยู่ไส้ อันว่ากงจักรแก้วนั้นก็ยังอยู่ด้วยตราบนั้นบมิได้เคลื่อนคลาเลย เมื่อใดพระญาจักรพรรดิราชนั้น ธสวรรคตแล้วไส้กงจักรแก้วนั้นจึงคลาดจากที่อยู่ แลกงจักรแก้วนั้นก็คือลงไปในท้องมหาสมุทรโพ้นดังเก่าเล่าแลฯ ด้วยประการทั้งหลาย ๗ ดังนี้ อนึ่งคือว่ายัง ๗ วันพระญามหาจักรพรรดิราชจะทิวงคต อนึ่งคือว่ายังอีก ๗ วันพระญาจะออกทรงผนวช อนึ่งคือว่าพระพุทธเจ้าจะอุบัติ ถ้าแลเมื่อใดแลมีดังนี้ไส้แลกงจักรแก้วนั้นจึงจากพระญาจักรพรรดิราชแล คือไปอยู่ในท้องพระมหาสมุทรดังเก่าเล่าแลฯ เมื่อใดแลเกิดพระญาจักรพรรดิราชเล่าไส้ จึงกงจักรแก้วนั้นคืนมาหาพระญาจักรพรรดิราชองนั้น ดังกล่าวมาแต่ก่อนโพ้นนั้นแลฯ เมื่อใดกงจักรแก้วอันเป็นนายกแก่ฝูงแก้วทั้งหลายนั้นไปจากพระญาจักรพรรดิราชแล้วไส้ อันว่าช้างแก้วอันประเสริฐนั้น คือว่าอุโบสถตระกูลก็ดี แลช้างฉัททันตตระกูลก็ดี แลช้างแก้วแลม้าแก้วตระกูลอันใด ช้างแก้วนั้นก็คืนไปอยู่ที่ตระกูลนั้นดังเก่าเล่าแลฯ ทั้งม้าแก้วนั้นเล่าก็ดี ก็คืนไปอยู่ในพลาหกตระกูลดังเก่าเล่าแลฯ ทั้งแก้วมณีรัตนแลบริวารแก้วทั้งหลายได้ ๘๔๐๐๐ จำพวกนั้นก็ดี ก็คืนไปอยู่ในเขาวิบุลบรรพตนั้นดังเก่าเล่าแลฯ แลนางแก้วก็ดี ผิแลมาแต่อุตรกุรุทวีปไส้ก็คืนไปยังที่อยู่คืออุตรกุรุทวีปโพ้นดังเก่า ผิแลว่านางแก้วนั้นมาเกิดในแผ่นดินที่เราอยู่นี้ก็ดี อันว่ารัศมีที่ออกจากตัวนางนั้นก็หายไปสิ้นแลฯ อยู่เป็นปรกติดังผู้หญิงเราทั้งหลายนี้ฯ อันว่ขุนพระคลังแก้วนั้น แลตานั้นก็มิได้เห็นไปไกลดังก่อนเลย แม้นว่าคำนึงจะใคร่เอาอันใด ๆ ก็โก็มิลุดังใจดุจก่อนนั้นเลยแลฯ ทั้งลูกแก้วพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นก็ดี ก็มิได้รู้หลักเลยแลคำนึงรู้ทุกสิ่งนั้นก็ดี ก็มิได้คำนึงรู้ดังเก่าเลยแลฯ แลว่าลาคาบลูกแก้วพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นแลมีบุญหากได้กระทำมาแต่ก่อนมากนักหนาเล่า แลได้เป็นพระญาจักรพรรดิราชแทนพ่อนั้นก็มี ถ้าแลว่าเป็นแทนพ่อไส้เทียรย่อมรู้บุญรู้ธรรมอันประเสริฐทุกประการดังพ่อนั้นแลฯ เมื่อนั้นจึงพระญาจักรพรรดิราชนั้นธก็ทิพพชงคคตพิธรชะโลมด้วยกระแจะจวงจันทน์ แล้วจึงเอาผ้าขาวอันเนื้อละเอียดนั้นมาตราสังศพพระญาจักรพรรดิราชนั้น แล้วจึงเอาสำลีอันดีดด้วยสพัดได้แลร้อยคาบมาห่อชั้น ๑ แล้วเอาผ้าชาวอันละเอียดมาห่อชั้น ๑ เล่า แล้วเอาสำลีอันละเอียดมาห่อเล่า ดังนั้นนอกผ้าตราสังทั้งหลายเป็นพันชั้นคือว่าห่อผ้า ๕๐๐ ชั้น แลสำลีอันอ่อนนั้นก็ได้ ๕๐๐ ชั้น จึงรดด้วยน้ำหอมอันอบได้แลร้อยคาบแล้วเอาใส่ในโกฐทองอันประดับนิ์คำถมอ แลรจนาด้วยวรรณลวดลายทั้งหลายอันละเอียดนักหนา แล้วจึงยกศพไปสงสักการด้วยแก่นจันทน์ กฤษณาทั้งหลายแล้วบูชาด้วยข้าวตอกดอกไม้ทั้งหลาย ครั้นว่าสงสักการเสร็จแล้วคนทั้งหลาย จึงเก็บเอาธาตุพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นไปบรรจุ แลก่อพระเจดีย์แทบทางคบแห่งกลางเมือง นั้นแต่งให้คีนทั้งหลายไปไหว้นบบูชาฯ ผู้ใดแลได้ไหว้นบคำรพบูชาไส้ ผู้นั้นครั้นตายไปได้เกิดในเมืองฟ้า ดุจดังได้ไหว้พระปัจเจกโพธิเจ้าพระอรหันต์เจ้าไส้อาจให้สมบัติ ๓ ประการ คือมนุษยสมัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติแลฯ ถ้าผู้ใดได้ไหว้บูชาพดระญามหาจักรพรรดิราชไส้ ก็จะให้ได้สมบัติ ๒ ประการ คือมนุษยสมบัติแลสวรรค์สมบัติบมิอาจให้นิพพานสมบัติได้ เพราะเหตุว่าพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นเป็นปุถุชนไส้ฯ แม้นเถิงว่าพระญามหาจักรพรรดิราชองค์ผู้มีบุญแล้วสิปราบได้ทั้ง ๔ แผ่นดินดังนี้ไส้ ยังว่ารู้ถิงแก่ทิวงคตแล้วแลว่ยังมิตั้งอยู่มั่นคงได้ สังสารวัฏนี้เมื่อใดได้เถิงแก่นฤพานแล้วไส้จึงพ้นทุกข์ทั้งหลายในสงสารนี้แลฯ พรรณาเถิงพระยามหาจักรพรรดิราชแล้วแต่เท่านี้แลฯ
อันว่าพระญาจักรพรรดิราชนี้ยังมีจำพวก ๑ เล่าไส้ ยังมีพระญาองค์หนึ่งทรงพระนามชื่อพระญาศรีธรรมาโสกราชธเสวยราชสมบัติในเมืองอันหนึ่งสมญาชื่อว่าปาตลีบุตรมหานคร เมื่อพระญานั้นเสวยราชพระพุทธเจ้าแห่งเราเสด็จเข้าสู่นิพพานแล้วได้ ๒๑๙ พระพรรษา พระญานั้นมีสนมได้ ๑๖๐๐๐ นางผู้เป็นอรรคมเหษีนั้นชื่อว่า นางอสันธมิตตา ครั้นว่าพระญานั้นธได้เสวยราชสมบัติไส้ ฝูงท้าวพระญาทั้งหลายในชมพูทวีปมาไหว้มานบทุกพระองค์ ด้วยบุญพระญามหากษัตริย์นั้นเองฯ มิใช่แต่ว่าท้าวพระญาทั้งหลายหากมาไหว้มานบพระญาองค์นั้นเมื่อไรฯ ทั้งหมู่เทพยดาทั้งหลายแลหมู่สัตว์ทั้งหลายอันอยู่แดนแผ่นดินนี้ลงไปภายใต้แผ่นนี้ลึกลงไปได้โยชน์ ๑ อันอยู่แผ่นนี้ขึ้นไปเบื้องบนได้โยชน์ ๑ เทียรย่อมมาไหว้มาเฝ้ามาแหนบำเรอเชอภักดีพระญาศรีธรรมาโสกราชทุกทิพาราตรีกาลบมิได้ ขาดด้วยบุญพระญาองค์นั้นแลฯ หมู่เทพยดาอันอยู่ในหิมพานต์เทียรย่อมเอาน้ำในอโนตัตสระอันหอมอันใสผ่องดังแก้วผลึกรัตนะเย็นกินหวาานอันมีรสนักหนาเอามาถวายเสมอแล วันละ ๖ กลออมทุกวาร ถวายแด่พระบาทพระเจ้าศรีธรรมาโสกราชนั้นทุกวันฯ พระบาทพระเจ้าศรีธรรมาโสกราชให้เอาน้ำ ๘ กลออมไปถวายแก่พระสงฆ์น้ำ ๒ กลออมไปถวายแก่พระสงฆ์ ๑๖ พระองค์ อันทรงพระปิฎกไตรย น้ำ ๒ กลออมให้แก่นางอสันธมิตตาผู้เป็นอรรคมเหษีฯ แลน้ำ ๒ กลออมไส้ให้แก่นางพระสนมทั้งหลาย ๑๖๐๐๐ ฯ น้ำ ๒ กลออมไส้ไว้เป็นสำหนรับน้ำสรงแลน้ำเสวย พระองค์แต่งดังนั้นทุกวารบมิได้ขาดฯ เทพยดาลางจำพวกเอาเชือกเขาอันชื่อนาคลดาวันนั้นเป็นอันอ่อนแลหอมมาถวายให้เป็นไม้สีพระทนต์ทุกวันฯ แลไม้สีพระทนต์นั้นพระองค์ให้ไปถวายแก่พระสงฆ์แลอัน ๖๐๐๐๐ พระองค์ทุกวาร แล้วธจึงแจกให้แก่พระสนมทั้งหลาย ๑๖๐๐๐ ทุกวาร เทพยดาลางจำพวกเอาผลมะขามป้อมอันมีรสหวานและหอมนักมีพรรณดังทองแลเสวยเป็นยาทิพย์นั้น เอามาแต่ป่าหิมพานต์นั้นมาถวายทุกวารฯ เทพยดาลางจำพวกเอาผลสมออันงามดังทองแลหอมนักแลเสวยเป็นยาทิพย์ แลเอามาแตจ่ป่าหิมพานต์มาถวายแด่พระญาศรีธรราโสกราชทุกวารฯ เทพยดาลางจำพวกเอาผลมะม่วงสุก อันมีพรรณดังทองกินหวานหอมเอามาแต่ป่าหิมพานต์ และเอามาถวายแด่พระญาศรีธรรมาโสกราชทุกวันฯ เทพยดาลางจำลางพวกเอาผ้าทิพย์อันงามนักหนามีพรรณ ๔ สิ่งเอามาแต่ฉัททันตสระ เอามาถวายแด่พระเจ้าศรีธรรมาโสกราชให้นุ่งให้ห่มทุกวารฯ เทพยดาลางจำพวกเอาผ้าเช็ดหน้าทิพย์อันงามมีพรรณ ๕ สิ่ง สีดำสีแดงสีขาวสีเหลืองสีเขียวมาแต่ฉัททันตสระ นำมาถวายพระญาศรีธรรมาโสกราชแต่งให้เช็หน้าแลเนื้อตัวพระองค์ทุกวันฯ อันว่าผ้าทิพย์ฝูงนั้นโสด ถ้าแลว่าแปดเหื่อแลไคแลเก่าหม่นหมองไปไส้บมิพักซักฝาดด้วยน้ำเลย ก่อไฟขึ้นให้ลุกเป็นเปลวแล้วเอาผ้าฝูงนั้นทอดเข้าในเปลวไฟ ๆ บมิไหม้ผ้านั้นเลย เหื่อแลไคซึ่งบันดาติดแปดผ้านั้นหมดสิ้นแล แลดูผ้านั้นใหม่ออกหมดใสงามดีมีพรรณดังผ้าใหม่แลฯ เทพยดาลางจำพวกเอาเกือกทองของทิพย์ อันดีมีพรรณอันงามมาถวายแด่พระญาศรีธรรมาโสกราช แต่งรองฉลองพระบาทท่านแลฯ เทพยดาลางจำพวกเอากาทองทิพย์อันดี มีพรรณคันธอันหอมนักหนามาถวายแด่พระญาศรีธรรมาโสกราช แต่งสรงพระเกษุทุกวันน เทพยดาลงจำพวกเอาอ้อยอันหวานแลหอมแลมีโอชารสอันอุดม แลมีลำเท่าลำหมากเอามาแต่หิมวันต์เป็นกระยาเสวยทุกวันฯ เทพยดาลางจำพวกเอาผลมะพร้าวอันดุดมมาถวายฯ เทพยดาลางจำพวกเอาลูกตาลอันอุดมมาถวายฯ เทพยดาลางจำพวกเอาผลลูกลานมาถวายฯ เทพยดาลางจำพวกเอาผลไม้หว้าอันอุดมมาถวายฯ เทพยดาลางขจำพวกเอาผลไม้ไทรอันอุดมมาทวายฯ เทพยดาลางจำพวกเอาผลกระสังแลหมากหาดอันอุดมมาถวายฯ เทพยดาลางจำพวกเอาชนมอันอุดมมาถวานาฯ เทพยดาลางจำพวกเอาลูกแฟงแตงเต้าอันอุดมมาถวายฯ นกเปล้าแลนกแขกเต้านกคลานกจริง คาบเอารวมข้าวอันชื่อเสญชติสาลิ อันมีในที่ริมฉัททันตสระนั้นมาถวายทุกวันเสมอวันละ ๙๐๐๐ เกวียน แลข้าวนั้นโสดบมิพักตำมิพักฝัดบมิพักร่อนเลย แลฝูงหนูป่าทั้งหายหากมาเกล็ดให้เป็นข้าวสาร แลข้าวสารนั้นโสดแม้นเมล็ดหนึ่งก็ดีบมิได้หักเลย ข้าวนั้นเป็นข้าวต้นเป็นกระยาเสวยแด่สมเด็จพระบาทท้าวศรีธรรมาโสกราชทุกเพราทุกงาน ทั้งผอกทั้งแลงทุกวันทุกคืนบมิขาดสักเามื่อเลยฯ ฝูงผึ้งฝูงบินทั้งหลายหากมาทำรวงแล้วแลไว้น้ำผึ้งในโอ่งในออมเป็นกระยาเสวยทุกเมื่อฯ ฝูงชาวครัวทั้งหลายมิพักยากใจด้วยฟืนด้วยไม้สักอัน แลฝูงหมีทั้งหลายอันอยู่ในป่าหากหั่นฟืนมาส่งแก่ชาวครัวทั้งหลายทุกวัน ด้วยบุญแห่งพระญาศรีธรรมโสกราชนั้นแลฯ อันว่านกทั้งหลายอันมีในป่ามีอาทิ คือนกกรวิก แลนกฝูง แลนกกระเรียน แลนกดุเหว่าทั้งหลาย เทียรย่อมชวนกันมาห้อนรำตีปีกฉีกหาง แลร้องด้วยสัพพสำเนียงอันไพเราะมาถวายแด่พระญาศรีธรรตมาโสกราชทุกวันบมิได้ขาดแลฯ นกฝูงนั้นเทียรย่อมูงนกอันอุดมแลมาแต่ป่าพระหิมพานต์ต์โพ้นไส้ เสียงนกอันชื่อว่านกกรวิกนั้นไส้แลมีเสียงอันไพเราะมาถูกเนื้อพึงใจ แก่ฝูงสัตว์ทั้งหลายยิ่งนักหนา แม้นว่าเสือจะเอาเนื้อไปกินได้เลยแล แม้นว่าเด็กอันท่านไล่ตีแลแล่นหนีครั้นว่าได้ยินเสียงนกนั้นร้องก็ บมิรู้สึกที่จักแล่นหนีได้เลย แลว่านกทั้งหลายอันที่บินไปบนอากาศครั้นว่าได้ยินเสียงนกกรวิกก็บมิรู้สึกที่จะบินไป ปลาในน้ำก็ดีครั้นว่าได้ยินเสียงนกนั้นร้องก็บมิรู้สึกที่ว่าจะายไปได้เลย ว่าเสียงแห่งนกกรวิกนั้นมันเพราะนักหนาแลเป็นฉงนอยู่แลฯ แต่ฝูงสัตว์อยู่เหนือแผ่นดินแลกลางอากาศ ย่อมมากระทำบำเรอมาแต่พระบาทพระเจ้าศรีธรรมโสกราชดังกล่าวมานี้แลฯ ทั้งฝูงเทพยดาอันอยู่ในน้ำพระมหาสมุทรก็ย่อมเอาแก้วแหวนเงินทองทั้งหลายมาถวาย แลฝูงนาคราชทั้งหลาย เอาผ้าอันงามดังดอกชาติบุตร อันบริสุทธิ์บมิได้ระคนด้วยด้ายไทยแล้วด้วยไหมเทศวิเศษดังผ้าทิพย์ เอามาถวายให้ห่มแลแต่งรองพระองค์แลพระบาทพระเจ้าศรีธรรมาโสกราช นาคราชลางจำพวกเอากระแจะจวงจันทน์คนธรส อันประเสริฐอันดีมาถวายทุกเมื่อพระบาท พระเจ้าศรีธรรมาโสกราชนี้ธมีบุญสมภารมากนักหนา ดังกล่าวมานี้แลฯ แลพระญาศรีธรรมาโสกราชนั้นธได้ฟังพระธรรมเทศนา แต่เจ้าไทยพระองค์ ๑ ชื่อว่าเจ้านิเถรนั้นไส้ พระญานั้นธมีใจใสศรัทธาในศาสนาพระพุทธเจ้านักหนา ใจธอ่อนน้อมพระศรัรัตนะไตตรยนั้นนักหนาธแต่งฉันจังหันหกหมื่นสำรับอันพระญาพิมพิศาลราช ผู้เป็นพระบิดาพระญาศรีธรรมาโสกราชแต่งให้บริพาชกทั้งหลาย ๖ หมื่นกินแต่ก่อนมาทุกวัน พระญาาศรีธรรมาโสกราชให้เอามาจากบริพาชกทั้งหลายนั้น ก็เอามาถวายแก่พระสงฆ์ทั้งหลาย ๖ หมื่นพระองค์ทุกวารแลฯ พระญานั้นธให้ทำมหาวิหารในอุทยานนั้น สร้างเป็นอารามชื่ออสการาม ถวายเป็นสำนักนิ์แก่พระสงฆ์ทั้งหลายแลฯ แต่นั้นไปเมื่อหน้าของสรรพของควายอันเขาทั้งหลายเอามาถวายดี ฝูงเทพยดาทั้งหลายเอามาถวายแต่ป่าหิมวันต์ก็ดี มนุษย์ทั้งหลายเอามาก็ดี สิงสัตว์ทั้งหลายเอามาถวายก็ดี พระญานั้นย่อมเอาไปบูชาแก่พระศรีรัตนไตรยก่อน แล้วจึงให้แก่นางอสันธมิตตาแล้วจึงแจกแก่พระสนม ๑๖๐๐๐ แลจึงแจกแก่เทวราชแล้วจึงแจกแก่ลูกเจ้าลูกขุนทมุนทนายไพร่ฟ้าข้าไทยทั้งหลายในเมืองนั้นทุกคนฯ กล่าวเถิงเมืองนั้นยังมีกาลวัน ๑ เทพยดาทั้งหลายเอาลำอ้อยอันใหญ่เท่าลำหมากอีกด้วยของฝากหมากไม้ทั้งหลายมากนักหนามาถวายแด่พระญาศรีธรรมาโสกราช แลย่อมเอามาแต่ป่าหิมวันต์ อ้อยฝูงนั้นโสดกินหวานกินอ่อนนักหนา พระองค์ให้บีบอ้อยที้งหลายนั้นอังคาสแก่พระสงฆ์ทั้ง ๖ หมื่นพระองค์ด้วยจังหันวันเมื่อไปฉันในราชมณฑีร เมื่อพระสงฆ์ทั้งหลายฝฉันแล้ว พระองค์จึงหลั่งน้ำทักษิโณทกแล้ว แลเมื่อพระสงฆ์ไปสู่อารามไส้ พระองค์ตามลงมาส่งพระสงฆ์ทั้งหลายเถิงพื้นอัฒจันท์พระราชมณฑิรนั้นแล ธนมัสการพระสงฆ์ถ้วนทุกพระองค์แล้ว ก็สรรเสริญคุณพระศรีรัตนไตรยแล้วจึงพระองค์เสด็จเข้าไปในพระราชมณฑิรแล ในวันนั้นไส้นางอสันธมิตตาราชเทวีนั้น ครั้นรุ่งเช้านางก็ลุกจากที่นอนแล้วก็ชำระพระองค์แล้วนางจึงแต่งจังหันแล้วข้าวยาคู อีกสรรพาหารแลหมากพลูอันคาสแก่พระสงฆ์ทั้งหลาย ๖ หมื่นพระองค์ แล้วแลหลั่งน้ำทักษิโณทกแล้วแลไหว้นบคำรพแลนางก็อำลาพระสงฆ์เข้าไปในพระราชมณฑิรน ด้วยบริวารทั้งหลายฯ นางอสันธมิตตานั้นนั่งอยู่บนแท่นแล้วแลเห็นอ้อยที่เทวดาทั้งหลาย เอามาถวายแก่พระญาศรีธรรมาโสกราชนั้น นางจึงไปปอกอ้อยท่อน ๑ แล้วนางจึงเสวยอ้อนนั้นในท่ามกลางฝูงนางทั้งหลาย ๆ เมื่อนั้นพระญาศรีธรรมาโสกราชนั้นลงไปสู่พระสงฆ์ทั้งหลาย แลเดินขึ้นมาแลเสด็จเข้าสู่พระราชมณฑิร พระองค์จึงแลเห็นนางอสันธมิตตานั้นนั่งอยู่เหนือแท่นแลเสวยอ้อยอยู่ ณ ท่ามกลางนางนักสนมทั้งหลาย แลนางนั้นมีรูปโฉมโนมพรรณตระศักดิ์พระองค์มีพระทัยรักยิ่งกว่านางนักสนมทั้งหลาย จึงกล่าวด้วยคำสรรเสริญทรงพระสรวลเล่นตัวคดีว่าฉันนี้ ใครนี้หนอแลมานั่งอยู่แลมากินอ้อยอยู่ในที่ท่ามกลางนางนักสนมทั้งหลาย แลมีหน้าอันงามนักหนา เจ้านั้นจะว่าผู้หญิงหรือว่าระเบงระบำ อันแสร้งแต่งแลงามพ้นแพ่งพรรณ เมื่อดังนั้นพระองค์ยืนอยู่ซึ่งหน้านางนั้น แลกล่าวถ้อยคำหยอกเล่นเท่านี้แลฯ ครั้นว่านางอสันธมิตตาได้ยินพระราชสามีตรัสทักดังนั้นนางก็รำพึงว่าดังนี้ อันว่าพระองค์เจ้ากูนี้เสวยราชย์ แลได้เป็นใหญ่แก่ท้าวพระญาทั้งหลายในชมพูทวีป แต่เหนือแผ่นดินนี้ลงไปเบื้องต่ำได้โยชน์ ๑ แลแต่เหนือแผ่นดินนี้ขึ้นไปเบื้องบนได้โยชน์ ๑ เทพยดาแลครุฑราชนาคราชแลยักษ์คนธัพกินนรกินนร แลวิทยาธรแลหมาผีหมาใน แลราชสีห์แลหมีแลเสือเหลืองเสือโคร่ง ก็มาไหว้มากลายท่านนี้อีกทั้งช้างม้าข้าไทย เสนาพลาพลไพร่มากนักหนาแลมีเงินทองของแก้ว ผ้าผ่อนข้าวน้ำเต็มยุ้งเต็มฉางมากหลายนักหนา แลพระองค์เจ้ากูนี้เสวยราชสมบัติในกลางชมพูทวีปนี้ แลมีหมู่ท้าวพระญาทั้งหลายแลสมณพราหมณาจารย์แลคฤหัสถ์ลูกเจ้าเหง้าขุนทั้งหลายเป็นบริวารดัง พระอินทร์อันอยู่ท่ามกลางฝูงเทพยดาทั้งหลาย แลท่านเสด็จมากลายข้าพระบาทเห็นข้าพระบาทนั่งอยู่แลกินอ้อน แลพระองค์กล่าวถ้อยคำ ดุจมิรู้จักข้าพระบาทเลย แลมากล่าวเยอะไยไพข้าพระบาทเล่นว่ากระนี้หนอแลามานั่งกินอ้อย พระองค์เจ้าดูถูกข้าพระบาทแลว่ากล่าวข้าพระบาทดังนี้เพื่อพระองค์ทรงยศศักดิ์ใหญ่อิศรสมบัติอันมโหฬาร แลว่ากล่าวข้านี้หาบุญบมิได้เลย แลข้านี้ย่อมกินเพราะบุญพระองค์ทุกวันมิคลาแลฯ นางอสันธมิตตารำพึงดังนั้น จึงมีใจอันร้ายแก่พระญาศรีธรรมาโสกราชผู้เป็นภัศดาภร จึงกราบทูลแด่พระบาทพระเจ้าศรีธรรมาโสกราช ว่าฉันนี้มหาราชข้าแต่บพิตร์อันว่า อ้อยนี้บมิพักปลูกพักฝัง อ้อยนี้ หากเป็นเองอยู่ในป่าหิมวันต์ แลเทพยยดาทั้งเอามาถวายด้วยอำนาจบุญข้าพระบาทไส้ ข้าพระบาทจึงกินอ้อยนี้เพราะบุญข้าพระบาทเองแลฯ เมื่อนั้นพระญาศรีธรรมาโสกราชได้ยินคำนางอสันธมิตตากล่าวดังนั้น พระองค์จึงรำพึงในพระทัยดังนี้ นางจึงรำพึงทุกวันว่าตัวนางนี้มีบุญแลว่ากูนี้พึ่งบุญนางมิอย่าแล พระองค์จึงกล่าวแก่นางอสันธมิตตาพระองค์จึงว่าเป็นคำซ้ำแดกเมาะ ว่าประชดให้แก่นางดังนี้ ว่าดูกรเจ้าอสันธมิตตา ผิว่าเทพยดาทั้งหลายเอาอ้อยมาแต่ป่าหิมวันต์ แลมาถวายแก่เจ้าด้วยบุญเจ้าจริงไส้ อันว่าราชสมบัติทั้งหวงอันมีสนสกลชมพูทวีปทั้งปวงนี้ เจ้าว่าเราได้เพราะบุญเจ้าแลฤๅฯ ส่วนว่าบุญเจ้าไส้เจ้ายอขึ้นไปไว้เถิงอักนิฐมหาพรหม ส่วนว่าบุญของเราไส้เจ้าข่มลงไปไว้เถิงมหาอวินรกฯ ผิแลว่าเจ้ามีบุญกว่าเราจริงไส้ก็ดียิ่งนักหนาแลไว้ เราจะลองบุญของเจ้าดูพรุกนี้ และเมื่อเช้าพระสงฆ์เจ้าทั้งหลายจะมาฉันจังหันในพระราชมณฑิร ๖ หมื่นพระองค์ ครั้นพระสงฆ์ทั้งหลายภฤตากริตย์แล้ว เราจะถวายไตรจีวรแต่พระสงฆ์ทั้งหลาย ๖ หมื่นสำรับ จึงถ้วนพระสงฆ์ทั้ง ๖ หมื่นพระองค์นั้น แลพรุกนี้ เมื่อเช้าเจ้าเร่งหาไตรจีวรไว้ให้เราจงได้ ๖ หมื่นสำรับในวันพรุกนี้เช้าเถิดฯ ถ้าว่าเจ้าหาไว้ให้แก่เราได้ดุจดังคำเราว่าดังนี้ เรางจะได้รู้ว่านางมีบุญจริงแลปรากฎบุญนางทั่วทั้งชมพูทวีปนี้จริงแลฯ ถ้าแลว่านางหาให้แแก่เรามิได้ดุจดังคำเราว่านี้ไส้ เราก็จะรู้บุญนางในวันพรุกนี้แล ครั้นว่าพระองค์ตรัสเท่านั้นแล้วก็เสด็จไปจากที่นั้นแลฯ เมื่อนั้นนางอสันธมิตตาครั้นได้ยินพระภัสดาภรกล่าวแก่นางดังนั้น นางก็เร่งเป็นทุกข์นักหนา นางก็คิดในสใจว่าชะรอยพระบาทพระราชนสามีนี้เคียดแก่กูแล้วมิอย่า จึงกล่าวดังนี้แก่กูนางก็คิดเล่าว่าชะรอยพระองค์เจ้าว่ากูเคียดแก่พระองค์ ๆ จึงกล่าวนักหนาดังนี้ ฯ นางอสันธมิตตาก็เป็นทุกข์โศกนักหนา แลหายใจใหญ่แล้วก็นอนกลิ้งไปกลิ้งมาเหนือเขนยทอง แต่ชิพพค่ำเท่าเถิงเที่ยงคืนแลนอนบมิหลับเลยสักน้อย นางอสันธมิตตาเร่งหายใจใหญ่แล้วแลคำนึงในใจดังนี้ แลว่ากูจะได้ไตรจีวรมาแต่ที่ใด แลจะถ้วน ๖ หมื่นสำรับหังหนอฯ วันนั้นไส้เดือนเพ็งบูรณ์วันอุโบสถมีแล ในเมื่อราตรีกาลเที่ยงคืนวันจึงพระจตุโลกบาลทั้ง ๔ ตน ๆ หนึ่งชื่อท้าวกุเวรุราช คนหนึ่งชื่อว่าท้าวธตรฐราช คนหนึ่งชื่อว่าท้าววิรูปักขราช คนหนึ่งชื่อว่าท้าววิรุฬหกราช แลพระจตุโลกบาลทั้ง ๔ ตนนี้ไส้เถิงวันดับก็ดี วันเพ็งก็ดี เดือนขึ้น ๘ ค่ำ เดือนแรม ๘ ค่ำก็ดี ย่อมไปเที่ยวดูคนทั้งหลายอันทำบุญแลทำบาปในแผ่นดินนี้ฯ กล่าวเถิงพระจตุโลกบาล เมื่อนั้นก้าวกุเวรุราชคือองค์พระไพสพมหาราชนั้นธมีหมู่ยักษ์เสนาบดีเป็นบริวาร แลเสร็จไปในยานทิพย์อันดีแต่อาลกมันทาพิมาน อันมีเบื้องอุตตรทิศ แล้วจึงเสด็จมาล่วงทักษิณทิศไส้ฯ พระไพศพมหาราชธคลายผ่านหน้าบัญชรวรราชมณฑิรนางอสันธมิตตานอนอยู่นั้นจึงพระไพศพมหาราชนั้นธได้ยินเสียงนางอสันธมิตตาทอดใจใหญ่อยู่เพราะว่าอยู่ ยังหาผ้าไตรจีวรมิได้ถ้วน ๖ หมื่นสำรับดังคำท่านผู้เป็นสามีกล่าวนั้นฯ และพระไพศพมหาราชนั้นธจึงลงจากยานทิพย์แล้วแลเข้าไปใกล้นางอสันธมิตตาแล้วว่าดังนี้ว่า ดูกรเจ้าอสันธมิตตาแม่เจ้าอย่าได้เป็นทุกข์เป็นโศกเลย เมื่อกำเนิดแต่กอนโพ้นเจ้าไส้ได้ให้ทานผ้าผึ้งแก่พระปัเตยกโพธิเจ้าพระองค์ ๑ บุญของเจ้านั้นยังมากนักหนาแล ด้วยเดชอำนาจบุญเจ้าอันเจ้าได้ถวายผ้าแก่พระปัเตยกโพธิเจ้าแต่ก่อนนั้น ผลบุญนั้นจะได้แก่เจ้าแลจงเจ้ามารับเอาเถิด ครั้นพระไพศพกล่าวแก่นางให้รู้แล้วดังนั้นฯ ึงพระไพศพมหาราช ธจึงเอาประอบแก้วทิพย์อันหนึ่งมา ด้วยฤทธิแห่งธพระไพศพ ๆ จึงเปิดผาประอบแก้วนั้นแล้วธก็ยืนให้แก่นางอสัธมิตตาแลดูผ้าทิพย์ อันมีที่ในประอบแก้วนั้นฯ ครั้นว่าพระไพศพมหาราชส่งประอบแก้วนั้น ให้แก่นางอสันธมิตตาแล้ว ๆ ธก็สั่งสอนนางอสันธมิตาด้วยถ้อยคำว่าดังนี้ ภัท์เท ดูกรเจ้าอสันธมิตตา ผิแลว่าเจ้ามีประโยชน์ด้วยผ้าไส้ เจ้าจึงเผยฝาประอบผ้าทิพย์นี้แล้ว ๆ เจ้าจึงชักเอาผ้าออกจากประอบแก้วนี้เถิด ผ้าทิพย์อยู่ในประอบแก้วนี้แล ผิแลว่าเาจะเอาเท่าใด ๆ ก็ดีบมิรู้สิ้นสุดเลย ผ้าฝูงนี้ไส้แม้นแลว่าจะปรารถนาเอายาวเท่าใดก็ดี ได้ดังใจทุกเมื่อแลฯ พระไพศพมหารากล่าวเท่านั้นแล้วธก็เสด็จขึ้นสู่ยานทิพย์แล้ว ก็เสด็จไปสู่อาลกมันทาพิมานอันเป็นที่อยู่โดยอุดรทิศพระสิเนรุราชบรรพตนั้นแลฯ ครั้นว่ารุ่งขึ้นเมื่อเช้าพระเจ้าศรีธรรมาโสกราชธก็อังคาสจังหันแก่พระสงฆ์ทั้ง ๖ หมื่นพระองค์ ครั้นว่าภัตตากิจแล้ว จึงพระเจ้าศรีธรรมาโสกราชธก็บูชาพระสงฆ์เจ้าด้วยธูปแลเทียนข้าวตอกดอกไม้ แลกระแจะจวงจันทน์ทั้งหลายเสร็จแล้ว จึงนางอสันธมิตตาเทวีนางก็เอาข้าวตอกดอกไม้อันเป็นพู่พวงแลผูกปลายห้อยร้อยแลกรองด้วยดีมีพรรณสิ่งต่างกัน อันจะแต่งก้ำปลายห้อยทุกประการไส้เต็มประอบทองอันใหญ่ เอาจ้ำเท่าจันทน์จุรณ อันหอมเทียนธูป นางอสันธมิตตาจึงเอาประอบแก้วอันเต็มด้วยผ้าทิพย์ใส่ในประอบสุวรรณรัตนะอันหนึ่งแล้วจึงให้เอาประอบทองอันอื่น ครอบเหนือนั้นจึงให้สาวใช้ผู้เชื่อใจถือไปด้วย เมื่อนางอสันธมิตตาไปด้วยบริวารทั้งหลาย นางจึงอังคาสจึงหันแก่พระสงฆ์ทั้งหลาย ๆ ฉันแล้ว นางจึงบูชาพระสงฆ์ด้วยข้าวตอกดอกไม้เทียนธูปประทีปชวาลาธูปจ้ำเท่าจันทน์น้ำมันหอมหมากพลูแล้วนางจึงนั่งอยู่ พระเจ้าธรรมาศรีโสกราชแลฯ กาลนั้นพระญาจึงแลดูหน้านางอสัธมิตตาแล้ว ธนึงกล่าวดังนี้ ดูกรเจ้าอสันธมิตตาเจ้าจงเอาผ้าให้แก่เรา ๖ หมื่นสำรับเร็วบัดนี้ เราจะให้ทาน ครานี้เราจักพึ่งบุญเจ้าแล เราจะถวายเป็นไตรจีวรแก่พระสงฆ์ทั้งหลายจงถ้วน ๖ หมื่นพระองค์แลฯ เมื่อนั้นนางอสันธมิตตาจึงรับพระองค์การด้วยดีแล้ว ก็กราบทูลดังนี้ข้าแต่บพิตรผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าจักถวายผ้าแก่พระสงฆ์บัดนี้จงถ้วน ๖ หมื่นสำรับ แลพระเจ้าเร่งอวยทานแก่พระสงฆ์ให้ถ้วน ๖ หมื่นพระองค์ โดยพระหฤทัยแห่งพระองค์เจ้าบัดนี้เถิดฯ ครั้นว่า นางอสันธมิตตากราบทูลแล้ว บมิช้า นางพระญาจึงเผยประอบสุวรรณรัตนอันใส่ประอบแก้วนั้นออก นางจึงเอาประอบแก้วทิพย์นั้นชขูอยู่ด้วยมือข้างซ้าย นางจึงไขฝาประอบแก้วนั้นขึ้นด้วยมือข้างขวาแล้ว แลจึงเอาฝาประอบขวางไว้จึงเอามือข้างขวาชักเอาผ้าทิพย์ออกจากประอบแก้วนั้นแต่ทีละผืน ๆ นั้นพอได้เป็นไตรจีวรแก่พระสงฆ์ พระองค์นางถวายผืนหนึ่งก่อน พระบาทพระเจ้าศรีธรรมาโสกราชจึงรับเอาผ้าผืนหนึ่งก่อนนั้น ถวายแก่เจ้าไทยผู้เป็นพฤฒาาจารย์อันแก่กว่าพระสงฆ์ทั้งหลายนั้นก่อนแล อันว่าผ้านั้นมีพรรณเป็นอันงามประดุจเกิดมาแต่ต้นกัลปพฤกษ์อันมีในอุตรกุรุทวีปนั้นฯ ดัพนั้นนางจึงชักเอาผ้าออกจากประอบแก้วนั้น เอามาถวายแก่พระสงฆ์เจ้าโดยอันดับไปถ้วนพระสงฆ์ทั้ง ๖ หมื่นพระองค์นั้นแลฯ นางอสันธมิตตาเอาผ้าออกจากประอบแก้วดังนั้นก็ดี แลผ้าในประอบแก้วนั้นบมิรู้สิ้นบมิรู้สุดเลย แลผ้าทิพย์นั้นยังเต็มประอบแก้วนั้นอยู่ดังเก่า บมิได้บกพร่องแต่น้อย ๑ เลยฯ พระบาทพระเจ้าศรีธรรมาโสกราชเห็นเป็นมหัศจรรย์ก็ยินดีนักหนา ธก็นั่งอยู่นมัสการแก่พระสงฆ์ทั้งหลาย ๆ ธจึงให้อนุโมทนาด้วยทานอันพระบาาทพระเจ้าศรีธรรมาโสกราชให้นั้น ถ้วนทุกพระองค์ เสร็จแล้วจึงพระสงฆ์ไปจากพระบาทพระเจ้าศรีธรรมาโสกราช ๆ ก็เสด็จลงไปส่ง พระสงฆ์ทั้งหลายเถิงพระตูราชมณเฑียร ไหว้พระสงฆ์เจ้าแล้ว ๆ พระองค์จึงกลับคืนมาส่พระราชมณเฑียรเป็นปรกติดังนั้นบมิขาดฯ ครั้นว่าธคืนมาเถิงในปราสาทแล้ว ๆ ธจึงเจรจาด้วยนางอสันธมิตตาว่าดังนี้ ภัท์เท ดูกรเจ้าอสันธมิตตาผู้เป็นกัลยานีทิพย์แต่วันนี้ไปเมื่อหน้าถิ่นฐานบ้านเมืองปราสาทเรือนหลวงช้างม้าข้าไทย ไพร่พลทั้งผองเงินทองของแก้วแลนางนักสนมทั้งหมื่น ๖ พันร้อยมอบเวณให้แก่เจ้าแลนางจงเป็นเจ้าแก่เขาเถิดฯ อนึ่งแต่วันนี้ไปเมื่อหน้าผิแลว่าเจ้ามีใจจะใคร่ทำการอันใด ๆ กดีไส้จงเจ้ากระทำโดยใจเจ้า พี่จะตามใจเจ้าจงทุกประการแลฯ แต่นั้นไปก็ดีแล อันว่านางอสันธมิตตาผู้เป็นบาทบริจาแห่งพระเจ้าศรีธรรมาโสกราช ๆ ธให้อนุญาตคดังนั้นก็ดี อันว่านางผู้เป็นบาทบริจานั้นนางก็บมิอาจละเมิดท่านผู้ป็นผัวนั้นแต่น้อย ๑ เลย แม้นว่านางจะทำการอันใด ๆ น้อยหนึ่งก็ดี เทียรย่อมร่ำเรียนแต่พระบาทธผู้เป็นผัวแล้ว แลท่านบัญชาด้วยนาง ๆ จึงกระทำไส้แลอย่าว่ากว่านั้นอื่นเลยฯ พระบาทศรีธรรมาโสกราชไป่บมิเสวยข้าว นางอสันธมิตตาบมิอาจเสวยก่อนฯ แม้นว่าพระบาทบมิได้บันธมไส้นางนั้นก็มิอาจบันธมก่อนเลย เมื่อใดแลพระองค์ผู้ผัวหลับแล้วนางจึงนอน แลแม้นว่านางนอนภายหลังดังนี้ก็ดีนางบห่อนตื่นภายหลังสักคาบเทียรย่อมตื่นก่อนท่านผู้เป็นผัวทุกเมื่อเมื่อแลฯ พระเจ้าอสันธมิตตาผู้นี้แลมีมารยาทแลปรากฎด้วยรู้ด้วยหลักเฉลียวฉลาด คนรักก็หลายทั้งมิตรสหายก็มากรู้เจรจาปราศรัยแลมิเกียจคร้านอุสาหนักหนามักทำบุญให้มีพิจารณาได้ราชาภิเษกด้วยสมเด็จพระบาทในปราสาท แลได้เกป็นใหญ่แก่พระสนมทั้งหลายหมื่น ๖ พันนั้นแลฯ เมื่อนั้นจึงฝูงนางทั้งหลายซึ่งบันดาเป็นเมียรักแก่พระบาทศรีธรรมาโสกราชมาแต่ก่อนนั้น เขาทั้งหลายเห็นว่าพระองค์รักนางอสันธมิตตา ดังนั้นเขาก็ยินร้ายแลมีใจหิงษาเขาจึงเจรจาด้วยกันนี้ อันว่าท่านผู้เป็้นเจ้าเราพระบาท คิดรำพึงในใจท่านว่า นางอสันธมิตตานี้ หากเป็นหญิงคนเดียวไส้ อันจะเป็นผู้หญิงกว่านางอสันธมิตตานี้ชะรอยว่าหาบมิได้เลยฯ เหมือนท่านรำพึงในใจท่านดังนี้บมิอย่าแลท่านจึงบมิดูเราเถิงสองตาเพื่อดังนั้น ฯ อันว่เนื้อความนั้นรู้เถิงพระกรรณสมเด็จพระบาทพระเจ้าศรีธรรมาโสกาชฯ นั้นธก็รำพึงในพระทัยว่าดังนี้ อันว่าฝู่งนางทั้งหลายแลเขาว่ากล่าวดังนี้ เขาฝูงนี้เป็นคนพาบนักหนารู้แต่ติเตียนนินทาผู้มีบุญ อันว่าผู้หญิงมีหญิงมีบุญมักใหญ่ ใฝ่อันใดมาหาอันใดมาได้ดังเจ้าอสันธมิตตานี้เขาไป่มิรู้จักว่าผู้มีบุญ ผิดังนั้นมากูจะสำแดงให้เขารู้จักเจ้าอสันธมิตตาว่าผู้มีบุญ เพราะว่าเขานี้ย่อมคนใจพาลแลเขาบมิรู้กฯ กาลวันหนึ่งพระองค์จึบงให้หาขนมต้มได้ ๑๖,๐๐๐ ลูก พระองค์จึงถอดแหวนพระธรรมรงค์ดวง ๑ ออกจากพระกรแห่งพระองค์ ๆ จึงใส่เข้าในขนมนั้นแล้วฯ พระองค์จึงเอาขนาอันที่ใส่แหวนนั้นวางไว้เหนือขนมทั้งหลายนั้น แล้วพระองค์จึงให้เรียกนางทั้ง ๑๖,๐๐๐ มาชุนุกันแล้ว พระองค์จึงตรัสว่าฉันนี้ ดูกรนางทั้งหลายขนมที่ในตระไลทองนั้นลูกใดลูกหนึ่งที่พึงใจสูไส้สูเลือกเอาแลคนละดวง แลถือขนมนั้นอยู่ในมือสู เมื่อใดสูทั้งหลายเอาขนมนั้นแล้วถ้วนทั้ง ๑๖,๐๐๐ แลยังขนมแต่ลูกเดียวไส้กูจึงจะให้แก่เจ้าอสันธมิตตาเอาต่อภายหลังสู่ทั้งหลาย เพราะว่าขนมทั้งหลายทั้ง ๑๖,๐๐๐ แลกับดวงหนึ่งนี้ไส้ กูถอดพระธำมรงค์จากมือกู ๆ เอาใส่ไว้ในขนมนั้นแลกูอธิฐานวว่านางผู้ใดมีบุญไส้จงได้ขนมอันกูใส่แหวนนี้เถิดฯ แลสูทั้งหลายจงอธิฐานในใจสูแล้ว ๆ เลือกเอาคนละดวงโดยชอบใจแห่งสู่เถิดฯ เมื่อนั้นนางทั้งหลาย ๑๖,๐๐๐ นั้นเลือกเอาขนมนี้นตระไลทองละคนละดวงโดยพึงใจเขาสิ้นทั้ง ๑๖,๐๐๐ ดวงแล้ว แลมิอาจเอาขนมดวงที่ใส่แหวนนั้นได้เลย ส่วนว่าขนมดวงเดียวอันที่ใส่แหวนนั้นยังคงอยู่ในตระไลทองนั้น พระองค์จึงให้นางอสันธมิตตาไปเอา นางอสันธมิตตาจึงค่อยลุกไปแลมีดำเนินเป็นอันงาม แลหยิบเอาขนมดวงนั้นมาถืออยู่ในมือนาง พระญาธจึงตรัสแก่นางทั้งหลายว่าสูทั้งหลายนี้มีขนมถืออยู่ในมือสูนั้นสูบิออกดู ผิว่าผู้ใดแลได้แหวนพระธำมรงค์กูใส่เอามาให้แก่กู ๆ จึงจักรู้ว่าผู้นั้นมีบุญจริงแลฯ เมื่อนั้นอันว่านางทั้งหลาย ๑๖,๐๐๐ นั้นต่างคนต่างแบะขนมในมือตนออกทุก ๆ คน ก็มิได้แหวนพระธำมรงค์สักคน พระองค์จึงจับเอาขนมที่ในมือนางอสันธมิตตาพระองค์จึงแบะขนมนั้นออกต่อหน้านางทั้งหลาย แลเตือนให้นางทั้งหลายแลดูพระองค์จึงได้แหวนพระธรรมรงค์ในขนมดวงนั้นต่อหน้านางทั้งหลาย พระองค์เจ้าจึงเจ้าอสันธมิตตานี้มีบุญมากกว่านางทั้งหลายแล สูหากมิรู้ว่านางอสันธมิตตานี้มีบุญได้กระทำมาแต่ก่อน แลสูย่อมกล่าวขวัญกูแลเห็นว่ากูรักนางอสันธมิตตาไส้ แลกูสำแดงบุญนางอสันธมิตตาให้สูรู้ไส้ ครั้นนางอสันธมิตตาได้ยินพระองค์มีพระโองการดังนั้น นางจะใคร่จะแดงบุญแห่งตนซึ่งได้กระทำมาแต่ก่อน นางจึงถือประอบแก้วด้วยมือข้างซ.าย แล้วเอามือข้างขวาชักเอาผ้าทิพย์ ในประอบแก้วนั้นออกได้พันผิน นางจึงเอามาถวายแด่พระบาทพระเจ้าศรีธรรมาโสกราชต่อหน้านางทั้งหลาย ๑๖,๐๐๐ แล้วนางอสันธมิตตาจึงเอาผ้าทืพย์นั้นออกจากประอบแก้วนั้นให้แก่ท้าวพระญาทั้งหลายอันกินบ้านนอกแลคนละ ๕,๐๐๐ ผืน ให้แก่เยาวราชอันต่าง ๆ องค์พระญาแลองค์ละ ๑๐๐ ผืน แลให้แก่ชาวเจ้าราชตระกูลทั้งหลายแลคนละ ๕๐ ผืน ให้แก่นางทั้งหลายอันเป็นเมียพระญาที่กินเมืองบ้านนอกออกแก่นางนั้นแล คนละ ๕๐ ผืน แลให้แก่หมู่มนตรีเสนาบดีคนละ ๕๐ ผืนฯ แลให้แก่พระสนมทั้งหลายได้ หมื่น ๖ พันแลคนละ ๒๕ ผืน แลให้แก่ไพร่ข้าไทยทั้งหลายด้วยกันทั้งหญิงแลชายใหญ่น้อยอันมีในเมืองปาตลีบุตรมหานครนั้นแลคนละ ๒๒ ผืนทั่วทุกคนบมิได้เปล่าเลยสักคนแลฯ เมื่อนั้นพระญาศรีธรรมาโสกราชแลท้าวพระญาสามนตราชตระกูล พระหลวงขุนหมื่นทมุนทนายพลไพร่ฟ้าข้าไทยทั้งหลาย อันมาชุมนุมมั่วมู่ลกันแห่งนั้นเห็นนางอสันธมิตตาเอาผ้าทิพย์ออกจากประอบแก้วลูกเดียวนั้นบมิรู้สิ้นบมิรู้สุดดังนั้นคนทั้งหลายเห็นเป็นอัศจรรย์ยิ่งนักหนา จึงโห่ร้องส้องสาธุการถวายด้วยเสียงมี่ก้องเสียงร้องเยงชุรงมในวันนั้นดังตลาดเบื้องพื้นได้ยินทั่วทุกสถานแล พระญาศรีธรรมาโสกราชเห็นของอันตระการอันบห่อนมีแลมีดังนั้น พระองค์ยิ่งอัศจรรย์นักหนา แลจะใคร่รู้อำเภอบุญนางอสันธมิตตา อันได้กระทำมาแต่ก่อนนั้น พระองค์ธจึงตรัสถามว่าฉันนี้ ภัท์เท ดูกร เจ้าอสันธมิตตาราชเทวี อันว่าประอบแก้วนี้พี่เห็นเจ้าได้มาแลพแลดูสู้พิศวงแก่ใจพี่เพราะว่าพี่มิรู้แห่งประอบแก้วนี้มาแลฯ ประอบแก้วนี้เจ้าได้มาแต่ใดเชิญเจ้ามา บอกแก่พี่แลพี่จะขอชมบูญเล่าเถิด ฯ เมื่อนั้นนางอสันธมิตตาเมื่อนางจะสำแดงบุญแห่งนางอันได้กระทำมาแต่ก่อน แลนางพระญานั้นจึงกราบทูลดังนี้เทว ข้าแต่บพิตรพุทธเจ้าข้าเมื่อกำเนิดก่อนโพ้นข้าพระบาทได้ถวายผ้าเช็ดหน้า ๑ แก่พระปัเตยกโพธิเจ้าพระองค์หนึ่ง เมื่อข้าได้ถวายผ้านั้นพระไพศพมหาราชเป็นทืพย์พญาณแก่ข้าแลฯ เมื่อวันพระองค์กล่าวแก่ข้าพระเจ้าว่าจะเอาผ้าไตรจีวรก่ข้าจงได้ ๖ หมื่นสำหรับจะถวายแก่พระสงฆ์ ๖๐,๐๐๐ พระองค์นั้นข้าก็หาให้พลันนั้น พระหฤทัยพระองค์เจ้าบมิได้แล ข้าก็เป็นทุกข์โศกนักหนา แลข้านอนกลิ้งเกลือกไปมาเหนือที่นอน เมื่อนั้นพระไพศพมหาราชเจ้าจึงเสด็จมาด้วยยักขเสนาทบดีทั้งหลาย ก็กลายหน้าต่างปรสาสาทราชมณฑิรที่ข้านอนแลได้ยินเสียงข้าหายใจใหญ่ใฝ่หาผ้าจะใคร่ได้ไตรจีวรอยู่ดังนั้น พระไพศพมหาราชธจึงลงจากยานมาใกล้ที่นอนข้าพระบาท จึงพระไพศพมหาราชก็กล่าวแก่ข้าดังนี้ ดูกรเจ้าอสันธมิตตาเทวีอย่ามีทุกข์โศกสักอัน จงเจ้าคำนึงดูเมื่อก่อนเมื่อกำเนิดฑ้นเจ้าสิยังได้อวยทานผ้าเช็ดหน้าผืน ๑ แก่พระปัเตยกโพธิเจ้าพระองค์ ๑ นั้นเลยเจ้าอย่าร้อนใจเลย แลเจ้าจะได้ด้วยผลบุญของเจ้าอันใดอวยทาน แก่พระปัเตยกโพธิเจ้านั้น หากจะให้ได้ผ้าทิพย์แก่เจ้าบัดนี้แลฯ ครั้นพระไพศพกล่าวแล้วธจึงเอาประอบแก้วดวง ๑ มายื่นให้ในมือข้าแลแสสอนข้าดังนี้ ผิแลเจ้ามีประโยชน์ด้วยผ้าเจ้าถือประอบแก้วนี้ด้วยมือข้างซ้าย แลเจ้าถือชายผ้าทิพย์ด้วยมือข้างขาวา แล้วจึงเอาผ้าทิพย์ในประอบแก้วนี้เถิดฯ จำเดิมแต่ข้าได้ประอบแก้วแต่สำนักพระไพศพมหาราชนั้นมาไว้ ผิแลข้าจะปรารถนาเอาผ้าเท่าใด ๆ ก็ดีก็ได้ดังใจข้าใฝ่แลฯ ผิข้าจะใคร่ได้ผ้าขาวก็ได้ผ้าขาวผิช้าจะใคร่ได้ผ้าแดงก็ได้ผ้าแดงโดยใจ ผิข้าจะใคร่ได้ผ้าดำก็ได้ผ้าดำโดยใจผิข้าจะใคร่เอาผ้าเหลืองก็ได้ผ้าเหลืองโดยใจ ผิข้าจะใคร่ได้ผ้าแดงอ่อนก็ได้ผ้าแดงอ่อนโดยใจฯ ผินึกในใจว่าจะใคร่ได้ผ้าพรรณสิ่งใด ๆ ก็ดีก็ได้โดยใจข้าทุกอันแลฯ ผิแลข้าจะใคร่เอาผ้าที่ในประอบแก้วนี้ออกลาดไปให้เต็มทั่วทั้งชมพูทวีปอันกว้างได้ ๑๐,๐๐๐ โยชน์นี้ก็ดีก็จะทั่วทั้งมวลอันจะสิ้นจะสุดในที่ประอบแก้วนี้เลย เพื่ออำนาจผลบุญอันข้าได้อวยทานผ้าเช็ดหน้าผืน ๑ แก่ประปัเตยกโพธิเจ้าแต่ก่อนนั้น แลผลบุญนั้นก็จึงมาได้แก่ข้าในบัดนี้แลฯ นางอสันธมิตตาราชเทวีสำแดงผลบุญนั้นอันได้กระทำแต่ก่อนให้พระญาศรีธรรมาโสกราชฟังดังนั้น แล้วนางอสันธมิตตาจึงสั่นสอนอนุโมทนารพะญาศรีธรรมาโสกราชด้วยคลอดธรรมดังนี้ว่ ข้าแต่พระราชสมภารเจ้า อันว่าฝูงเทพยดาแลมนุษย์ทั้งหลายอันเกิดในโลกนี้ ได้พบพระพุทธเจ้าพระธรรมเจ้าพระสงฆเจ้าไส้ทุกข์นักยากนักหนา แลผู้ใดแลมีปรีชารู้หลักแลขวนขวายทำบุญทำไส้ก็จะได้เถิงพระนวโลกุตรธรรมแลฯ ก็จะพาตนเข้าสู่นครนิพพานตนเป็นข้าแต่ผู้เป็นเจ้า อันว่าคนทั้งหลายนี้จะได้มาเกิดเป็นมนุษย์ในเมืองดินนี้ก็ยากนักหนา แลผู้ใดมาเกิดเป็นมนุษย์ดังนั้นโสดแลจะมีใจใสสัทธาแลจะรู้หลักเชื่อบุญเชื่อบาปนั้นก็ยากนักหนาแลฯ อนึ่งโสดผิว่ามีใจใสสัทธาเชื่อบุญเชื่อบาปแลรู้หลักดังนั้นก็ดี แลจะได้ฟังธรรมอันพระพุทธเจ้าบัณฑูรไว้นั้นก็ยากนักหนาไส้ ผิแลว่าได้ฟังธรรมดังนั้นก็โแลจะจำไว้ได้เป็นมั่นคงแล้วและจะยังเทศนาให้ท่านผู้อื่นฟังสืบไปเล่าได้ฟังด้วยดังนั้นก็ดี ยากนักหนาแลคนเป็นข้าแต่ผู้เป็นเจ้า อันว่าเกิดมาเป็นคนแลยากนักหนาดังนั้นก็ผู้เป็นเจ้าก็ยังตรัสรู้แล้ว แลอันว่าเป็นคนแลมีใจในสัทธาในศาสนาพระพุทธเจ้าแลรู้หลักเชื่อบุญเชื่อบาปดังนั้นก็ดี พระองค์เจ้าก็ตรัสรู้แล้ว อันว่ามีใจใสสัทธาแลได้ฟังพระธรรมเทศนาดังนั้นพระองค์เจ้าก็ย่อมตรัสรู้แล้ว อันว่าฟังธรรมแล้วแลจำพระธรรมนั้นแลเทศนาให้ผู้อื่นฟังสืบไปภายภาคหน้าก็ดี พระองค์เจ้าก็ตรัสรู้แล้วแลทั้งนี้ไส้ ย่อมการกระทำยากนักหนาทุกประการ พระองคืเจ้าพร่ำตรัสรู้อยู่ทุกประการแล เหตุดังนี้แลข้าจึงผิดแต่พระองค์เจ้าฯ แต่นี้ไปเมื่อหน้าจงผู้เป็นเจ้าเอาพระองค์เจ้าผู้เป็นเจ้าประกเอบ ในศาสนาพระพุทธเจ้าแลพระองค์เจ้าเร่งสดับนิ์ฟังธรรมจำศีลทำบุญนักหนา ในศาสนาพระพุทธเจ้าเถิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์นั้น อันว่าเราท่านจะได้พบศาสนาพระพุทธเจ้านี้ยากนักหนาแล อันว่าบุญแลธรรมอันได้กระทำในสำนักนิ์พระพุทธเจ้าแลประปัเตยกโพธิเจ้าแลพระอรหันตาขีณาสพเจ้าทั้งหลาย อันว่าผลบุญนั้นมีมากนักหนา ถ้าจะนับจะคณนาไส้บมิถ้วนได้เลยฯ ด้วยการดังนี้แล แต่นี้ไปเบื้องหน้าจงท่านหมั่นทำบุญ หมั่นอวยทานหมั่นสดับนิ์ฟังธรรมจำศีลหมั่นสอนใจอย่าได้เคียดเสพย์ด้วยมิตรสหายผู้ดี แลพระองค์เจ้าอย่ามีความประมาทแก่พระธรรมสักเมื่อเลยฯ ครั้นว่าพระบาทพระเจ้าศรีธรรมาโสกราชได้ฟังคำนางอสันธมิตตาอนุโมทนาสอนดังนั้น พระองค์ธจึงกล่าวแก่นางพระญาว่าดังนี้ ดูกรเจ้าอสันธมิตตาแต่นี้ไปเมื่อหน้าพี่จะฟังคำเจ้าผิดแลชอบฉันใดก็ดี เจ้าผู้มีบุญกล่วแก่พี่ไส้พี่ก็จะฟังเจ้าทุกอันแลฯ แต่นั้นไปพระญาศรีธรรมาโสกราชผ้มีอำนาจจึงกระทำบุญทำกรรมนั้นนักหนาธให้กระทำพระมหาธาตุได้ ๘๔,๐๐๐ พระองค์กลางชมพูทวีปถ้วนพระนครทุกแห่ง ให้ทำพระวิหารได้ ๘๔,๐๐๐ แลถวายจันหันแก่เจ้าไทย พระสงฆ์ทั้งหลายแลวันละ ๖๐,๐๐๐ สำรับถ้วนพระสงฆ์ทั้งหลายแลวันละ ๖๐,๐๐๐ พระองค์เช้าทุกวารชั่วตนฯ แลกล่าวเถิงยศศักดิ์สมบัติแห่งพระญาศรีธรรมโสกราชผู้เป็นจุลจักรพรรดิราชแง้วแลฯ อันว่ฝูงบุญแลได้เป็นลาภเป็นดีมีราชสมบัติมากนักหนาในแผ่นดินนี้มิเท่าปรกติจักรพรรดิราชแล พลจักรพรรดิราชแห่งหนึ่ง อนึ่งโสดผู้ใดกระทำบุญแลมียศศักดิ์สมบัติยิ่งกว่าพระญจักรพรรดิราชทั้ง ๒ สิ่งนี้ ก็ยังมีดังพระญามันธาตุราชได้เสวยราชในตุมหาทีปกับทั้งเมืองฟ้า อันชื่อว่าจาตุมหาราชิกาแลดาวดึงษาแลยาที่โภคอันดีแลมีนางฟ้าทั้งหลายอันมีรูปโฉมโนมพรรณ์วรรณเนื้อตัวแลหน้าตาเพราพร้อยเฉิดฉายงามนักหนาเป็นบริวารอีกที้งหมู่เทพยดามาไหว้มาคัลจำเริญ อยู่ทุกวารทุกคืนดุจดังขุนนางทั้งหลายอันไผเฝ้าคัลยท้าวพระญานั้น และพรรณาบุญนั้นมิถ้วนได้เลยประเสริฐผู้อยู่ในเมืองท่านแลมีบุญ ดังโชติกเศรษฐีนั้นยังมี
เมื่อนั้นยังมีเศรษฐีผู้หนึ่งชื่อโชติกเศรษฐี แลอยู่ในเมืองราชคฤห์มหานคน แลเศรษฐีนั้นมีปราสาท ๗ ชั้นพรรณย่อมแก้ว ๗ ประการสัตติพิธรัตนะฯ แลพื้นแผ่นดินบ้านนั้นย่อมผลึกรัตนะอันใสแลงามนักหนาดังหน้าแว่นอันท่านขัดสีได้แลพันคาบนั้นแล รอบบ้านนั้นมีกำแพงแก้วล้อมได้ ๗ ชั้นเทียรย่อมแก้วสัตตพิธรัตนะ แลในหว่างกำแพงนั้นมีต้นกัลปพฤกษ์เรียงกันเป็นถ้องแถวไปทุกชั้น มีซึ่งมุมปราสาทนั้นในมุมบ้านนั้นมีขุมทองทั้ง ๔ มุม ขุมทองหนึ่งนั้นกว้างได้ ๘,๐๐๐ วา ขุมทองอันหนึ่งกว้างได้ ๖,๐๐๐ วา ขุมทองหนึ่งกว้างได้ ๔,๐๐๐ วา ขุมทองขุม ๑ กว้างได้ ๒,๐๐๐ วา แลขุมทองทั้ง ๔ ขุมนี้โดยลึกนั้นยินแสน ๔ หมื่นโยชน์แล ขุมทองฝูงนั้นย่อมเต็มด้วย กองเงิน กองทอง กองแก้ว สัตตพิธรัตนะ เต็มปากขุมแลสูงขึ้น ดังท่านกองลูกตาลไว้นั้นแลฯ ผิแลว่าไปตักเอาเท่าใด ๆ ก็ดีบมิรู้บกรู้พร่องเลยาสักคาบ เงินทองแก้วแหวนอันอยู่ใต้นั้นหากพูนขึ้นมาเต็มดีดังเก่า บมิรู้บกรู้พร่องดังน้ำอันไหลออกมานั้นแลฯ แล ๔ มุมปราสาทนั้นมีอ้อยทอง ๔ ลำ ๆ ลำใหญ๋เท่าลำตาลอันใหญ่ แลใบอ้อยนั้นเทียรย่อมแก้วมณีรัตนะแล ข้ออ้อยนั้นเทียรย่อมทอ ในปากประตูกำแพงทั้ง ๗ ชั้นนั้นมียักษ์อันเป็นใหญ่ ๗ ตนอยู่เฝ้าอีกด้วยบริวาร ในปากประตูชั้นนอก มียักษ์ผู้หนึ่ชื่อว่ยมโกลิยักษ์แลมียักษ์บริวรพันหนึ่งอยู่เฝ้าในปากประตูกำแพงแก้วอันเป็นคำรบ ๒ ชั้นนั้นมียักษ์ผู้หนึ่งชื่ออุลลแลมีบริพารยักษ์สองพัน อู่เฝ้าในปากประตูคำรบ ๓ เหมือนนั้นยักษ์ชื่ออมิละยักษ์มีบริวาร ๓,๐๐๐ อยู่เฝ้าฯ ในปากประตูอันเป็นคำรบ ๔ ชั้นมียักษ์ผู้ใหญ่ชื่อวชิระวามยักษ์อีกด้วยบริวาร ๔,๐๐๐ อยู่เฝ้า ในปากประตูกำแพงเป็นคำรบ ๕ ชั้น มียักษ์ผู้ ๑ ผู้ใหญ่ชื่อสกนยักษ์มีบริวาร ๕,๐๐๐ อยู่เฝ้าพยาบาลในปากประตูกำแพงอันเป็นคำรบ ๖ ชั้นนั้นมียักษ์ผู้ใหญ่คนหนึ่งชื่อกตารตยักษ์แลมียักษ์บริวาร ๖,๐๐๐ อยู่เฝ้า ในปากปากประตูกำแพงแก้วอันเป็นคำรบ ๗ ชั้นนั้นมียักษืผู้ใหญ่ผู้หนึ่งชื่อทิสาปาโมกขยักษ์ มียักษ์บริวาร ๗,๐๐๐ อยู่เฝ้าพยาบาล แลสมบัติเศรษฐีนั้นโอฬาริกดังนั้น คนทั้งหลายจึงไปพิดทูลแก่พระเจ้าพิมพิสารราชผู้เสวยราชในเมืองราชคฤห์นครนั้น พระญานั้น ธ จึงให้เอาเศวตรฉัตรมาอ๓เษกมหาเศรษฐี แลนางเมียโชติกมหาเศรษฐีนั้น นางแก้วอันมาแต่อุตรกุรุทวีปเมื่อมาแต่อุตรกุรุทวีปนั้น นางเอาหม้อข้าวแก้วมาด้วยลูกหนึ่ง แลเอาก้อนเส้าเท่าลูกฟักมาด้วย ๓ ก้อนแลแก้วนั้นชื่อโชติปาสาณ แลเอาข้าวสารมาด้วย ๓ ทะนานอันชื่อว่าสัญชาติสาลีนั้น ๒ ทะนานข้าวอันมีคนธรสหอมนักหนา ข้าว ๒ ทะนานหุงให้โชติกเศรษฐีกินรอดชั่วตนข้าวนั้นมิรู้สิ้นเลย ครั้นเอาข้าวสารใส่หม้อแล่งใส่ข้าวสารนั้นก็เต็มมาดังก่อนแล ข้าวสารนั้นบมิรู้สิ้นเลยสักคาบผิจะใส่เต็มร้อยเกวียนก็ดี ข้าวสาร ๒ ทะนานนั้นบมิรู้บกรู้พร่องไปเลยเต็มอยู่ทั้ง ๒ ทะนานนั้นดังก่อนแล เมื่อจะหุงข้าวเอาข้าวสาร ๒ ทะนานนั้นไส่ลงในหม้อแก้วแล้ว จึงตั้งขึ้นเหนือก้อนเส้าแก้วอันชื่อว่าโชติกปาสาณนั้น ครั้นเอาหม้อตั้งขึ้นบัดเดี๋ยวไฟหากลุกขึ้นในก้อนเาแก้วนั้นเอง ครั้นว่าข้าวนั้นสุกไส้ไฟหากดับไปเองแลฯ เมื่อแกงแลทำขนมขต้มของกินอันใด ๆ ก็ดุจเดียว แลฝู่งอันใดปราสาทเหย้าเรือนเศรษฐีนั้นเทียรย่อมรุ่งเรืองด้งแก้วรัศมีแก้วทุกเมื่อแล ไต้ไฟประทีปเทียรแห่งเขานั้นบมิขาดเลย สมบัติเป็นมลากเป็นดีแห่งโชติกเศรษฐ๊นั้นลือชาทั่วแผ่นดินชมพูทวีปนี้ทุกแห่ง แลฝูงมหาชนคนทั้งหลายต่างคนต่างขึ้นยานคานหามจึงมาดูสมบัติแห่งโชติกเศรษฐ๊นั้น ๆ จึงให้หุงข้าว ๒ ทะนานอันเอามาแต่อุตตรกุรุทวีปนั้นให้แก่ฝูงคนทั้งหลายอันที่มาดูเล่นนั้นกินแล จึงไปเอาเครื่องสนิมพาภรณอันเป็นเครื่องประดับนิ์ตนเขานั้น แลเอามาแต่ต้นกัลปพฤกษ์นั้นมาประดับนิ์ให้เขาที่ไปดูนั้นทุกคนแลฯ แล้วเศรษฐีจึงเผยขุมทองอันกว้างได้ ๒ วานั้นให้แลดู แลเศรษฐีจึงว่าคนผู้ใดจะใคร่จะเอาเงินทองแก้วแหวนเท่าใดก็ดี แลให้เก็บเอาโดยใจท่านผู้จะปรารถนาเถิดฯ ฝูงคนทั้งหลายในชมพูทวีปนั้นต่างคนต่างมาตักเอาโกยเอาเงินทองแก้วแหวนที่ในขุสมทองอันเดียวนั้น ๆ บมิรู้บกรู้พร่องเลยสักคาบแล ว่าจะลงประมาณมือหนึ่งบมีแลฯ เมื่อนั้นพระญาพิมพิสารผู้ราชเสวยราชสมบัติในเมืองราชคฤห์นครนั้น แลมีพระทัยจะใคร่เห็นสมบัติ แห่งโติกเศรษฐีนั้น พระองค์จึงเสด็จมาด้วยบริวรทั้งหลายเถิงปากประตูกำแพงแก้วชั้นนอกนั้นก่อนฯ แลข้าหญิงเศรษฐีนั้นแต่งกวาดแผ้วหยากเยื่อเสียนั้นแลมีรูปโฉมเป็นอันงามนัก แลทาสีผู้นั้นก็ยื่นมือไปเพื่อว่าจะให้พระญานั้นหน่วงขึ้นที่ปากประตูนั้นแล พระญานั้นมิทันหน่วงมิทันขึ้นเลย เพราะว่าพระญานั้นเป็นทาสีผู้นั้นงามแลพระองค์ใส่ใจว่าเมียของโชติกเศรษฐี แลพระญานั้นธบมิได้ต้องถือมือแห่งทาสีผู้นั้น เพราะพระองค์เห็นงามทแลขามใจ แลอายบมิยุดมือถือแขนทาสีนั้น แต่หมู่ผู้หญิงทั้งหลายอันอยู่กวาดแผ้วแลเอาหยากเยื่อเสียที่ปากประตูชั้นนอกนั้น้ พระญาเห็นเขานั้นงามทุกคนพระญาย่อมใส่ใจว่าเมียโชติกเศรษฐีสิ้นทั้งนั้น พระญามิอาจจับมือถือแขนเขานั้นสักแต่คนเลยฯ เมื่อนั้นโชติกเศรษฐีนั้นก็มาต้องรับพระญาพิมพิสารราชบพิตรนั้นเถิงปากประตูชั้นนอกปราสาท แลเชิญพระญาไปก่อนเศรษฐีจึงค่อยเดินตามหลังฯ ครั้นว่าพระญาแลยกเท้าย่างเข้าไปในปราสาทนั้นเห็นแก้วมณีรัตนะ อันเป็นพื้นปราสาทนั้นแสงใสรุ่งเรืองตรลอดลงไปเบื้องต่ำนั้น ขุมดุจอันลึกได้ ๗ ชั่วบุรุ าพระญาธจึงคำนึงในพระทัยว่าเศรษฐีนี้ขุดหลุมไว้แลหวังจะให้กูนี้ตกลงบมิหย่าแลพระญาจึงหยุดดูท่าเศรษฐี เศรษฐีแลเห็นพระยาหยุดอยู่ดังนั้น เศรษฐีจึงทูลแด่พระญาว่าข้าแต่พระองค์เจ้าข้าอีนนี้มิใช่หลุม คือว่าแก้วมณษีรัตนะไส้เศรษฐีจึงไปก่อนพระญาแลว่าดังนี้ ขอเชิญพระองค์เจ้าเสด็จมาตามข้าพระบาทนี้เถิดฯ พระญาจึงค่อยเสด็จไปตามหลังเศรษฐีนั้นแลที่ใดที่เศรษฐีเหยียบไส้พระญาจงเหยียบตามไปแล พระญาเดินไปตามเศรษฐีวันนั้นพระญาจึงแลดูปราสาท แต่สถานต่ำเถิงสถานเบื้องบนด้วยประการดังนั้น พระญาอชาตสัตรูผู้เป็นลูกพระญาพิมพิสารก็มาด้วยพระบิดา แลถือปลายมือพระบิดาพระญาผู้เป็นบิดาไปดูปราสาทแก้วอันงามดังนั้น จึงคำนึงแต่ในใจว่าดังนี้ อันว่าพ่อกูนี้เป็นใหญ่ไปจริงดังฤๅ แลเศรษฐีนี้แลมาอยู่ปราสาทแก้วสัตตพิธรัตนะแลผู้เป็นใหญ่ในปราสาทไม่ผิแลวันใดแลกูได้เป็นพระญาไส้ แลกูจะชิงเอาปราสาทนี้แก่กูแลฯ เมื่อนั้นพระญาธจึงขึ้นไปเถิงชั้นนั้น พอยามบ่ายแลพระญาจึงว่าแก่เศรษฐีดังนี้ กูจะกินข้าวในปราสาทมหาเศรษฐี ๆ นั้นจึงว่าสาธุข้ายินดีนักแลฯ เศรษฐีจึงอังเชิญพระญาให้สรงน้ำอันหอมแล้ว อังเชิญพระญานั่งเหนือรัตนะบัลลังก์ทองอันตั้งในบัลลังก์แก้วสัตตพิธรัตนะที่เศรษฐีเคยนั่งให้แก่พระญาธนั่งฯ เมื่อนั้นฝูงชางครัวก็หาข้าวนั้นเอากิลินปายาศ ใส่เต็มตระไลทองอันมีค่าได้แสนตำลึง แลจึงมาตั้งไว้ซึ่งหน้าพระญานั้นฯ ก็ใส่ใจว่าข้าวตัง พระญาจึงล้างมือจักเสวยข้าวปายาศนั้นฯ เศรษฐีแลเห็นพระญาจะเสวยกิลินปายาศอันแต่งไว้รองตระไลข้าวต้นดังนั้น แลเศรษฐีนั้นจึงห้ามพระญาว่าดังนี้ ข้าแต่บพิตรเจ้าข้าวอันนี้มิใช่ข้าวต้น แลข้าวกิลินปายาศต่างหาก ๆ แต่งรองตระไลข้าวต้นไส้ แลพระองค์เจ้าอย่าเพ่อเสวย กิลินปายาศนี้ไส้ไว้แต่งรองดังนี้เพื่อจะใคร่เอาอย่านั้นอย่าให้ข้าวเย็นไส้ เศรษฐีว่าดังนั้นแล้วจึงให้ข้าวต้นอันหุงด้วยข้าวสารอันมาแต่อุตรกุรุทวีปนั้นเต็มตระไลทองอันนึ่งมาตั้งเหนือตระไลข้าวกิลินปายาศนั้น แลจึงอังเชิญให้พระญาธเสวยข้าว พระญานั้นก็เสวยข้าว ข้าวนั้นก็เร่งหอมเร่งอร่อยเร่งมีโอชารสนักหนา แลหารสอันจะเสมอบมิได้เลย กินเท่าใด ๆ บมิรู้อิ่มเลยฯ มหาเศรษฐีแลเห็นพระญาเสวยข้าวนั้นมากนักแล้ว เศรษฐีจึงกราบไหว้พระญาแลขอห้ามดังนี้ ข้าแต่บพิตรเจ้าข้า ๆ เสวยข้าวแต่เท่านั้นเถิดแต่พอบังควรแลพระองค์เจ้าเสวยข้าวนี้มากนักแล้วเหยียวว่าจะเป็นอเชียระแต่พระองค์ เหยียวว่าจะเป็นโทษเพราะอาหารฯ พระญาจึงว่าแก่มหาเศรษฐีดังนี้ มหาเศรษฐีท่านคิดเสียดายข้าวแก่เรา กลัวว่าเราจะกินของท่านไปเปลืองไปหรือ มหาเศรษฐีก็ว่าดังนี้ ข้าพระบาทนี้บมิได้คิดเสียดายแก่พระองค์หาบมิได้ แลจะกลัวเปลืองก็หาบมิได้ แลข้าวข้าหม้อเดียวนี้ แกะข้าหม้อเดียวนี้ แม้นว่ารี้พลบ่าวไพร่ข้าไทยของพระองค์ทั้งหลายจะมากินสักเท่าใด ๆ ก็ดีบมิรู้บกพร่องจากหม้อนี้เลย อันว่าข้าห้ามพระองค์เจ้าไส้ข้ากลัวเหยียวพระองค์จะมีอันเป็น เพื่อเสวยอาหารพ้นประมาณ พระองค์เจ้าเสด็จยังเรือนข้าพระบาทนี้แล้วแลดีไปถ้าพระองค์เจ้าหาอันเป็นบมิได้ก็ดีอยู่ ถ้าแลพระองค์เจ้าแลมีอันเป็นไส้ ไพร่ฟ้าข้าไทยทั้งหลายจะว่าได้ ว่าพระองค์มีอันเป็นไส้ เพราะไปเรือนเศรษฐี ๆ นี้หากทำร้ายแก่พระองค์เจ้าแลฯ พระญาจึงกล่าวแก่เศรษฐีว่าสาธุดีแล้ว ผิว่าดังนั้นเราจะเสวยแต่เท่านั้นแลฯ พระญาจึงหยุดเสวย ครั้นว่าพระญาหยุดเสวยแล้วไส้ เศรษฐีจึงให้หาข้าวน้ำเลี้ยงลูกเจ้าลูกขุนทมุนทนาย ไพร่ฟ้าข้าไทยทั้งหลายอันไปด้วยพระญานั้นกินให้ทั่วทุกคน ๆ ทั้งหลายอันไปเป็นบริวารพระญานั้นกินข้าวกินแกงทุกคน ทั้งชาวเมืองทั้งหลายอันที่หากไปเองนั้นก็โ เศรษฐ๊ก็เลี้ยงให้กินทุกคน แต่ข้าวหม้อเดียวนั้นแลกับแกงหม้อเดียวนั้นกินบมิรู้สิ้นสักคาบ ผิว่าตักเอาเท่าใดก็ดีก็ยังเต็มอยู่ดังเดียวแลพระญาจึงถามมหาเศรษฐีว่าเมียของเจ้ายังมีหรือ ฯ เศรษฐีก็ทูลแด่พระญาว่าเมียข้าพระองค์มีแล นางนั้นเป็นนางแก้วมาแต่อุตรกุรุทวีปฯ พระญาก็ถามว่านางแก้วเมียของท่านนั้นอยู่แห่งใด ๆ เศรษฐีจึงขานแก่พระญาว่า ข้าแต่บพิตรนางแก้วนั้นอยู่ในครรภ์ที่นอนภายในปราสาทโพ้นแล พระองค์เจ้ามาเถิงปราสาทข้าดังนี้ก็โ ข้าพระเจ้านี้บมิรู้เพราะว่าข้าพระเจ้านี้อยู่ในสุขสมบัติแลบมิรู้เพื่อดังนั้น แลเศรษฐีนั้นจึงรำพึงในใจว่าเหมือนหนึ่งพระญาใคร่จะเห็นเมียกูแล เศรษฐีก็ว่าข้าจะไปหาเมียข้าพระเจ้านั้นมาให้ไหว้พระองค์บัดนี้ ครั้นว่ากล่าวแล้วก็ลุกไปสู่ครรภ์ที่นอนอันมีในปราสาทที่นางแก้วอยู่นั้น จึงเจนจาด้วยนางแก้วว่าดังนี้ ว่าดูกรเจ้าบัดนี้พระบาทพระเจ้าพิมพิสารราชผู้เป็นพระญาเสวยราช ในเมืองราชคฤหนครมาเถิงปราสาทแห่งเราพี่น้องนี้ แลท่านมานั่งอยู่ที่นั่งพี่ห้องนอกโพ้นแลพี่ให้เสวยข้าวแล้วแลเชิญเจ้าออกไปไหว้ท่านเถิดฯ นางจึงนึกว่าดังนี้พระญาท่านเป็นดังฤๅ แลท่านจะให้ข้าออกไปไหว้ท่านนั้นฯ เศรษฐีก็บอกว่าท่านนั้นเป็นเจ้าเป็นพระญาเสวยราชเมืองนี้ ท่านนั้นเป็นเจ้าแก่เราแลดังฤๅแลว่ามิรู้จักฯ นาวงก็ว่าข้าอยู่ทุกวันนี้ข้าบมิรู้ว่าเรานี้มีเจ้าแล ข้าพึ่งรู้ว่าเรานี้มีเจ้าในวันนี้แล บุญเรามีเพียงนี้แลมีเจ้าดังนี้ชะรอยว่าเราทำบุญแต่ก่อนโพ้น เรานี้บมิได้กระทำด้วยสัทธาอันมิยิ่งแลเราจึงเกิดมาแลมีเจ้าดังนี้ ชื่อว่าเรากระทำบุญด้วยอันยิ่งจริงไส้เราก็หาเจ้าบมิได้แลฯ เจ้าจักได้เป็นเจ้าแก่คนทั้งหลายดังท่านผู้เป็นพระญานี้แลฯ ครั้นว่านางกล่าวนางจึงว่าแก่เศรษฐีแลว่าเมื่อท่านจะให้ข้าไปไหว้ท่านผู้เป็นพระญานี้ ควรจะให้ข้าปฏิบัติเพียงใดจงเจ้ากูได้บอกแก้ข้าฯ เศรษฐีจึงว่าเจ้าไปไหว้ท่านนั้นแลเจ้านั่งอยู่ถือพัชนีวีพัดท่านอยู่เถิดฯ เมื่อนั้นนางจึงค่อยลีลาออกไปแล้ว แลยกมือไหว้พระญาแล้ว ๆ ก็ถือพัดอยู่พัดพระญาเจ้าแลฯ พัดนั้นใบตาลแก้วแลนางถืออยู่พัดพระองค์ดังนั้น ลมพัดออกแลอายธูปอันที่เขาอบผ้าทรงแลโพกพระญานั้นแลมีกลิ่นอันอบไฟนั้นไปต้องตานางแก้ว ตานางแก้วนั้นก็แสบนักหนาแลมีน้ำตานั้นไหลออกมา นางจึงเอาผ้ามาเช็ดน้ำตาเสียฯ พระญาเห็นนางเอาผ้าเช็ดตมานางนั้นพระญาใส่ใจว่านางนั้นร้อยไห้พระญาจึงกล่าวแก่โชฏิกเศรษฐีว่าดังนี้ ดูกรเจ้าโชฏิกเศรษฐีแลนางผู้เป็นเมียเจ้านี้ไป่งามนักหนาแลเห็นกูมาดังนี้ไส้ ใช่เราจะมาชิงเอาสมับัติอันเป็นมลากเป็นดีแห่งเจ้าแลนางจึงร้องไห้ฤๅ ครานี้เรามาไส้แต่ว่าเรามาชมบุญเจ้าไส้ จงเจ้าว่าแก่นางอย่าให้นางร้องไห้เลยฯ เศรษฐีกราบไหว้ทูลแดพระญาว่าดังนี้ตนเป็นข้าผู้เป็นเจ้าแลว่านางบมิได้ร้องไห้ บัดนี้อายรูปอันอบรมเครื่องสนิมอาภรณ์ อันที่พระเจ้าทรงนั้นหากมาต้องตานางข้าผู้เป็นเจ้า เพราะว่าอบด้วยไฟแลแสบตาข้าพระผู้เป็นเจ้าแล น้ำตาข้าท่านตกไส้ เพราะว่าในปราสาทข้านี้ กินอยู่สิ่งใดก็ดีอบรมสิ่งใดก็ดี ย่อมอาศัยแก่รัศมีแก้วมณีรัตนะ บห่อนอาศัยแก่ไฟเลยสักคาบ อันว่าในปราสาทพระองค์เจ้าไส้ย่อมอาศัยแก่รัศมีเพลิงแลฯ ครั้นว่าเสรษฐีกล่าวแล้วเศรษฐ๊จึงว่าดังนี้สืบไปเล่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าแต่นี้ไปเมื่อหน้า ข้าจะให้พระองค์ผู้เป็นเจ้าอาศัยแก่รัศมีแก้ว แลข้าบมิให้พระองค์เจ้าอาศัยแก่รัศมีเพลิงเก่าเลยฯ ครั้นเศรษฐ๊พิดทูลแด่พระญาแล้วเศรษฐีจึงเอาแก้วดวงหนึ่งเท่าลูกแตงโมลูกใหญ่ แลคณนาค่าแก้วดวงนั้นบมิได้เลยเศรษฐีจึงควายแด่สมเด็จพระบาทพระเจ้าพิมพิสารราช ๆ เห็นสมบัติแห่งโชติกเศรษฐ๊อันโอฬาริกประเสริฐพ้นประมาณดังนั้น ท้าวธก็มีใจโสมนัสยินดีนักหนา ธจึงจากปราสาทมหาเศรษฐ๊แล้วก็ลีลาคืนมาด้วยยศบริวาร สู่พระราชมณเฑียรแห่งพระองค์ดังเก่าแลฯ เมื่อนั้นพระญาอชาตสัตรุกุมารผู้ลูก (ทูล) พระญาพิมพิสารผู้เป็นบิดาด้วยถ้อยคำว่าดังนี้ สมบัติโอฬาริกแห่งมหาเศรษฐีนั้นบมิควรแก่มหาเศรษฐีอันอยู่อาศัยแก่เมืองเรานี้ ครั้นว่าเราชิงเอาก็เป็นสมบัติของเราผู้เป็นท้าวเป็นพระญาจึงควรไส้ฯ ท้าวพิมพิสารราชผู้เป็นบิดาจึงว่าดังนี้ อันว่าจะชวนต่อพ่อไปชิงเอาสมบัติแห่งโชติกมหาเศรษฐีนั้นบมิชอบในคลองธรรม เพื่อดังฤๅแลพ่อจึงว่าเหตุสมบัตินั้นบมิเกิดด้วยบุญเราพ่อลูกหาไม่ แลสมบัตินั้นเกิดเพราะบุญโชติกมหาเศรษฐี เมื่อมหาเศรษฐีได้กระทำบุญแต่ก่อนแลพระวิษณุกรรม มานิมิตรให้แก่มหาเศรษฐีไส้ แลมิได้ด้วยประการอื่น แลว่าเราจะชิงเอานั้นบมิควรฯ อยู่จำเนียรกาลไปพระญาอชาตสัตรุมาสมาคมด้วยเทวทัต เอาเทวทัตเป็นครู แลเทวทัตนั้นจึงสอนให้ชิงเอาสมบัติแห่งพ่อตนพระญาอชาตสัตรุนั้นก็ชิงเอาราชสมบัติถิ่นฐานบ้านเมือง แต่พ่อตนแล้วจึงฆ่าพ่อด้วยเสีย ครั้นได้ราชสมบัตินั้นแก่ตนแล้ว จึงรำพึงในใจตนว่าฉันนี้ทีนี้ควรกู ไปชิงเอาประสาทแก้วของโชติกมหาเศรษฐี พระญาอชาตสัตรูจึงเอารี้พลไปสะพัดบ้านโชติกมหาเศรษฐี วันนั้นพอเป็นวันศีล มหาเศรษฐีกินข้าวแล้ว แลไปจำศีล ๘ อันอยู่ฟังพระธรรมเทศนา แต่สำนักนิ์พระพุทธเจ้าในพระเวฬุวันพระญาอชาตสัตรุมิรู้ เศรษฐีไปฟังพระธรรม พระญาใส่ไจว่าเศรษฐีอยู่ในปราสาท แลเมื่อพระญาเอารี้พลไปสะพัดนอกกำแพงแก้วชั้นนอกนั้น ช้างม้ารถบทจรทั้งหลายแลเห็นเงาของตนเองในกำแพงแก้วนั้น เขาใส่ใจว่ามีรี้พลอยู่ภายในจะออกมาก่อรบเขา ๆ มีใจกลัวบมิอาจเข้าไปแล ช้างม้าทั้งหลายย่อมเอางาลงปักดิน อยู่แลบมิอาจเข้าไปสู่กำแพงแก้วนั้นได้เลยฯ เมื่อนั้นจึงพระญาอชาตสัตรุเร่งขับรี้พลเข้าไปฯ เมื่อนั้นจึงยักษ์ผู้หนึ่งชื่อยมโกลียักษืแลอยู่เฝ้าประตูกำแพงแก้วชั้นนอกด้วยบริวารพันหนึ่ง ยักษ์นั้นเห็นพระญาอชาตสัตุไปนั้น ยักษ์ผู้นั้นจึงร้องถามว่าเหวยพระญาอชาตสัตรุท่านจะมาเยียใดยมโกลียักษ์แลบริวารทั้งนั้นเขาก็ถือกระบองเหล็กแล้วเขาสำแดง ดังจะตีแล้วเขาตระหวาด เขาก็ไสพระญาอชาตสัตรุแลบริวารทั้งหลายกระจัดกระจายแล่นหนีพรัดพรายกันไปสิ้นฯ พระญาอชาตสัตรุตระหนกตกใจนักหนา จึงแล่นหนีเข้าไปสู่อารามพระพุทธเจ้าด้วยด่วนนักหนาฯ โชฏิกเศรษฐีลุกขึ้นจากที่นั้นแลถามพระญาว่าดังนี้ วันนี้เป็นใดพระองค์ผู้เป็นเจ้ามาด่วนนักหนาปานฉะนี้ฯ พระญาจึงว่าแก่โชฏิกเศรษฐี ๆ ใช้ให้เขาทั้งหลายรบเร้าไล่เรามาแล้ว เศรษฐีก็แล่นมาก่อนเราใส่กลนั่งอยู่ฟังธรรมแลใส่กลว่าบมิรู้ฯ เศรษฐีจึงว่าดังนี้ผู้เป็นเจ้าจะไปชิงเอาปราสาทข้าหรือ ฯ พระญาก็ว่าเราชิงเอาปราสาทเศรษฐีจริงแลฯ เศราฐ๊ก็ว่าดังนี้สมบัติแห่งข้าสิ่งใด ๆ ก็ดีมาตรว่าด้วยชิงเชิงหูกก็ดีแลข้าบมิได้ให้แก่ผู้ใด แลผู้นั้นก็บมิอาจเอาสมบัติข้าได้ฯ พระญาจึงว่าแก่เศรษฐีเจรจาใหญ่ดังว่าตนเป็นพระญาแลฯ เศรษฐ๊ก็ว่าข้ามิใช่พระญาแต่เท่าว่าข้าเชื่อบุญแห่งข้านั้นไส้ สมบัติแห่งข้าบมิได้ให้อย่าว่าท่าวพระญาปานดังพระองค์เจ้านี้ แต่พระองค์เดียวเลย แม้นว่าท้าวพระญาผู้มีศักดานุภาพปานดังผู้เป็นเจ้าท่านนี้ได้พัน ๑ ก็ดี บมิอาจเอาสมบัติแห่งข้านี้ได้เพราะว่าข้าบมิได้ให้ ต่อว่าเมื่อข้าให้จึงเอาได้แลฯ ถ้าว่าผู้เป็นเจ้ามิเชื่อบุญข้าไส้ข้าจะให้ผู้เป็นเจ้าเชื่อบุญข้า อันข้าได้กระทำมาแต่ก่อนโฑ้นมาตรว่าแต่แหวนข้า ๒๐ ดวงนี้ อันมีในมือข้า ๑๐ นิ้วเมื่อข้าบมิได้ให้แด่ผู้เป็นเจ้าฉันใดผู้เป็นเจ้าจะเอาได้อังเชิญท่านถอดเอาโดยใจท่านเถิดฯ เมื่อนั้นพระญาอชาตสัตรู ครั้นว่าได้ยินโชฏิกเศรษฐีกล่าวดังนั้นก็มีใจเดือดฟุ้งนักหนา อุปมาดังนาคราชแลท่านเอาค้อนเหล็กตีที่โคนหางแล พระญานั่งอยู่แลกระหย่อนองค์โลดขึ้นทั้งนั้นก็ดีขึ้นสูงได้ ๑๘ ศอกฯ ลงยืนอยู่กลางแผ่นดินจึงโจนขึ้นอีกที ๑ เล่าโดยสูงได้ ๗๐ ศอก พระญาอชาตสัตรูผู้มีกำลังนักหนาดังนั้น ตระเบงเร่งบิดตนไปมาเบื้องขวา แล้วจึงถอดเอาแหวนในมือโชฏิกเศรษฐีทั้งล้มทั้งลูกกระคุกหัวเข่า เหงื่อหายอายย้อยนักหนาดันั้นก็ดี บมิอาจเอาแหวนนั้นได้แลตระดวงหนึ่งเลยพระญาจึงนั่งอยู่แลฯ เมื่อนั้นโชฏิกเศรษฐีก็ว่าแด่พระญาดังนี้แหวนข้าทั้ง ๒๐ นี้ ทีนี้ข้าให้แด่ผู้เป็นเจ้าแลเชิญผู้เป็นเจ้าเอาภูษามารองรับเอาเถิดฯ เมื่อนั้นพระญาอชาตสัตรุจึงผ้าเช็ดหน้าผืน ๑ ปูลง ณ กลางดนฯ โชฏิกเศรษฐีจึงหยอดมือลงเหนือผ้าเช็ดหน้านั้น เฉพาะซึ่งหน้าพระญาอยู่นั้น บัดเดี๋ยวตระบัดใจแหวนทั้ง ๒๐ ดวงนั้นก็ลอยออกจากนิ้วมือโชฏิกเศรษฐี แลตกลงเหนือผ้าเช็ดหน้านั้นแล โชฏิกเศรษฐีจึงกล่าวแก่พระญาอชาตสัตรุดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้า อันว่าสมบัติแห่งข้าบมิได้ให้ไส้ อาจเอาของข้าบมิได้ดังนี้แล เมื่อใดแลข้าให้ไส้แลจึงได้ของข้าดังนี้ดังผู้เป็้นเจ้าเห็นดังนี้แลฯ ครั้นโชฏิกเศรษฐ๊กล่าวแล้วดังนั้นก็ยืนดูสังเวชแก่ใจตัวแลฯ เศรษฐ๊จึงทูลแด่พระญาว่าข้าพระพุทธเจ้า จะขออำลาพระองค์บวชถวายพระราชกุศลแด่พระองค์เจ้า ๆ จงให้อนุญาตแก่ข้าแลว่าให้ข้าบวชเถิด เศรษฐีทูลลาบวชวันนั้นไส้ฯ พระญาอชาตสัตรุได้ยินพระญาก็ยินดีนักหนาแลคิดในใจว่าปราสาทนั้นจะได้แก่ตน พระญาจึงว่าแก่เศรษฐีดังนี้ ถ้าว่เศรษฐีท่านจะบวชเราก็จะให้อนุญาตแก่ท่าน ๆ จงบวชเถิดฯ เมื่อนั้นจึงโชฏิกเศรษฐีก็โกนเกล้าเข้าบวชในศาสนาพระพุทธเจ้า แล้วก็ลุเถิงอรหัตตผลอำพลด้วยพระปฏิสัมภิทาญาณ แลมีนามอันปรากฎเจ้าโชติกเถรแลฯ ครั้นว่าบวชในพระศาสนาพระพุทธเจ้าแล้วไส้ อันว่าสมบัติทั้งหลายก็หายไปสิ้นแล มีอาทิคือว่านางแก้วอันชื่อว่านางอตุลตายํ เทวีผู้เป็นเมียโชติกเศรษฐีนั้น เทวดาเอาคืนไปสู่แผ่นดินอันชื่ออุตรกุรุทวีปดังเก่าแลฯ ทั้งปราสาท ๗ ชั้นอันแล้วด้วยแก้วสัตตพิธรัตนะก็ดีแลกำแพงแก้ว ๗ ชั้นอันล้อมรอบปราสาทแก้วนั้นก็ดี แลต้นกัลปพฤกษ์อันเรียงกันไปรอบทั้ง ๗ ชั้นนั้นก็ดี แลทั้งขุมเงินขุมทองอันมี ๔ มุมปราสาทนั้นก็ดี ทั้งหม้อข้าวแก้วมณีรัตนะก็ดี อันว่าสมบัติอันเป็นมลากเป็นปีแลเกิดมาด้วยบุญโชติกมหาเศรษฐีนี้ แลสมบัติทั้งมวลนั้นก็จมลงไปในแผ่นดินสิ้นทุกอันแลฯ กล่าวสเถิงโชติกเศรษฐีโดยสังเขปแล้วเท่านี้แลฯ
ฝูงคนทั้งหลายอันเกิดในมนุษย์ได้เป็นมลากเป็นดีมีสรรพทรัพย์แลว่าได้เป็นท้าวเป็ฯพระญา แลท่านผู้เป็นท้าวพระญามหาจักรพรรดิราชนั้นได้กระทำบุญดังฤๅศีลแลทานจึงเป็นมลากเป็นดีดังนั้น แต่บุญทั้งหลาย อันมีในกามภูมินี้ได้ ๑๓๔,๒๘๐ ฉันใด อนึ่งรู้จักบุญแลบาปแลกระทำบุญด้วยใจรักฯ อนึ่งบมิรู้จักบุญแลบาปแท้บมิใจจะมักกระทำบุญฯ อนึ่งรู้จักบุญแลบาปแท้แลใจบมิรู้มักบาปหากกระทำบุญเอง ฯ อนึ่งมิรู้จักบุญแลบาปแท้ หินใจตนก็บมิโสดเพื่อเห็นท่านทำบุญแลกระทำด้วยท่านฯ อนึ่งรู้จักบุญแลบาปแลบมิกระทำบุญ ครั้นว่ามีผู้มาชวนแลมีใจรักหนักหนาจึงกระทำบุญโสดฯ อนึ่งบมิรู้จักบุญแลบาปแท้หินบมิกระทำบุญโสดฯ ครั้นว่ามีคนมาชวนไส้แลมีใจรักนักหนาจึงกระทำบุญโสดฯ อนึ่งรู้จักบุญแลบาปแลบมิกระทำบุญ ครั้นว่ามีคนมาชวนไส้ใจก็บมิมักกระทำบุญสักอันโสด สักอันแล ยังกระทำบุญโสดฯ อนึ่งบมิรู้จักบุญแลบาปสักอันแลยินละอายแก่คำอันท่นมาชวนจึงกระทำบุญฯ บุญทั้งหลาย ๘ จำพวกนี้แล ๑๐ อันโสดฯ อันใดสิ้นหนึ่งบันดาบใจดังกล่าวนี้แล จึงอวยทานมีต้นว่าข้าวน้ำหมากพลูฯ อนึ่งจำศีล ๕ อันก็ดี ๘ อันก็ดี ๑๐ ก็ดีฯ อนึ่งภาวนาเป็นต้นว่าสวดมนต์แลสวดพระพุทงธคุณแลระลึกถึงคุณพ่อแม่เจ้าไทยท่านผู้มีคุณแก่ตนแล ภาวนาอนิจจสังขารแลฯ อนึ่งคณนาบุญญานิสงส์อันได้กระทำแก่เทวดามนุษย์สัตว์ทั้งหลายอันมีคุณแก่ตนฯ อนึ่งอนุโมทนาด้วยทานแห่งท่าน ให้ทนแลกระทำบุญแลมีใจยินดีแลเอาช่วยท่านแล สัทธาด้วยท่านฯ อนึ่งกระทำด้วยกายแลบำเรอแก่พ่อแลแม่ครูบาธยาย แลกวาดวัดปัดแผ้วแผ่นดินที่พระพุทธรูปแลที่สถูปพระเจดีย์พระรีรมหาโพธิฯ อนึ่งกระทำบุญด้วยกายคือว่ายำเยงพ่อแลแม่ผู้เฒ่าผู้แก่แลครูบาอาจารย์ แลมิได้ประมาทท่านสักอันฯ อนึ่งเทศนาธรรมสั่งสอนท่านฯ อนึ่งหมั่นฟังพระธรรมเทศนาอันใดอันตนกระทำบำเพ็งบมิแท้ไส้ หมั่นถามท่านรู้ผู้รู้หลักโสดฯ อนึ่งเอาใจปลงใจเชื่อแก่ดพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ พ่อแม่ครูอาจารย์เจ้าไทยผู้ได้เลี้ยงตนด้วยใจอันซื่อตรง ฯ บุญทั้ง ๑๐ จำพวกนี้แลอันมีบุญอันเป็นอารมณ์แล ๖ โสดฯ บุญอันใดอันเป็นอารมณ์สิ้นฯ อนึ่งเห็นอารมณ์เพื่ออันเป็นบุญด้วยตาแลบันดาลใจเป็นอารมณ์แล้วจึงมากระทำบุญฯ อนึ่งได้ยินเสียงอันจะเป็นบุญด้วยเป็นอารมณ์จึงมาทำบุญฯ อนึ่งหอมกลิ่นอันเป็นบุญด้วยจมูกเป็นอารมณ์จึงมากระทำบุญฯ อนึ่งกินอาหารสะอาดเพื่ออันเป็นบุญด้วยลิ้นเป็นอารมณ์จึงมาทำบุญแลให้ทานฯ อนึ่งท่านผู้ใดถือผิด อนึ่งเพื่ออันเป็นบุญด้วยตนเป็นอารมณ์จึงมากระทำบุญฯ อนึ่งหากคำนึงธรรมในใจตนเป็นอารมณ์จึงมาทำบุญฯ บุญทั้ง ๖ จำพวกนี้แลอันมีบุญอันเป็นอธิบดีแล ๔ แล ๔ อันโสด ๆ อนึ่งมีใจเที่ยงแก่บุญจึงกระทำฯ อนึ่งพยายามแก่บุญแลกระทำฯ หนึ่งให้มั่นแก่บุญแลจึงกระทำฯ อนึ่งพิจารณาแก่บุญแลยินดีจึงทำฯ บุญทั้ง ๔ จำพวกนี้แลอัน ๆ มีบุญสุตวาภาพ แล๓ แล ๓ โสดฯ อันใดสิ้นฯ อนึ่งกระทำด้วยตนฯ อนึ่งกระทำบุญด้วยถ้อยคำฯ อนึ่งกระทำบุญด้วยใจฯ บุญทั้งหลายอันนั้นแลอันยังมีแล ๓ โสดฯ อนึ่งเมื่อกระทำบุญจริง แต่เท่าว่ากระทำสเล็กสน้อยฯ อนึ่งกระทำแต่พอปรามฯ แต่ใจอันบังเกิดบุญในกามภูมิได้ ๑๗๓๘๐ ดังนี้ คือว่าให้เอามหากุศล ๘ ตั้งเอาทศบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คูณแล้วเอาอารมณ์ ๖ คูณแล้ว เอาอธิบดี ๔ คูณแล้ว เอากรรม ๓ คือ กายกรรมวจีกรรมมโนกรรมนั้นคูณ แลเอาหินติก ๓ คือหินมัชฌิมปณีตนั้นคูณได้ ๑๗๒๘๐ แลฯ จิตผู้นี้โสดยังมีเจตสิกอันเป็นเพื่อนจิต แต่งมายุยงให้ใจให้กระทำบุญได้ ๓๘ จำพวกคืออันใดสิ้นฯ อนึ่งให้ต้องใจ อนึ่งให้เสวยคือให้ฟังให้ดูฯ อนึ่งให้รู้ อนึ่งให้คำนึงดู อนึ่งให้ถือบุญมั่น อนึ่งให้รักษาเพื่อนใจฝูงนั้น อนึ่งเอาเพื่อนใจฝูงนั้นมาหมัวกันให้จากกัน อนึ่งให้ดำริเถิงบุญ อนึ่งให้พิจารณาบุญ อนึ่งให้จำหุตให้กระทำบุญ อนึ่งให้พยายามกระทำบุญ อนึ่งให้ชื่นชมกระทำบุญ อนึ่งให้ใจเที่ยงแก่บุญ อนึ่งให้สัทธาแก่บุญ อนึ่งบมิให้ลืมแก่บุญ อนึ่งให้ละอายแก่บาปแลกระทำบุญ อนึ่งให้กลัวแก่บาปแลกระทำบุญ อนึ่งบมิให้โลภอันจะห้ามบุญ อนึ่งบมิให้เคียดอันจะเสียบุญ อนึ่งให้ใจเคียดประกลาย อนึ่งให้ตนเบาแก่บุญ อนึ่งให้ใจเบาแก่บุญ อนึ่งให้ตนพลันแก่บุญ อนึ่งให้ใจพลันแก่บุญ อนึ่งให้ตนอ่อนแก่บุญ อนึ่งให้ใจอ่อนแก่บุญ อนึ่งให้ตนด่วนแก่บุญ อนึ่งให้ใจด่วนแก่บุญ อนึ่งให้ตนบาหนดอ่อนแก่บุญ อนึ่งให้ใจลำอุดแก่บุญ อนึงให้ตนซื่อแก่บุญ อนึ่งให้ใจซ์อแก่บุญ อนึ่งให้กล่าวอันซื่อ อนึ่งให้กระทำเนียรโทษ อนึ่งให้กินอาหารเนียรโทษ อนึ่งให้เอ็นดูสัตว์ทั้งหลาย อนึ่งให้ใจอ่อนแก่สัตว์ทั้งหลาย อนึ่งให้มีปรีชาฯ ผสมทั้งปวงได้ ๓๘ จำพวกนี้ย่อมเป็นเพื่อนใจ บุญทั้งหลายนี้ใช่แต่เมืองมนุษย์ยภูมิกระทำแลฯ ได้บุญในแผ่นดินนี้ทั้งฝูงเทพยดาอันอยู่ในฉกามาพจรภูมิก็ดี ก็ย่อมกระทำบุญฝูงนี้แลจึงได้เป็นพระอินทร์เทวดาในเมืองฟ้าไส้ฯ บุญฝูงนั้นให้ได้สมบัติเป็นมลากเป็นดีในกามโลกย์นี้ได้ไส้ อาจให้ได้สมบัติในพรหมโลกย์นั้นก็จะกล่าวภายหน้าโพ้น อันกล่าวมาแล้วนี้ย่อมกามาพจรกุศลแล ฯ
จะกล่าวเถิงมนุษย์ทั้งหลายแรกมาเอาปฏิสนธิในท้องแม่ชื่อว่าชลามพุชโยนินั้น อันจะเกิดรูป ๒๘ ครรภทีเดียวดุจอุปปาติกนิกนั้น เป็นต้นว่า มนุษย์อันเกิดในนรกภูมินั้น อันมีรูป ๒๘ นั้นโดยอันเกิดโดยอันดับดังกล่าวนั้นแลฯ อันว่ารูป ๒๘ นั้นมีรูปเปํนอันองค์อีกได้ ๕๓ ผสมมาทั้งมูล ๘๑ นั้น รูปฝูงนั้นยังมีชีวิตอันแต่งเลี้ยงเนื้อเลี้ยงตนอยู่ ๗ แห่งนั้น คือแห่งใดสิ้นฯ ชีวิตอันหนึ่งอยู่ในจักษุนั้นแต่งให้รู้ดู ฯ ชีวิตอันหนึ่งอยู่ในกายแต่งให้รู้อันยินอันเจ็บอันปวดฯ ชีวิตอันหนึ่งอยู่ในภาวแต่งให้รู้รสกามตัณหา ชีวิตอันหนึ่งอยู่ในหัวใจแต่งให้รู้รำพึงคำนึงมีทุกอันแลฯ อันว่าฝูงผู้หญิงทั้งหลายทั้งปวงแลมีครรภไส้ย่อมมีด้วยประการ ๗ สิ่งฯ อันใดสิ้น อนึ่งชื่อกายสังสัคคคัพภนั้น อนึ่งชื่อว่าโปลนคัพภ อนึ่งชื่อว่าอโลฉปานคัพภ อนึ่งชื่อว่านาภีปรามาสนคัพภ อนึ่งชื่อว่าสัททคัพภ อนึ่งชื่อว่าคันธคัพภ อนึ่งชื่อว่าสัททนคัพภ แลคัพภทั้งหลาย ๗ ประการ ประการ ๑ ดังนี้แลฯ อันว่ากายสังสัคคคัพภนั้น คือเมื่อแรกบังเกิดมีครรภในขณะเมื่อบุรุษสมาคมด้วยนั้นแลฯ อันว่าโปลนคัพภนั้นคือผู้หญิงลางคนรักผู้ชายผู้ใดแลว่ามันเอาผ้าผู้ชายนั้นมานุ่งมาห่ม ชมเชยต่างตัวชายนั้น หญิงนั้นมีครรภในขณะเมื่อชมผ้านั้นแลก็ได้ชื่อว่าโปลนคัพภแลเพื่อดังนั้นแลฯ หญิงลางคนมีใจรักใคร่ผู้ชายแล เมื่อใดราคะผู้ชายนั้นตก แลหญิงนั้นได้กินน้ำราคะนั้นก็มีครรภแลครรภนั้นเรียกชื่อว่าอโลฉปานคัพภดุจดังแม่เนื้ออันเป็นแม่เจ้าฤๅษีผู้ชื่อว่าสิงคดาบสนั้นแลฯ หญิงลางคนผู้ชายลูกคลำเนื้อก็ดีคลำตัวแลท้อง แลหญิงนั้นยินดีแลมีใจรักบุรุษนั้นนัก บังเกิดมีครรภดังนั้นเรียกชื่อว่านาภีปรามาสคัพภะ ดุจดังปาลิกาดาบสินีผู้เป็นมารดาเจ้าสุวัณณสาม แลดังนางพระญาผู้เป็นมารดาพระญาจันทรโชติ แลนางพระญาผู้เป็นมารดาเจ้านันทกุมารนั้นฯ สตรีลางคนมีใจรักบุรุษ ๆ ผู้นั้นมากลายสตรี ๆ นั้นยินดีก็มีครรภฯ ดังนี้ชื่อว่าทัสนคัพภะแลฯ สตรีลางคนมีใจรักใจใคร่บุรุษผู้ใดแลบุรุษผู้นั้นเจรจาพาที แลสตรีผู้นั้นแต่ได้ยินเสียงบุรุษผู้นั้นแลยินดีก็มีครรภบังเกิดครรภ ๆ นั้นชื่อว่าทัททคัพภะดุจนักนกยางทั้งหลายมีแต่ตัวเมียแลว่าหาตัวผู้มิได้ เมื่อใดแลเขาได้ยินเสียงฟ้าร้องไส้เขาหากไข่เองแลดุจดังแม่ไก่แลได้ยินเสียงไก่ตัวผู้ร้องขันแลมีไข่ดังนั้นก็มี ดังแม่วัวอันได้ยินเสียงพ่อวัวถึกหูดอัวแลมีครรภนั้นฯ อันชื่อว่าคันธคัพภะนั้นดังแม่วัวอันได้ดมกลิ่นดมอายวัวถึก แลมีครรภดังนั้นก็มีแลฯ ดังฤๅแลว่ามนุษย์เรานี้เกิดในอัณฑชโยนิก็ได้ แลชลามพุชโยนิก็ได้ แลสังเสทชโยนิก็ได้ แลอุปปาติกโยนิก็ได้ แลโยนิทั้ง ๔ นี้ย่อมได้ดังรมาแลฯ อาจาริยผู้เฉลยว่าดังนี้ อันว่าเกิดอุปปาติกโยนินั้นดุจนางผู้หนึ่ง ชื่อนางอัมพปาลิกา นั้นแล นางนี้เกิดเป็นอุปปาติกโยนิแลฯ จะกล่าวเถิงนิทานนางนั้นดังนี้ แลว่ายังมีกัลปหนึ่งแต่ก่อนโพ้น แต่กัลปนั้นมาเถิงภัททกัลปเราได้นี้ นับถอยหลังลงไปได้ ๓๐ กัลปแล ในกัลปนั้นมีพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งทรงพระนามชื่อพระพุทธสิขิเจ้า ๆ นั้นเสร็จมาโปรดโลกย์ทั้งหลาย แลในศาสนาพระพุทธเจ้านั้น ยังมีนางผู้หนึ่งชื่อว่านางอัมพปาลิกา แล นางนั้นได้บวชเป็นภิกษุณีในศาสนาพระพุทธเจ้านั้น แลนางนั้นถือศีลาทิคุณมั่นคงนักหนาอุปฐากรักษากวาดวัดผัดแผ้วทุกเมื่อ เมื่อในกาลวันหนึ่ง นางเจ้าภิกษุณิหนึ่งนั้นไปปทักษิณพระเจดีย์เจ้าด้วยหมู่ชาวเจ้าเถรีทั้งหลายด้วยกันฯ เมื่อนั้นยังมีเจ้าไทยเถรีองค์ ๑ ธเป็นอรหันตาขีณาสพ แลแก่กว่าเจ้าไทยทั้งหลาย แลท่านนั้นปทักษิณไปก่อนท่านทั้งหลายแลท่านมาพลันนักแลมิทันแปรหน้าหนีพระเจดียฺเจ้า แลน้ำลายเหนียวของนางเถรีอรหันต์ก็เล็ดออกก้อน ๑ ต้องพระเจดีย์เจ้าแล ท่านนั้นก็บมิทันเห็นแลธก็เดินไปภายภาคหน้าฯ เมื่อนั้นจึงเจ้าภิกษุนีผู้ชื่อนางอัมพปาลิกนิกานั้นเห็นก้อนน้ำลายนั้น จึงนางอัมพปาลิกนิกานั้นจึงด่าว่าดังนี้ ว่าผู้หญิงแม่ร้ายผู้ใดแลมาถ่มน้ำลายลงเต็มพระเจดีย์เจ้าอันเป็นเจ้ากูดังนี้แล กูเจ็บใจกูนักหนาหาที่อุปมามิได้เลย นางอัมพปาลิกนิกาด่าแล้วดังนั้นก็เดินไปแลฯ เมื่อนั้นนางอัมพปาลิกนิกาภิกษุณี จึงจะมารำพึง ต่อควงามอันท่านกล่าวแลบอกข่าวทุกขเวทนาในท้องแม่มนุษย์นี้ร้ายนักหนา แลนางนั้นก็มีใจเกลียดอายยิ่งนักหนา นางนั้นมิได้ปรารถนามาเกิดที่ในท้องของมนุษย์เลย แลนางผู้นั้นจึงปรารถานาขอเกิดเป็นอุปปาติกโยนิ แลนางนั้นอยู่สร้างสมณธรรมบวชเป็นภิกษุณีอยู่ตราบเท่าเถิงชนมายุ ครั้นว่านางนั้นสิ้นชนมาพิธีแล้ว นางก็ได้ไปตกนรกด้วยบาปกรรมขของนางที่นางได้ด่าพระมหาเถรีขีณาสพนั้น แลนางได้ทนทุกขเวทาอยู่ในนรกโพ้นหึงนานหลายปีนักหนา แลว่าสิ้นบาปพ้นจากนรกขึ้นมาแลได้เกิดเป็นผู้หญิงแม่ร้ายแพศยาได้หมื่นชาติ เพราะบาปอันตนได้ด่าพระมหาเถรีขีณาสพเจ้านั้น ว่าผุ้หญิงแม่ร้ายนั้นแลจึงเป็นหญิงแพศยา ครั้นว่าสิ้นแต่นั้นแล้วจึงได้มาเกิดที่ในค่าคบไม้ม่วงต้น ๑ อันมีที่ในอุทยานของพระญาในเมืองไพสาลีนครนั้น ด้วยเดชอำนาจศีลอันที่นางได้รักษามั่นคงแต่เมื่อยังได้บวชเป็นภิกษุณีในกำเนิดก่อนนั้น แลนางมีรูปโฉมโนมพรรณ์งามทั้วทั้งสารพางค์ แลงามกว่านางทั้งหลายชาวเมืองไพสาลีนครนั้นฯ ครั้นว่าในค่าคบไม้ม่วงบัดเดี๋ยวก็ใหญ่เป็นสาวดีควรที่มีเหย้ามีเรือนในทันใดนั้นแลฯ เมื่อนั้นคนหมู่อยู่เฝ้าอุทยานของพระญานั้นเขาเห็นนางนั้นงามนักหนา เขาจึงเอานางนั้นไปถวายแก่พระญาผู้เสวยราชในเมืองไพสาลีนครนั้น แลเขาทูลแด่พระญาว่าตูข้าพระเจ้าได้นางผู้นี้ ๆ เกิดที่ในค่าคบไม้ม่วงแลฯ พระญาตรัสผิดังนั้นจริงไส้เราจะให้ชื่อนางแลเรียกว่าอัมพปาลิกนิกกาเถิดฯ เมื่อแลนางอัมพปาลิกนิกาอยู่ในเมืองไพสาลีนั้น เขาก็เกิดด่าทอกันผิดกันผิดใจกันนักหนา เพราะว่าต่างคนต่างชิงกันกล่าวขอนางนั้นมาเป็นเมียแล ความดังนี้ก็เป็นกุลาหลฟุ้งเฟื่องไปนักหนา เพราะว่าเขาทั้งหลายเห็นรูปนางนั้นแลงามชิงกันกล่าวเอามาเป็นเมียแลฯ ด้วยบาปกรรมอั้นนางอัมพปลิกนิกาอันได้ด่าพระมหาเถรีอันเป็นขีณาสพนั้นไปบมิสิ้น แลเศษบาปนั้นยังติดตัวนางอยู่พระญาจึงว่าดังนี้ บัดนี้ท้าวพระญาแลลูกขุนทั้งหลายสในเมืองเรานี้เขาด่าทอกันนัก เพราะว่าจะชิงเอานางอัมพปาลิกนิกายบมิรู้แล้วดังนี้ มาเราจะไว้นางให้เป็นแพศยาเถิดฯ จึงท้าวพระญาแลลูกเจ้าเหง้าขุนทั้งหลายจึงจะหายความผิดแผดด่าทอกันแล พระญาธจึงตั้งนางอัมพปาลิกนิกานั้นไว้ให้เป็นนางนครโสภีณีให้เป็นสาธารณะ แก่ท้าวพระญาลูกเจ้าเหง้าขุนทั้งหลายแลฯ อยู่จำเนียรกาลไปนางจึงเกิดลูกชายคน ๑ ชื่อเจ้าโกณฑัญกุมาร แลนางนั้นมีใจใสสัทธาในศาสนาพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเรานี้นักหนา แลจึงสร้างอารามกับทั้งด้วยพระวิหารอันหนึ่งแล้วจึงให้เจ้าโกณฑัญกุมารผู้ลูกนั้นบวชในศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าเรา แลเจ้าโกณฑัญกุมารนั้นก็สร้างสมณธรรมก็บรรลุเถิงแก่อรหัตเป็นขรณาสพอำพลด้วยปฏิสัมภิทาญาณ ทรงพระนามชื่อเจ้าโกณฑัญเถรแลฯ เมื่อนั้นนางอัมพปลิกนิกานั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาแต่สำนักนิ์พระโกณฑัญเถรผู้ลูกแห่งตนนางก็ยินดีแลมีใจสัทธานางก็บวชในศาสนาพระพุทธเจ้าเรานี้อยู่จำเนียรเจียรกาลนางก็ลุเถิงอรหัตเป็นขีณาสพแล ครั้นว่าสิ้นชนมาพิธีแล้วไส้ก็เถิงแก่มหานครนิพพานแลฯ อันว่ามนุษย์เรานี้เกิดในอุปปาติกโยนิไส้ คือว่านางอัมพปาลิกนิกานี้แลฯ แลอันว่ามนุษย์เรานี้แลว่าเกิดในอัณฑชโยนินี้นั้นก็มีดุจนิทานดังนี้แลฯ
จะกล่าวเถิงนิทานมนุษย์เกิดในอัณฑชโยนิฯ เมื่อนั้นยังมีพราหมณ์ผู้หนึ่งอยู่ในเมืองใหญ่เมืองหนึ่ง แลเมืองนั้นชื่อว่าปาตลีบุตรมหานครฯ แลพราหมณ์ผู้นั้นออกไปจากพระนครสัญชรเข้าไปสู่ป่าใหญ่อันหนึ่ง แลพราหมณ์ผู้นั้นจึงพบกินนรตัว ๑ ชื่อแห่งกินนรนั้นบมิปรากฎเลย และพราหมณ์ผู้นั้นเห็นโฉมนางกินนรนั้นก็มีใจปดิพัทธ์รักนักหนา จึงสมาคมด้วยนางกินนรนั้น แลสังวาสอยู่ด้วยกันในกลางป่านั้น มิช้าแลากินรีก็มีครรภ์แลเกิดเป็นไข่สองดวง นางกินรีก็ฟังไข่ ๆ แตกออกเป็นมนุษย์สองคน ผู้พี่นั้นชื่อเจ้าดิสสกุมาร ผู้น้องนั้นชื่อเจ้ามิตรกุมาร ครั้นว่ากุมารทั้งสองพี่น้องนั้นรู้ความแลเขาแลดูหน้าพ่อแม่เขา ๆ บมิดุจกันเลย แลเขาทั้งสองนั้นดูอนิจจาแก่ใจ เขาพี่น้องจึงเจรจาด้วยกันว่าดังนี้ ชื่อว่าเกิดมาในสงสารนี้ ย่อมเป็นอนิจจาบมิเที่ยงสักอันเลย มาเราพี่น้องจะไปบวชเป็้นสมณภาพแล้วแลจะเอาตนเข้าสู่นิพพานเถิดฯ เจ้าพี่น้องทั้งสองจึงจากที่นั้นไป จึงไปบวชอยู่ในสำนักนิ์พระมหาเถรองค์หนึ่ง ทรงนามชื่อว่าพระพุทธเถร อยู่จำเนียรเจียรกาลไปเจ้าไทยสองนั้นก็บรรลุเถิงแก่อรหัตตมรรคญาณ ครั้นว่าสิ้นชนมาพิธีแล้วก็เสด็จเข้าสู่นฤพานแลฯ ฝูงคนอันเกิดในอัณฑชโยนินี้ไส้ คือว่าได้แก่เจ้าพี่น้องนี้แล ฯ
อันว่าคนทั้งหลายอันเกิดในสังเสทชโยนินั้น ก็เทียรย่อมดังนางผู้หนึ่งชื่อนางปทุมาวดีแลมีลูกชาย ๕๐๐ คน เมื่อชาติก่อนโฑ้นนางนั้นเป็นดังนี้ เมื่อนั้นยังมีนางผู้หนึ่งเข็ญใจแลผู้นั้นไปไถนาแลนางจะเอาข้าวไปส่งผัวนางฯ นางนั้นจึงเอากระเชอข้าวใส่ไปบนหัวเมาะ ว่าทูนหัวไปแลฯ ครั้นว่าไปเถิงหนทางแม่นางจึงเห็นพระปัเตยกโพธิเจ้า ๑ งามนักหนาแลนางนั้นมีใจใส่สัทธายินดีจึงรำพึงในใจว่า ควรกูถวายบิณฑบาตแก่ประปัเตยกโพธิเจ้า แลนางนั้นจึงเอาข้าวใส่บาตรแล้วนางจึงเอาข้าวตอกอันระคนด้วยน้ำผึ้ง แลปั้นเป็นก้อนได้ ๕๐๐ ก้อน แล้วจึงเอาใส่บาตรลงเหนือข้าวสุกนั้นเล่า นางจึงทอดตาไปแลเห็นดอกบัวหลวงหมู่ ๑ เกิดมีในสระแทบหนทางนั้น นางจึงไปเก็บเอาดอกบัวนั้นมาแล้ว นางจึงเอาดอกบัวนั้นทอดลงในบาตรนั้น แลดอกบัวที่เหลืออยู่นั้น แลจึงวางลงในที่พระบาทพระปัเตยกโพธิเจ้าแล้วนางถวายบูชาแล้วไหว้คารวะพระปัเตยกโพธิเจ้านางจึงปรารถนาว่าดังนี้ ด้วยผลาอานิสงฆ์แห่งข้าแลข้าได้บูชาพระปัเตยกโฑิเจ้าด้วยข้าวตอกอันระคนด้วยน้ำผึ้ง ๕๐๐ ก้อนนี้ ขอจงข้ามีลูกชาย ๕๐๐ คน ด้วยผลบุญอันข้าได้เอาดอกบัวหลวงมาบูชาพระบาทของผู้เป็นเจ้านี้ ถ้าแลว่าข้าเดินไปแห่งใดขอจงมีดอกบัวพูนเกิดขึ้นมารองตีนข้าไปจงได้ทุก ๆ ย่างสบสถานทุกเมื่ออย่าได้ขาดสายเลยฯ ครั้นว่านางปรารถนาแล้วก็ไหว้อำลาพระปัเตยกโพธิเจ้าไปโดยกิจของนางนั้นแลฯ อยู่จำเนียรเจียรกาลไปครั้นว่านางนั้นสิ้นอายุศม์ในเมืองคนจึงเอาตนไปเกิดในเมืองฟ้าแลเสวยสมบัติอันเป็นทิพย์นั้นฯ ครั้นว่าสิ้นอายุในเมืองฟ้าแล้วจึงมาเกิดในมนุษย์โลกย์นี้ไส้ นางก็มีใจเกลียดในครรภ์ท้องแม่นั้ แลปรารถนาลงมาเกิดในดอกบัวดอก ๑ อันมีอยู่ในสระ ๆ หนึ่งมีอยู่แทบตีนเขาพระหิมวันต์ฯ เมื่อนั้นยังมีฤๅสิทธ์องค์ ๑ ธนั้นอยู่ในป่าพระหิมพานต์ธย่อมลงมาอาบน้ำในสระนั้นทุกวัน ธเห็นดอกบัวทั้งปวงนั้นบานสิ้นแล้วทุกดอก ๆ แลว่ายังแต่ดอกเดียวนี้บมิบานแล ดุจอยู่ดังนี้บมิบานด้วยทั้งหลาย ๆ ได้ ๗ วัน ฯ พระมหาฤๅษีนั้นธก็ดลยลมหัศจรรย์นักหนา ธึงหันเอาดอกบัวดวงนั้นมา ธจึงเห็นลูกอ่อนอยู่ในดอกบัวนั้นแล เป็นกุมารีมีพรรณงามดั่งทองเนื้อสุก พระมหาฤๅษีนั้นธมีใจรักนักหนา จึงเอามาเลี้ยงไว้เป็นพระปิยบุตรบุญธรรม แลฤๅษีเอาแม่มือให้ผน้อยดูดกินนม แลเป็นน้ำนมไหลออกมาแต่แม่มือมหาฤๅษีนั้นด้วยอำนาจบุญพระฤๅษี และบุญกุมาริกานั้นด้วยแลเหตุว่านางนั้นเกิดในดอกบัวจึงพระมหาฤษีเจ้าธจึงให้ชื่อว่านางปทุมาวดีแลฯ เมื่อนั้นยังมีพรานเนื้อผู้ ๑ เดินไพรไปมาในป่ากิมวันต์ พรานนั้นเห็นนางงามนักหนา พรานนั้นจึงไปทูลแด่พระญาพรหมทัตราชอันเสวยราชสมบัติในเมืองพาราณสีมหานครนั้นฯ พระญพรหมทัตจึงไปไหว้มหาฤๅษีกล่าวขอนางนั้นไปเป็นภรรยาฯ แลนางเกิดมาไส้ ครั้นว่านางรู้ย่างรู้เดินเล่นไส้ครั้นว่านางย่างเดินไปแห่งใด ๆ ก็ดีเทียรย่อมมีดอกบัวหลวงอันบาน พูนเกิดขึ้นมาแต่แผ่นดินแลมารับมารองเอาตีนนางทุกย่างนางเดินไปนั้นฯ ด้วยผลบุญคานิสงส์แห่งนางอันได้เอาดอกบัวหลวงบูชาพระบาทพระปัเตยกโพธิเจ้าแต่ก่อนฯ และนางได้ปรารถนานั้นแลฯ อยู่จำเนียรเจียรกาลไปนางก็ทรงครรภ์ถ้วน ๑๐ เดือนจึงคลอดชาวเจ้าราชกุมามารทั้งหลาย ๕๐๐ คนในพระราชมณเฑียรนั้นแลฯ เจ้ากุมารผู้เป็นพี่ใหญ่นั้นไส้อยู่ภายในรกแต่คนเดียว ส่วนว่าเจ้าราชกุมารทั้งหลาย ๔๙๙ คนั้นไส้ติดอยู่แต่ภายนอกรกนั้นแลฯ เจ้าราชกุมารผู้พี่อันมีรกหุ้มห่ออยู่นั้นไส้เรียกชื่อว่าเจ้าพระญามหาปทุมกุมาร แลฯ ครั้นว่าชาวเจ้าทั้งหลายนั้นใหญ่แล้ว เจ้าก็ชวนกันไปบวชก็ตรัสเป็นพระปัเตยกโพธิเจ้าทั้ง ๕๐๐ พระองค์แลฯ อยู่จำเยรเจียรกาลไส้ครั้นว่าสิ้นพระชนมาพิธีเสด็จเข้าสู่นิพพานแลฯ เจ้ามหาปทุมาวดีผู้พี่อันเกิดในครรภ์แล ว่าอยู่ภายในรกนั้นเรียกชื่อว่าเกิดเป็นชลามพุชโยนิแลฯ แต่ฝูงเจ้าพี่น้องทั้งหลาย ๔๙๙ คนนั้นแลนางผู้เป็นแม่อันชื่อว่าปทุมาวดีนั้นเรียกชื่อว่าเกิดแต่สังเสทชโยนิแลฯ อันว่าฝูงคนอันเกิดสังเสทชโยนิก็มีดังนี้แลฯ
แลสัตว์ทั้งหลายนี้เมื่อจะสิ้นอายุไส้แลมี ๔ ประการดังนี้แลฯ ประการ ๑ ชื่อว่าอายุไขยแล ประการ ๑ ชื่อว่กรรมไชยแล ประการ ๑ ชื่อว่อุภยไชยแล ประการ ๑ ชื่อว่าอุปัจเฉทกรรมไชยแลฯ อันว่าอายุควรสิ้นแต่น้อยแลตายดังนั้นชื่ออายุไขย อันว่าอายุศม์ยังมิควรที่ตายแลมาตายดังนั้นชื่อว่ากรรมไขยแลฯ คนจำพวกใดจำพวกหนึ่ง ที่ว่าเฒ่าว่าแก่แล้วควรตายดังนั้น ชื่ออุภยไขยแลฯ คนจำพวกใดจำพวก ๑ อยู่ดีกินดีแลมีอันตราย คือว่าเขาตีเขาแทงแลตกต้นไม้ แลตกน้ำปัจจุบันตายดังนั้น ชื่ออุปัจเฉทกรรมไขยแลฯ อันว่าอุปัจเฉทกรรมลางคาบดานผู้เยียวยาเฝ้าเหนือกรรมใด ผู้กรรมอันจะเอาสัตว์ทั้งหลายเวียนไปมานี้ยังมีเท่านี้โสดฯ กรมอันเป็นต้นแก่กรรมทั้งหลาย มี ๔ จำพวก หนึ่งชื่อชนกกรรม อนึ่งชื่ออุปถัมภกกรรม์ อนึ่งชื่ออุปปิฬกกรรม์ อนึ่งชื่ออุปฆาฏำกรรม ๔ จำพวกดังนี้ ฯ อันชื่อว่าชนกกรรมนั้น คือว่าเกิดเป็นคนทั้งหลายนี้แลฯ อันชื่ออุปถัมภพกรรมนั้น หากให้สุขทุกข์ให้ยินดีแลยินร้ายนั้นแลฯ อันชื่อว่าอุปปิฬกกรรมนั้นหากให้ชุมแห่งเนื้อตน แลให้เป็นทุกข์ประการนี้แลฯ อันชื่อว่าอุปฆาฎกกรรมนั้น คือว่าบำบัดชีวิตสัตว์ทั้งหลายฯ กรรมวิบากอันจะต่งให้เป็นทุกข์นั้นมี ๔ จำพวกดังนี้ฯ อนึ่งคือว่าปัญจานันตริยกรรมฯ อนึ่งคือว่าอาสันนกรรมฯ อนึ่งคือว่าอาจิณณกรรมฯ อนึ่งคือว่ากัตตากรรมฯ อันชื่อว่าอาสันนกรรมนั้น คือให้วิบากด่วนดับพลันแลฯ อันื่อว่าอาจิณณกรรมนั้นให้ลำอุติเป็นอุปทรัพย์บมิขาดให้คำนึงแลฯ อันชื่อว่ากัตตากรรมนั้นหากให้วิบากอันเป็นบุญก็ดีบาปก็ดี ให้ด้วยด่วนนักหนาแลฯ กรรมตายอันให้วิบาก อันอาจเพื่อตนกระทำนั้นมี ๔ จำพวกนั้นโสดฯ อนึ่งชื่อทิฏฐธรรมเวทนิยกรรม อนึ่งชื่ออุปปัชชเวทนิยกรรม อนึ่ชื่ออปราปรเวทนิยกรรม อนึ่งชื่ออโหสิกกรรมแลฯ อันชื่อว่าทิฏฐธรรมเวทนิยกรรมนั้น คือว่าได้ทำบุญทำบาปก็ดีในกำเนิดนี้ แลกรรมนั้นหากให้พิบากได้ทั้งกำเนิดนี้แลฯ อันชื่อว่าอุปปัชชเวทนิยกรรมนั้นฯ จงให้ได้วิบากในกำเนิดหน้าโพ้นแลฯ อันชื่อว่าปอราปรเวทนิยกรรมนั้น ๆ ตามให้วิบากคราบใดเถิงนิพานแลฯ อันชื่อว่อโหสิกรรม ๆ นั้น คือให้หายไปบมีวิบากเลยฯ ฝูงสัตว์ทั้งหลายนี้เมื่อจะใกล้ขาดใจตายนั้น ผิว่าจะได้ไปตกนรกผู้นั้นเห็นเปลวไฟแลเห็นไม้งิ้วเหล็กเห็นฝูงผีถือไม้ค้อนแลฯ ถือหอกดาบมาลากชักตัวไปแลฯ ผิแลว่าตายจะได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ไส้แลว่าเห็นก้อนเนื้อแลฯ ผิตายไปเกิดในสวรรค์ไส้เห็นต้นไม้กัลปพฤกษ์เห็นเรือนทองเห็นปราสาทแก้วงมนักหนาเห็นฝูงเทพยดาฟ้อนรำเล่นฯ ผิตายแลเป็นเปรตไส้เห็นแกลบแลข้าวลีบแลให้กระหายน้ำ ด้วยเห็นเลือดแลน้ำหนองแลฯ ผิตาแลจะไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน คือนกแลเนื้อฟานถึกหมูหมาไส้เห็นป่าแลต้นไม้เห็นกอไผ่แลเชือกเขาแลหยากเยื่อเนื้อถึกอันมีในป่าในบ้านแลฯ ฝูงสัตว์ทั้งหลายเมื่อจะใกล้ขาดใจตายและจะไปเอาปฏิสนธิแห่งอื่น แลเมื่อใกล้จะขาดแลเกิดนั้นแลยังรำพึงในใจตนนั้นได้ ๔๑ ดวงจิต ตนจึงขาดใจตายจากนี้แล ๆ เอาปฏิสนธิเกิดโพ้นฯ จิต ๔๑ ดวงคืออันใดบ้างเล่ ภวังคจละ อันชื่อว่าภวังคจละนั้ นอุปาทัฏฐิติภังคาอันให้รำพึง ๖ อัน ปัญจทวราวัชนะ ให้รู้รำพึง ๓ อันฯ วิญญาณอันให้รู้แลรำพึงนั้น ๓ อันฯ สัมปฏิจฉันนะอันให้อันเห็นอันรู้นั้น ๓ อันฯ สันติรณ อันให้พิจารณาข้ามนั้นฯ โวฏฐัพพนะให้จำหุดมั่นแก่อันพิจารณานั้น ๓ อันฯ ชวนะ อันเสวยวาจอันกล่าวก่อนนี้ได้ ๒๑ อันฯ ตทาลัมพณะ ให้ฟังอันเสวยนั้นได้ ๖ อันฯ ภวังคจละ อันใจให้ตาย ๓ อันจึงตายผสมจิตวิถีนั้นได้ ๔๑ ดวงแลฯ อันมีฝูงสัตว์แล ๗ อันเป็นมหันตารมณ์นั้นแล ครั้นว่าขาดใจตายแล้วก็ไปแล อันว่าปัญจสกลบมิไปด้วยเลย อันไปด้วยนั้นเท่าเว้นไว้แต่บุญแลบาปนั้นหากไปบังเกิดวิบากแลฯ เป็นตนไส้แต่บาปแลบุญหากให้เป็นดีแลเข็ยใจ ลางคนไส้งาม ลางคนไส้บมิงามลางคนไส้ยืน ลางคนไส้บมิยืน ลางคนไส้เป็นเจ้าท่านลางคนไส้เป็นข้าท่าน ลางคนไส้เป็นคนดี ลางคนไส้เข็ญใจ ลางคนมีปรีชาลางคนหาปริชาบมิได้ฯ ผู้ใดเรียนพระอภิธรรมมด้วยอมฤตย์จึงจะรู้แท้ไส้ ผู้ใดบมิได้เรียนบมิได้ฟังไส้แลจะรู้แท้แก่ใจก็ยากนักหนาแลฯ กล่าวเถิงฝูงสัตว์อันเกิดในมนุษยภูมิอันเป็นปัญจกัณฑ์โดยสังเขปแล้วแต่เท่านี้แลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น